Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8588
Title: การศึกษาการกระจายตัวของอสุจิหลังการผสมเทียมแบบการสอดท่อเข้ามดลูกหรือเข้าปีกมดลูกสุกร : รายงานผลการวิจัย (ฉบับสมบูรณ์)
Other Titles: การศึกษาการกระจายตัวของอสุจิหลังการผสมเทียมแบบการสอดท่อเข้ามดลูกหรือเข้าปีกมดลูกสุกร
Authors: เผด็จ ธรรมรักษ์
พีระพงศ์ สำราญทรัพย์
วันเพ็ญ อดุลยภาพ
จินดา สิงห์ลอ
Email: Padet.T@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Advisors: มงคล เตชะกำพุ
อรรณพ คุณาวงษ์กฤต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: mongkol.t@chula.ac.th
annop.k@chula.ac.th
Subjects: สุกร -- การผสมเทียม
สุกร -- การปรับปรุงพันธุ์
อสุจิ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวของตัวอสุจิในส่วนต่างๆ ของมดลูกและท่อนำไข่ 24 ชั่วโมง หลังผสมเทียมด้วยวิธีผสมเทียมแบบปกติ (AI) เปรียบเทียบกับการผสมเทียมด้วยวิธีสอดท่อเข้ามดลูก (intra-uterine insemination, IUI) และ วิธีสอดท่อเข้าปีกมดลูก (deep intra uterine insemination, DIUI) ในแม่สุกรนาง การทดลองนี้ใช้ แม่สุกรนางพันธุ์ผสม แลนด์เรซxยอร์กเชีย หลังหย่านมจำนวน 17 ตัว ทำการเช็คสัดแม่สุกรโดยใช้พ่อพันธุ์ร่วมกับการกดหลัง และตรวจการตกไข่ด้วยอัลตราซาวด์แบบเรียลไทม์ บี โหมดผ่านทางทวารหนักทุก 4 ชั่วโมง แม่สุกรถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้รับการผสมเทียม ต่างกัน 3 วิธี กลุ่มที่ 1 (6 ตัว) ได้รับการผสมเทียมแบบปกติ (AI) โดยใช้น้ำเชื้อสดเจือจางมีจำนวนอสุจิ 3,000 ล้านตัว ในปริมาตร 100 มล. กลุ่มที่ 2 (6 ตัว) ได้รับการผสมเทียมด้วยวิธีสอดท่อเข้ามดลูก (IUI) ด้วยน้ำเชื้อสดเจือจางที่มีจำนวนอสุจิ 1,000 ล้านตัว ในปริมาตร 50 มล. และ กลุ่มที่ 3 (5 ตัว) ได้รับการผสมเทียมด้วยวิธีสอดท่อเข้าปีกมดลูก (DIUI) ด้วยน้ำเชื้อสดเจือจางที่มีจำนวนอสุจิ 150 ล้านตัว ในปริมาตร 7.5 มล. แม่สุกรทุกตัวได้รับการผสมเทียม 1 ครั้ง เมื่อแสดงการเป็นสัดครั้งที่ 2 หลังหย่านม ก่อนเวลาไข่ตกประมาณ 6-8 ชั่วโมง โดยใช้พ่อสุกรตัวเดียวกัน หลังผสมเทียม 24 ชั่วโมงทำการผ่าตัดเพื่อตัดส่วนของมดลูกและรังไข่ออก มดลูกและท่อนำไข่ถูกแบ่งเป็น 7 ส่วน ได้แก่ ท่อนำไข่ส่วนแอมพูลล่า ท่อนำไข่อิสมัสส่วนต้น ท่อนำไข่อิสมัสส่วนท้าย ช่วงต่อของท่อนำไข่และปีกมดลูก (UTJ) ปีกมดลูกส่วนต้น ปีกมดลูกส่วนกลาง และปีกมดลูกส่วนท้าย อสุจิที่อยู่ภายในอวัยวะแต่ละส่วนถูกชะล้างออกมาแล้วตรวจนับด้วยฮีโมไซโตมิเตอร์ ผลการทดลองพบว่าอสุจิถูกพบทั้งสองข้างของปีกมดลูกและท่อนำไข่ในกลุ่มที่ 1 และ 2 ในขณะที่กลุ่มที่ 3 พบเพียงข้างเดียว อสุจิถูกพบมากที่สุดในส่วน UTJ (P<0.05) จำนวนอสุจิที่พบที่ส่วน UTJ ในกลุ่มที่ 1 2 และ 3 เท่ากับ 142,500 131,167 และ 23,500 เซลล์ ตามลำดับ จำนวนอสุจิที่พบที่ท่อนำไข่อิสมัสส่วนท้ายในกลุ่มที่ 1 2 และ 3 เท่ากับ 1,411 1,280 and 284 เซลล์ ตามลำดับ สัดส่วนของอสุจิในแต่ละส่วนต่อจำนวนอสุจิทั้งหมดที่พบ ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่ม (P>0.05) การศึกษาครั้งนี้สรุปว่า การผสมเทียมด้วยวิธี IUI ด้วยปริมาณน้ำเชื้อที่ลดลง 3 เท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับการผสมเทียมแบบปกติ สามารถพบอสุจิที่u3610 บริเวณที่พักอสุจิในท่อนำไข่ในปริมาณที่ไม่แตกต่างจากการผสมเทียมแบบปกติ หลังการผสมเทียมแบบDIUI ด้วยอสุจิเพียง 150 ล้านตัว อสุจิจำนวนหนึ่งสามารถตรวจพบได้ในมดลูกและท่อนำไข่ของสุกรทุกตัว แต่จะถูกตรวจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่งของท่อนำไข่และมดลูกเท่านั้น
Other Abstract: The purpose of the present study was to compare the number of spermatozoa obtained from the different parts of the oviducts and the uterine horns at about 24 h after insemination after conventional artificial insemination (AI) compared with intrauterine insemination (IUI) or deep intrauterine insemination (DIUI). Seventeen crossbred (Landrace x Yorkshire) multiparous sows were used in the experiment. The sows were examined for standing estrus using back pressure test and the time of ovulation were examined every 4 h after standing oestrus by real time B-mode ultrasonography. The sows were allocated to 3 groups i.e., group I sows (n=6) were inseminated by the conventional AI technique with 3x109 motile spermatozoa in 100 ml extended semen, group II sows (n=6) were inseminated by IUI technique with 1x109 motile spermatozoa in 50 ml extended semen and group III sows (n=5) were inseminated by DIUI technique with 0.15x109 motile spermatozoa in 7.5 ml extended semen. A single dose of insemination was performed using the same boar at about 6-8 h before the expected time of ovulation during the second oestrus after weaning. Twenty four hour after insemination, the sows were ovario-hysterectomized. The oviducts and the uterine horns were removed and divided into 7 parts i.e., cranial, middle and caudal uterine horn, UTJ, cranial and caudal isthmus and ampulla. All parts of the reproductive tract were flushed and the number of permatozoa were counted using haemocytometer. The results revealed that the spermatozoa were found in both side of the oviducts and the uterine horns in groups I and II and were found only in one side in group III. The spermatozoa were found most in the UTJ (P<0.05). The numbers of flushed spermatozoa in the UTJ in group I, II and III were 142,500, 131,167 and 23,500, respectively. In the caudal isthmus, number of flushed spermatozoa were 1,411, 1,280 and 284, respectively. The proportion of spermatozoa in the different parts of the reproductive tract in relation to total number of spermatozoa within the tract were not significantly different between group I, II and III in all parts (P>0.05). It could be concluded that IUI with a 3-times reduction in number of spermatozoa resulted in the same amount of spermatozoa deposited in the sperm reservoir around the ovulation time. After DIUI, a certain amount of spermatozoa were found in the uterine horn and oviduct in all inseminated sows but only in one side of the reproductive organs.
Description: Sperm transport after deep intra uterine insemination compared with conventional artificial insemination in pig -- Distribution of spermatozoa in the female reproductive tract after intrauterine insemination in pig
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8588
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Padet_stu.pdf416.8 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.