Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9576
Title: ความหลากหลายของชนิด ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและประเภทของถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์วงศ์งูดินในประเทศ
Other Titles: Species diversity, morphology and habitat types of bline snakes (Family typhlopidae) in Thailand
Authors: ปิยวรรณ นิยมวัน
Advisors: กำธร ธีรคุปต์
ไพบูลย์ จินตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: kumthorn@sc.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: งูดิน -- สัณฐานวิทยา
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความหลากหลายของชนิดและขอบเขตการแพร่กระจายของงูดินในประเทศไทย จากการสอบสวนเอกสารตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์ และการสำราจภาคสนามใน 6 ภาคของประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2541 พบงูดินในประเทศไทยแล้ว 11 ชนิด ได้แก่ งูดินหัวขาว Ramphotyphlops albiceps งูดินบ้าน R.braminus งูดินลายขีด R.lineatus งูดินปักธงชัย R.ozakiae งูดินใหญ่ดินโดจีน Typhlops diardi งูดินหัวเหลือง T.floweri งูดินโคราช T.khoratensis งูดินใหญ่มลายู T.muelleri งูดินดอยปุย T.porrectus งูดินไทย T.siamensis และงูดินตรัง T.trangensis นอกจากนี้ยังมีงูดินชนิดใหม่อีก 1 ชนิดที่พบในประเทศไทย คือ งูดินอยุธยา T.roxaneae ซึ่งกำลังมีผู้ทำการศึกษาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและอยู่ในระหว่างการตีพิมพ์ พบงูดินบ้านจำนวนมากที่สุด มีการกระจายกว้างทั่วทุกภาคในประเทศไทย จากการสำรวจภาคสนามพบเป็นรายงานการพบใหม่ คือ งูดินดอยปุย T.porrectus ในจังหวัดกรุงเทพฯ และงูดินใหญ่มลายู T.muelleri ในจังหวัดพัทลุง ซึ่งไม่เคยมีรายงานการพบงูดิน 2 ชนิดนี้ใน 2 จังหวัดนี้มาก่อน ศึกษาสัณฐานวิทยาของงูดิน 10 ชนิดคืองูดินหัวขาว R.albiceps งูดินบ้าน R.braminus งูดินลายขีด R.lineatus งูดินในปักธงชัย R.ozakiae งูดินใหญ่อินโดจีน T.diardi งูดินหัวเหลือง T.floweri งูดินโคราช T.khoratensis งูดินใหญ่มลายู T.muelleri งูดินดอยปุย T.porrectus และงูดินตรัง T.trangensis โดยศึกษาในลักษณะของสี รูปร่าง จำนวนและรูปร่างเกล็ด ความยาวตัว ความยาวปลายจมูกถึงเกล็ดปิดทวารร่วม ความยาวหาง ความยาวเกล็ดปลายหาง ความกว้างตัว ความกว้างโคนหาง ความกว้างเกล็ดปลายปากบาน ความกว้างหัว ระยะห่างระหว่างตา และเส้นผ่านศูนย์กลางตา พบว่างูดินทั้ง 10 ชนิดมีความแตกต่างกัน สามารถนำมาจัดทำ key ของงูดินที่พบในประเทศไทย นอกจากนี้ยังศึกษาความแปรผันของลักษณะภายนอกระหว่างงูดินบ้าน R.braminus ใน 6 ภาคของประเทศไทย พบว่าความกว้างหัว เส้นผ่านศูนย์กลางตา รูปร่างหางและความยาวเกล็ดปลายหางของงูดินบ้านในภาคใต้และภาคตะวันออกมีความแตกต่างจากงูดินบ้านในภาคอื่นอย่างมีนัยสำคัญ พบงูดินในถิ่นที่อยู่อาศัย 3 ประเภท คือ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และพื้นที่เกษตรกรรม โดยมักพบใต้ดินหรือบนดินที่มีวัสดุคลุมทับ และยังพบอยู่ระหว่างรากไม้เหนือพื้นดินอีกด้วย ดินในบริเวณที่พบมักเป็นดินร่วน สีน้ำตาลเข้ม มีความชื้น สภาพเป็นกรดอ่อน ถิ่นที่อยู่อาศัยย่อยมักเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ รังมด และจอมปลวก จากผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยเพิ่มข้อมูลทางด้านชีววิทยาและนิเวศวิทยาบางประการของงูดินในประเทศไทย ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาวิจัยอื่นๆ และอาจสามารถประยุกต์เพื่อการจัดการการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนต่อไป
Other Abstract: Species diversity and distribution of the blind snake in Thailand were studied from literatures, museum specimens and field surveys in 6 regions of Thailand for 2 years from January 1997 to December 1998. It was found that there are 11 species of the blind snakes in Thailand including Ramphotyphlops albiceps, R.braminus, R.lineatus, R.ozakiae, Typhlops diardi, T.floweri, T.khoratensis, T.muelleri, T.porrectus, T.siamensis, and T.trangensis. Furthermore, there is 1 new species, T.roxaneae, that has been recently identified in the United State of America and is in the process of getting published. R.braminus is the most abundant and is widely distributed in all regions of Thailand. There are 2 new locality records found in this field surveys including T.porrectus in Bangkok and T.muelleri in Phatthalung provinces. Morphological comparisons of R.albiceps, R.braminus, R.lineatus, R.ozakiae, T.diardi, T.floweri, T.khoratensis, T.muelleri, T.porrectus, and T.trangensis were conducted on color, shape, scale count and scale shape, weight, total length, snout vent length, tail length, spine length, body width, tail width, rostral width, head width, interorbital distance and eye diameter. Significant differences in morphology among these 10 species were applied to construct the key to species of the blind snake in Thailand. Moreover, the morphological variation of R.braminus were studied from 6 regions in Thailand. Head width, eye diameter, tail shape and spine length of the southern and eastern R.braminus were significantly different from others. The blind snakes were found in 3 habitat types; evergreen forest, dry evergreen forest and farm land. They were usually found underground or on the soil surface covered with plant materials, and also in roots ball above the surface. Most of soils are loose, dark brown, humid and slight acidity. Their microhabitats usually situated near water body, ant and termite mound. These results provide some biological and some ecological data of the blind snakes in Thailand, that could be useful for other researches and could be applied for the conservation management in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9576
ISBN: 9743346082
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan_Ni_front.pdf786.05 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ni_ch1.pdf897.58 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ni_ch2.pdf872.97 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ni_ch3.pdf757.28 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ni_ch4.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ni_ch5.pdf699.46 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ni_back.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.