Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9730
Title: รูปแบบการสร้างแรงจูงใจชุมชนในการร่วมพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดห้วงหิน อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
Other Titles: A model of building community motivation in joint developing the health promoting school : a case study of Huanghin School, Bankai District, Rayong Province
Authors: วัชราภรณ์ อภิวัชรางกูร
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
จุมพล พูลภัทรชีวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Taweewat.p@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การจูงใจ (จิตวิทยา)
ชุมชนกับโรงเรียน
การส่งเสริมสุขภาพ
บริการสุขภาพในโรงเรียน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนารูปแบบการสร้างแรงจูงใจชุมชนในการร่วมพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน และศึกษายุทธวิธีในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของชุมชน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบ มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน จากผู้ให้ข้อมูลหลัก 40 คน โดยสัมภาษณ์ระดับลึก การจัดกลุ่มสนทนาและการสังเกต 2) ศึกษายุทธวิธีในการสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานของชุมชน จากผู้เข้าร่วมการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 24 คน และ 3) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จากผู้นำชุมชน 4 คน ตัวแทนชุมชน 8 คน และตัวแทนชาวบ้าน 30 คน ผลการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่ามีปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วยด้านสภาพแวดล้อม ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และสังคมวัฒนธรรม ด้านชุมชนประกอบด้วยความศรัทธา ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความห่วงใย สวัสดิภาพของบุตรหลาน ความผูกพันและความคาดหวังที่มีต่อโรงเรียน ความสามารถของผู้นำชุมชน และการเห็นความสำคัญของส่วนรวม ส่วนด้านโรงเรียน ประกอบด้วย บุคลากร วิธีการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงาน ผลการศึกษายุทธวิธีในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของชุมชน พบว่ายุทธวิธีในการทำงานประกอบด้วย 1) กระตุ้นให้สมาชิกตั้งเป้าหมายที่ท้าทายในการทำงาน 2) กระตุ้นให้มีการวางแผนยุทธวิธี 3) จัดประชุมเพื่อการประกาศเป้าหมายในการทำงาน 4) สนับสนุนให้ลงมือกระทำตามแผน 5) จัดประชุมกลุ่มเพื่อวิเคราะห์อุปสรรคในการทำงาน 6) สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงตนเองและวัฒนธรรมการทำงาน 7) จัดให้มีการสร้างบรรยากาศของการสนับสนุนจากผู้ร่วมงาน 8) จัดกิจกรรมสะท้อนการวิเคราะห์ตนเอง ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างแรงจูงใจชุมชน ในการร่วมพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 3 ขั้นตอนคือ 1) ผู้นำชุมชนได้รับการกระตุ้นให้เห็นความจำเป็น และความสำคัญในการสร้าง แรงจูงใจ 2) ผู้นำชุมชนศึกษาความรู้และกระบวนการสร้างแรงจูงใจ 3) ผู้นำชุมชนและตัวแทนชุมชนดำเนิน กิจกรรมสร้างแรงจูงใจร่วมกับตัวแทนชาวบ้าน ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า คนในชุมชนมีแรงจูงใจในการร่วมพัฒนามากขึ้น รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับดี-ดีมาก ผู้ใช้รูปแบบมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด ถือว่ารูปแบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ได้
Other Abstract: To develop a model of building community motivation in joint developing the health promoting school. The model was built from three processes. First, in-depth interviews, focus groups, and observational methods were employed in 40 community representatives to explore the factors related to community involvement. Second, an action research was conducted in 24 participants to examine the strategies that motivate the collaborative work of a community. Third, in a combination of the first two the model was developed from 4 community leaders, 8 community representatives, and 30 representatives of villagers. It was found that facilitators of or barriers to the community involvement were related to environmental, community, and school factors. The environmental factors were involved with economic, political, and socio-cultural aspects of the community. The community factors were composed of trust toward school, having senses of belonging in the community involvement, concerning the health status of children, bounding and expectations to school, abilities of community leaders, and viewing community work as an important one. The school factors consist of personnel, working strategies, and work's results. The strategies to motivate collaborative work of the community were composed of 1) motivating members to set work's challenging goals, 2) encouraging members to set strategic plans, 3) holding meetings for a goal-oriented work declaration, 4) supporting actual implementations according to the plans, 5) setting group meetings to analyze the work's barriers, 6) promoting self-changes and cultural changes related to work, 7) encouraging having working environment supported from teamwork, and 8) providing activities reflecting self-analysis. The developing of a model of building community motivation in joint developing the health promoting school had three processes: 1) community leaders were motivated to see the needs and important of community motivation, 2) the community leaders learned and gained the knowledge regarding the process of community motivation, and 3) with a cooperation from village representatives, community leaders, community representatives implemented the activities that promoted the community motivation. Results from a pilot testing of the model showed that people in the community had higher community motivation to develop the health promoting school. The model was fit to be used in developing the health promoting school at a level of good to excellent. The model users had satisfaction of creating the health promoting school at a level of very excellent. Thus, the study suggests effectiveness of the model and its application.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9730
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.458
ISBN: 9741754396
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.458
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watcharaporn.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.