Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9877
Title: การใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม ความรู้ และการนำความรู้ไปใช้กับความพึงพอใจในการสื่อทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักศึกษานอกระบบโรงเรียนในชนบทจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The use of satellite television, knowledge, application and satisfaction with using satellite television of nonformal students in rural area, Chiangmai
Authors: นุวดี สุพรรณรัตน์
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Parama.s@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
การศึกษาทางไกล
ความพอใจ
ความรู้
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมของนักศึกษานอกระบบโรงเรียนในชนบทจังหวัดเชียงใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม ความรู้ การนำความรู้ไปใช้และความพึงพอใจในการใช้สื่อทางไกล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 349 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSSx ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษานอกระบบโรงเรียนในชนบทจังหวัดเชียงใหม่ที่มี อายุ การศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรส ต่างกัน มีการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมไม่แตกต่างกัน 2. นักศึกษานอกระบบโรงเรียนในชนบทจังหวัดเชียงใหม่ที่มี เพศ และรายได้ต่างกันมีการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมแตกต่างกัน 3. การใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ 4. การใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการนำความรู้ไปใช้ 5. การใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับความพึงพอใจในการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม 6. ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับการนำความรู้ไปใช้ 7. ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม 8. การนำความรู้ไปใช้มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับความพึงพอใจในการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม 9. การนำความรู้ไปใช้ สามารถอธิบายความพึงพอใจในการใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมได้มากที่สุด
Other Abstract: The purposes of this research were to investigate the use of satellite television of nonformal students in rural area, Chiangmai and the correlation among the use of satellite television, knowledge, application and satisfaction with using satellite television. Questionaires were used to collect the data from a total of 349 samples. Frequency, percentage, mean, t-test, ANOVA, Pearson's product moment correlation coefficient and Multiple Regression Analysis were employed for the analysis of the data. SPSSx program was used for data processing. The results of the study were as follows : 1. Nonformal students with difference in age, education, occupation and marital status were not different in the use of satellite television. 2. Nonformal students with different in sex and income were different in the use of satellite television. 3. The use of satellite television did not correlate with knowledge. 4. The use of satellite television positively correlated with application. 5. The use of satellite television positively correlated with satisfaction with using satellite television. 6. Knowledge did not correlate with application. 7. Knowledge did not correlate with satisfaction. 8. Application positively correlated with satisfaction with using satellite television. 9. Application was the best variable able to explain satisfaction with the use of satellite television.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9877
ISBN: 9743321365
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuwadee_Su_front.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Nuwadee_Su_ch1.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Nuwadee_Su_ch2.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open
Nuwadee_Su_ch3.pdf924.69 kBAdobe PDFView/Open
Nuwadee_Su_ch4.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
Nuwadee_Su_ch5.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Nuwadee_Su_back.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.