Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9886
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอธิบาย ลำดับในการเลือกและความตั้งใจที่จะสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง กับผลการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Relationships of explanatory style, selection priority, intention to retake university entrance examination, and academic performance of Chulalongkorn University Education freshmen
Authors: สุภาวดี จันทร์เพ็ญ
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chaiyaporn.W@Chula.ac.th
Subjects: สถาบันอุดมศึกษา -- การสอบคัดเลือก
การช่วยตนเองไม่ได้ (จิตวิทยา)
การอธิบาย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอธิบายสาเหตุของเหตุการณ์เลวร้ายในการเรียน ลำดับในการเลือก และความตั้งใจที่จะสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่งกับผลการเรียนของนิสิตขึ้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามรูปแบบการอธิบายสาเหตุของเหตุการณ์เลวร้ายในการเรียน และแบบสอบถามลำดับในการเลือก และความตั้งใจที่จะสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการอธิบายมองโลกแง่ร้ายมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางลบกับเกรดเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. ความตั้งใจที่จะสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่งมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางลบกับเกรดเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. รูปแบบการอธิบายมองโลกแง่ร้ายมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับความตั้งใจที่จะสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. รูปแบบอธิบายมีผลต่อผลการเรียนมากกว่าความตั้งใจที่จะสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง 5. ลำดับในการเลือกมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับความตั้งใจที่สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Other Abstract: The purpose of this research was to study the relationships of explanatory style, selection priorty, intention to retake university entrance examination, and academic performance of Chulalongkorn University Education freshmen. The sample included 100 students. The instruments used in this research were the Academic Attributional Style Questionnaire and the Selection Priority and Intention to Retake University Entrance Examination Questionnaire. Findings are as follows: 1. The negative explanatory style has a significant negative linear correlation with GPA (p<.001). 2. The intention to retake university entrance examination has a significant negative linear correlation with GPA (p<.01). 3. The negative explanatory style has a significant positive linear correlation with intention to retake university entrance examination (p<.01). 4. The explanatory style is more effective than intention to retake university entrance examination in predicting GPA. 5. The selection priority has a significant positive linear correlation with intention to retake university entrance examination (p<.001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9886
ISBN: 9743320679
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_Ch_front.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Ch_ch1.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Ch_ch2.pdf914.41 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Ch_ch3.pdf880.62 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Ch_ch4.pdf937.19 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Ch_ch5.pdf784.76 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Ch_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.