Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10069
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประศักดิ์ หอมสนิท-
dc.contributor.authorคนึงนิจ ก่ำทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-14T03:03:33Z-
dc.date.available2009-08-14T03:03:33Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743328416-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10069-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการชมรายการโทรทัศน์ของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาการใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพของครูและพฤติกรรมการชมรายการ โทรทัศน์กับการใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ศึกษาตัวแปรด้านสถานภาพของครูและพฤติกรรมการชมรายการโทรทัศน์ที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 1,174 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูประถมศึกษาส่วนใหญ่ (60.4%) ชมรายการโทรทัศน์ทุกวัน ช่วงเวลาในการชมมากที่สุดในวันจันทร์-อาทิตย์ คือ เวลา 18.00-20.00 น. ระยะเวลาในการชมส่วนใหญ่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป เฉลี่ยแต่ละครั้งชม 3 รายการ ประเภทของรายการที่ชมบ่อยคือ รายการข่าว 2. ครูประถมศึกษาใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอนในระดับปานกลาง 3. มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างสถานภาพของครูและพฤติกรรมการชมรายการโทรทัศน์กับการใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอน จำนวน 28 ตัว ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ การชมรายการโทรทัศน์ประเภทรายการข่าว ระยะเวลาในการชม 2 ชั่วโมงขึ้นไป ปริมาณของรายการที่ชม 4 รายการขึ้นไป มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างสถานภาพของครูและพฤติกรรมการชมรายการโทรทัศน์กับการใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอน จำนวน 17 ตัว ซึ่ง 3 อันดับแรก ได้แก่ ปริมาณของรายการที่ชม 2 รายการ การชมรายการโทรทัศน์ 3-4 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลาในการชมประมาณ 1 ชั่วโมง 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ พบตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน ขั้นสรุปและขั้นวัดผลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 11, 13, 8 และ 14 ตัว ตามลำดับ โดยตัวแปรทุกตัวในแต่ละขั้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอนได้เท่ากับ 60.49%, 63.20%, 50.70% และ 54.26% ตามลำดับ 5. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรทีละขั้น พบตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน ขั้นสรุปและขั้นวัดผลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 14,15,13 และ 14 ตัว ตามลำดับ โดยทุกตัวแปรในแต่ละขั้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอนได้เท่ากับ 58.75%,61.51%,48.22%และ51.62% ตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this survey research were (1) to study television program viewing behaviour of elementary school teachers under the jurisdiction of the Office of Bangkok Primary Education, (2) to study the use of television program in instruction of elementary school teachers, (3) to study the relationships between teacher status, television program viewing behaviour and the use of television programs in instruction of elementary school teachers, and (4) to identify predictor variables in the use of television programs in instruction of elementary school teachers. The 1,174 elementary school teachers under the jurisdiction of the Office of Bangkok Primary Education were randomly sampling. A survey form and structured interview were administered to the subjects. The findings revealed that: 1. Most of elementary school teachers (60.4%) viewed three television program daily between 18.00-20.00 pm. The television program most frequently viewed was news program. 2. The elementary school teachers used television programs in instruction at the moderate level. 3. There were statis tically significant positive relationships at .05 level between the use of television programs in instruction of elementary school teachers and 28 selected variables. The first three variables were: news program, viewing time more than two hourse, and viewing more than four programs. There were statistically significant negative relationships at .05 level between the use of television programs in instruction of elementary school teachers and 17 selected variables. The first three variable were: viewing two programs, viewing 3-4 days per week and viewing about one hour. 4. In multiple regression analysis (Enter Method) at .05 level, in Introduction step, Teaching step, Conclusion step and Evaluation step, there were 11, 13, 8 and 14 predictor variables together were able to account for 60.49%, 63.20%, 50.70% and 54.26% of the variance. 5. In stepwise multiple regression analysis at .05 level, in Introduction step, Teaching step, Conclusion step and Evaluation step, there were 14, 15, 13 and 14 predictor variables together were able to account for 58.75%, 61.51%, 48.22% and 51.62% of the variance.en
dc.format.extent1108323 bytes-
dc.format.extent1432853 bytes-
dc.format.extent4162739 bytes-
dc.format.extent1354947 bytes-
dc.format.extent4543334 bytes-
dc.format.extent3444630 bytes-
dc.format.extent1756149 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสอนด้วยสื่อen
dc.subjectโทรทัศน์เพื่อการศึกษาen
dc.subjectรายการโทรทัศน์en
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอนen
dc.subjectการศึกษาขั้นประถมen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการชมรายการโทรทัศน์กับการใช้รายการโทรทัศน์ในการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeThe relationships between television program viewing behaviour and the use of television programs in instruction of elementary school teachers under the Jurisdiction of the Office of Bangkok Primary Educationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPrasak.h@car.chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanungnit_Gu_front.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_Gu_ch1.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_Gu_ch2.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_Gu_ch3.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_Gu_ch4.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_Gu_ch5.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Kanungnit_Gu_back.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.