Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17658
Title: ความคิดเห็นของอาจารย์ และผู้บริหารในวิทยาลัยพลศึกษา เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์
Other Titles: Opinions of instructors and administrators in colleges of physical education concerning the evaluation of teaching effectiveness
Authors: เริงเดช อุทธิเสน
Advisors: ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Prapat.L@Chula.ac.th
Subjects: การสอน -- การประเมิน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์และผู้บริหารในวิทยาลัยพลศึกษาเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์เปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างอาจารย์และผู้บริหาร และระหว่างอาจารย์ที่มีวุฒิ การศึกษาระดับปริญญาตรีกับอาจารย์ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ โดยส่งแบบสอบถามไปยังวิทยาลัยพลศึกษา จำนวน 17 สถาบัน รวมทั้งสิ้น 254 ฉบับเป็นของอาจารย์ 186 ฉบับ และผู้บริหาร 68 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมารวมทั้งสิ้น 208 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 81.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที นำผลการวิเคราะห์เสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ทั้งอาจารย์และผู้บริหารมีความเห็นเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ในวิทยาลัยพลศึกษาดังต่อไปนี้ ควรมีการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ในวิทยาลัยพลศึกษา และการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์มีความสำคัญและจำเป็น เพื่อกระตุ้นให้อาจารย์มีการตื่นตัวในการพัฒนาตัวเองและเพื่อกระตุ้นให้อาจารย์ได้ทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ควรใช้ปัจจัยความเอาใจใส่ต่อการเรียนการสอนและความมั่นใจในการสอนเป็นปัจจัยในการประเมิน โดยให้ฝ่ายวิชาการของวิทยาลัยพลศึกษาและนักศึกษาผู้ประเมิน ควรมีการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์เป็นระยะๆ ตลอดภาคการศึกษา การประเมินควรใช้แบบสอบถามและควรมีการบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิเคราะห์ในครั้งต่อไป ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์และผู้บริหาร เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความคิดเห็นระหว่างอาจารย์ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีกับอาจารย์ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research were to study the opinions of instructors and administrators in colleges of physical education concerning the evaluation of teaching effectiveness and to compare the opinions concerning the evaluation of teaching effectiveness between the instructors and those of administrators, and between the bachelor degree and master degree. The device used for collecting the data was constructed by means of 254 questionnaires which were sent to 17 colleges of physical education: 186 for instructors, 68 for administrators, 208 questionnaires or 81.88 percent were returned. The data were, then, analyzed into percentages, means, and standard deviation. A t-test was also employed to determine if there was any significant difference. It was found that instructors and administrators in colleges of physical education agreed in the following areas of teaching effectiveness: The evaluation of teaching effectiveness in colleges of physical education should be established, and it was important and indispensable. It stimulated the instructors to develop themselves regularly in teaching effectiveness. The evaluation should be based on the attention paid to teaching and the Self-confidence in teaching, and evaluate by the academic division of the colleges of physical education. There should be regular evaluation the teaching effectiveness periodically through the semesters. The questionnaire technique should be employed, and the record should be kept for further reference. There was no significant difference at the .05 level between the opinions of instructors and administrators concerning the evaluation of teaching effectiveness. There was no significant difference at the .05 level between the opinions of bachelor's and master's degree concerning the evaluation of teaching effectiveness.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17658
ISBN: 9745644072
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Raengdeatt_Ut_front.pdf331.7 kBAdobe PDFView/Open
Raengdeatt_Ut_ch1.pdf352.48 kBAdobe PDFView/Open
Raengdeatt_Ut_ch2.pdf621.65 kBAdobe PDFView/Open
Raengdeatt_Ut_ch3.pdf275.29 kBAdobe PDFView/Open
Raengdeatt_Ut_ch4.pdf544.56 kBAdobe PDFView/Open
Raengdeatt_Ut_ch5.pdf399.24 kBAdobe PDFView/Open
Raengdeatt_Ut_back.pdf466.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.