Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22286
Title: | บทบาทของวิทยาลัยครูในเขตภาคกลาง ที่มีต่อการทำนุบำรุงวัฒนธรรมของชาติ |
Other Titles: | Roles of teachers colleges in central region on the national cultural preservation |
Authors: | สธน โรจนตระกูล |
Advisors: | วราภรณ์ บวรศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาบทบาทการทำนุบำรุงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติของวิทยาลัยครูในเขตภาคกลาง 2. เพื่อศึกษาถึงวิธีการดำเนินงานการส่งเสริม ทำนุบำรุงวัฒนธรรมท้องถิ่นในเขตที่วิทยาลัยแต่ละแห่งรับผิดชอบ 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในด้านการดำเนินงานการทำนุบำรุงส่งเสริมรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นของวิทยาลัยครูในเขตภาคกลาง 4. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการทำนุบำรุงวัฒนธรรมท้องถิ่นในเขตวิทยาลัยครูภาคกลาง วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารและอาจารย์ของวิทยาลัยครูเขตภาคกลาง 11 แห่ง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2525 ส่วนกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้าคณะวิชาขึ้นไป โดยใช้จำนวนประชากรทั้งหมดมีจำนวนทั้งสิ้น 77 คน อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่สัมพันธ์กับสาขาทางวัฒนธรรมทั้ง 5 สาขา ได้แก่ สาขาศิลปะ สาขามนุษยศาสตร์ สาขาคหกรรมศาสตร์ สาขากีฬาและนันทนาการ สาขาการช่างฝีมือ จำนวน 165 คน และคณะกรรมการประจำศูนย์วัฒนธรรมซึ่งประกอบด้วยประธานศูนย์ฯ รองประธานศูนย์ฯ เลขานุการศูนย์ฯ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่ ฝ่ายฝึกอบรม ฝ่ายหอวัฒนธรรม และฝ่ายวัฒนธรรมสัมพันธ์ รวมทั้งหมด 88 คน รวมกลุ่มตัดอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบแบบมาตราส่วนประเมินค่ะ และแบบปลายเปิด รวมทั้งแบบสัมภาษณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ และแบบปลายเปิด จากแบบสอบถามที่ส่งไปจำนวน 330 ฉบับได้รับกลับคืน 288 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 87 แล้วนำมาวิเคราะห์โดยวิธีหาค่าร้อยละหาค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของวิทยาลัยครูเขตภาคกลางที่มีต่อการทำนุบำรุงวัฒนธรรมนั้น ยังดำเนินบทบาทอยู่ในระดับค่อนข้างน้อยทุกด้าน ได้แก่ ด้านที่เน้นทางด้านการสอน ด้านจัดประกวดหรือแข่งขัน ด้านการวิจัย ด้านการประสานงานติดต่อ ด้านทัศนศึกษา ดูงาน และแลกเปลี่ยนเผยแพร่ซึ่งกันและกัน ด้านการประชาสัมพันธ์และด้านเทคนิคและวิธีการอื่นๆ ลักษณะงานของกิจกรรมที่วิทยาลัยครูเขตภาคกลางได้จัดขึ้นและเห็นว่าความสำคัญอยู่ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ การจัดนิทรรศการ การจัดการแสดงและสาธิต การจัดงานประเพณี การจัดการประกวดและการจัดการอภิปราย ปาฐกถา ตามลำดับ เกี่ยวกับวิธีดำเนินการจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรมนั้น ปรากฏว่าวิธีการที่วิทยาลัยครูเขตภาคกลางได้กระทำเป็นผลสำเร็จมากที่สุด ได้แก่ การร่วมมือกับสถาบันเอกชน องค์การและหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ ด้านปัญหาและอุปสรรคในการทำนุบำรุง ส่งเสริม รักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นพบว่าปัญหาส่วนใหญ่มีอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย แต่ที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่สำคัญๆ และค่อนข้างมาก ได้แก่ ด้านปัญหาทั่วไป ด้านบุคลากร ส่วนปัญหาและอุปสรรคที่ค่อนข้างน้อย ได้แก่ด้านวิชาการ ด้านการประสานงานติดต่อ และด้านการดำเนินงานและวิธีการทำงาน แนวทางในการทำนุบำรุงวัฒนธรรมนั้นควรศึกษา ค้นคว้าและนำมาจัดทำเป็นหลักสูตร แล้วพยายามผลักดันให้ถึงโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไปโดยการจัดเข้าไปในหลักสูตรทั้งในและนอกโรงเรียนมีการจัดการฝึกอบรมบุคลากรหลักด้านวัฒนธรรมส่วนการจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมนั้นควรพัฒนาด้านการเรียนการสอนการค้นคว้าวิจัยให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันโดยการจัดให้เหมาะสมกับวิธีดำเนินการจัดกิจกรรมได้หลายประการ เช่น การจัดอภิปราย การประกวด การจัดนิทรรศการ ส่วนการจัดทำหอวัฒนธรรมควรจัดในรูปประจำภาคคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแต่ละภาคเน้นไปคนละทางไม่ซ้ำแบบกัน โดยให้วิทยาลัยครูที่เป็นจุดศูนย์กลางของภาคนั้นรับผิดชอบ ข้อเสนอแนะ 1. วิทยาลัยครูเขตภาคกลางควรจะได้มีการประชุมเพื่อวางนโยบายด้านวัฒนธรรมให้ชัดเจน และควรมีการประสานงานติดต่อกันระหว่างวิทยาลัยเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ 2. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ควรจะต้องจัดสรรงบประมาณให้ศูนย์วัฒนธรรมมากกว่าปัจจุบัน และกรมการฝึกหัดครูควรจะจัดสรรงบประมาณด้านวัฒนธรรมให้ด้วย 3. การจัดกิจกรรมของนักศึกษานั้น รองอธิการฝ่ายกิจการนักศึกษาควรจะสอดส่องดูแลให้กิจกรรมนั้นๆสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น 4. การเรียนการสอนของอาจารย์ควรจะสอดแทรกเนื้อหาด้านวัฒนธรรมให้มากขึ้น 5. อาจารย์ที่ทำหน้าที่ทางด้านศูนย์วัฒนธรรมของวิทยาลัยครู ควรจะได้รับการลดชั่วโมงสอนลงหรือควรจะของบุคลากรสาย ค. มาทำหน้าที่แทนอาจารย์ 6. ควรจะมีการสอนวิชาวัฒนธรรมโดยให้เป็นวิชาบังคับแก่นักศึกษาที่เรียนในวิทยาลัยครู ทั้งระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงและระดับปริญญา 7. ควรจะมีการจัดกลุ่มเพื่อฝึกประสบการณ์วิชาหัตถกรรมพื้นบ้าน ให้แก่ประชาชนและผู้สนใจ 8. ควรที่จะกำหนดแนวนโยบายการทำนุบำรุงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมุ่งไปสู่ประชาชนและบุคคลทั่วไปให้มากกว่าปัจจุบัน |
Other Abstract: | Purpose of the Study 1.To study the roles of teachers colleges of the central region in the preservation of national culture.2. To study procedures for the preservation of regional cultures in the areas for which the colleges are responsible. 3. To study the problems and obstacles encountered by the teachers colleges in the central region in the preservation of regional culture. 4. To recommend ways to preserve regional culture in the area of the teachers colleges of the central region. Procedures The population for this research included administrators and staff members of all central region colleges during the second semester of the 1982 academic year. The sampling included 77 administrators holding the position of head of a faculty or higher 165 teachers of culture related subjects in 5 branches namely, Arts, Humanities, Home Economic, Sports and Recreation, and Handicrafts, 88 members of the culture preservation committees such as Chairman, Vice chairman, Secretary, Head of research and development, Head of preservation and propagation. The total sample included 330 persons. The research was carried out through a questionnaire with multiple choice questions, questions to be answered on a rating scale and open ended questions, and an interview with multiple choice questions and open ended questions. Out of 330 questionnaires 288 were returned, i.e. 87%. Data were analyzed through percentages, means and standard deviations. Research Findings The role of the teachers colleges in the central region on the national cultural preservation is still minimal in the following areas: teaching, competitions, research, coordination, tour inspection and education, cultural exchange, public affairs, techniques and other procedures. The first five activities set up by the colleges in the central region were exhibitions, demonstrations, cultural traditional festivities, competitions lectures and discussions. The most successful approach used by the teachers colleges in the central region was cooperation with private institutions, and with other institutes or agencies of the government. The problems and difficulties encountered in the preservation regional culture were few. The main difficulties still concerned personnel and general problems. Problems of minor importance were academic cooperation and working procedures. The way to preserve Thai Culture is to study and make a Research in Cultural content and to make up Curriculum then try to encourage it since in the Kindergarten levels in schools and out of schools. There should also be personnel training of Culture. Activity administration on culture ought to develop teaching, though. Research should be congruent with present situation by performing different activities such as discussion, competition, and exhibition as well. Culture center should be founded in every area; in the north, the north-east, the south, and the central area, and in each area must be exactly different but the Teacher Colleges become its locally center. Recommendations1. A meeting for planning should be arranged systematically and cooperatively among the teachers colleges responsible for cultural preservation in the central region. 2. The National Culture Office should provide the cultural centers with more funds than previously in the past. The teacher Education Department should bear the same responsibility. 3. Close inspection should be conducted by the vice rector for student activities in order to keep the activities relevant with local culture. 4. Insertion of cultural ideas should be made by teachers while teaching various subjects. 5. The teaching load for culture teachers should be lessened. They could be substituted for by type C. personnel. 6. There should be a culture subject compulsory for all students at the higher education and bachelor of education levels. 7. Groups should be organized to give adequate training in regional handicrafts for interested people. 8. A policy should be carefully determined to promote culture preservation and arts to more people. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22286 |
ISBN: | 9745627682 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ston_Ro_front.pdf | 526.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ston_Ro_ch1.pdf | 485.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ston_Ro_ch2.pdf | 958.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ston_Ro_ch3.pdf | 398.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ston_Ro_ch4.pdf | 952.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ston_Ro_ch5.pdf | 878.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ston_Ro_back.pdf | 837.44 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.