Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24147
Title: การเปรียบเทียบสัดส่วนของภาพกับพื้นที่ที่มีต่อการจำภาพได้ ของนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่สาม
Other Titles: A comparison of proportion of figure and ground upon the pictorial recognition of prathom suksa three students
Authors: วรเชษฐ สงวนนาม
Advisors: เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของภาพกับพื้น ที่มีต่อการจำได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม ปีการศึกษา 2527 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ เขตยานาวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสไลด์ขาวดำของวัตถุ 45 ชนิด แต่ละชนิดเป็นภาพซึ่งมีสัดส่วนของภาพกับพื้น เป็น 3 ลักษณะ สามในสี่ หนึ่งในสอง และหนึ่งในสี่ แบ่งภาพแต่ละสัดส่วนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภาพที่ใช้ในการนำเสนอ 30 ภาพ และกลุ่มภาพที่ใช้เป็นภาพลวง 15 ภาพ กลุ่มตัวอย่างจะได้ดูภาพ 3 ครั้งๆ ละ 1 สัดส่วนเท่านั้น นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หลังจากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีเชฟเฟ่ สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สัดส่วนของภาพกับพื้น ที่มีผลต่อการจำได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม แต่ละสัดส่วนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .01 (.01F₂₁₄₇=4.79) เมื่อนำมาวิเคราะห์เป็นรายคู่ ผลปรากฏว่าสัดส่วนของภาพกับพื้น สามในสี่กับหนึ่งในสี่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เช่นเดียวกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนหนึ่งในสอง ผลปรากฏว่า ไม่มีความแตกต่าง
Other Abstract: Purposes of the study The purpose of this research was to compare various proportions of figure and ground upon the pictorial recognition of Prathom Suksa three students. Procedures The subjects were fifty Prathom Suksa three students of Tung Mahamak School, Yannawa district, Bangkok, in the academic year 1984. They were selected by random sampling. Test materials consisted of 135 black and white slides showing 45 objects. Each object picture was reproduced into 3 figure to ground proportions as follows: three fourths, one half and one quarter. Each proportion was divided into two groups: 30 slides for presentation and additional 15 slides for testing. The pictures were presented to the sample group with only one proportion shown at a time. Findings There was significant difference in the proportion of figure and ground upon the pictorial recognition at the .01 level. The analysis result of each pair of proportions has a significant difference between three fourths and one fourth at the .01 level but not a significant difference between three fourths and one quarter or one half and one quarter.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24147
ISBN: 9745638498
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worachetha_Sa_front.pdf399.74 kBAdobe PDFView/Open
Worachetha_Sa_ch1.pdf557.64 kBAdobe PDFView/Open
Worachetha_Sa_ch2.pdf701.74 kBAdobe PDFView/Open
Worachetha_Sa_ch3.pdf317.67 kBAdobe PDFView/Open
Worachetha_Sa_ch4.pdf264.6 kBAdobe PDFView/Open
Worachetha_Sa_ch5.pdf418.78 kBAdobe PDFView/Open
Worachetha_Sa_back.pdf465.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.