Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26167
Title: แนวโน้มของหลักสูตรและการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในช่วงพุทธศักราช 2530-2540
Other Titles: Trends of Thai language curriculum and instruction at the lower secondary education level in B.E. 2530-2540
Authors: ชินะพัฒน์ ชื่นแดชุ่ม
Advisors: สุจริต เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของหลักสูตรและการเรียนการสอนภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในช่วงพุทธศักราช 2530-2540 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาการสอนภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยปรากฏแนวโน้มของหลักสูตรและการเรียนการสอนภาษาไทย ดังนี้ 1.หลักสูตรภาษาไทยจะเป็นหลักสูตรแบบหมวดวิชาที่แบ่งตามทักษะทั้ง 4 และหลักภาษา มีการสัมพันธ์ทักษะ และเน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร มีแนวโน้มที่เป็นไปได้มาก 2.หลักสูตรภาษาไทยจะมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม ให้มีความสามารถในการนำภาษาไปใช้ในชีวิตการทำงานหรือศึกษาต่อได้ ให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถใช้ภาษาอย่างมีความคิด มีระบบ มีเหตุผลได้ และให้ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสติปัญญาและแสวงหาความรู้ต่อไปได้ มีแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุด 3.หลักสูตรภาษาไทยจะมีโครงสร้างที่แบ่งวิชาออกเป็น 2 ประเภท คือวิชาบังคับเพื่อให้เกิดความสามารถในการใช้ทักษะทางภาษาทั้ง 4 เพื่อการสื่อสาร และเพื่อเป็นพื้นฐานทั้งสำหรับผู้ที่จะออกไปประกอบอาชีพและผู้ที่จะศึกษาต่อ กับวิชาเลือกเพื่อพัฒนาทักษะและบุคลิกภาพของผู้เรียน ตามความสนใจและความถนัด มีแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุด ส่วนอัตราเวลาเรียนวิชาบังคับจะเป็น 4 คาบ/สัปดาห์ มีแนวโน้มที่เป็นไปได้มาก 4.หลักสูตรภาษาไทยจะมีเนื้อหาที่เป็นไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง และเกิดสัมฤทธิผลในการสื่อสาร มีทั้งวรรณคดีมรดก และวรรณกรรมปัจจุบัน ทันสมัย ทันต่อปัญหาและเหตุการณ์ปัจจุบัน เป็นประโยชน์ในการสร้างคนให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น นำไปใช้ในชีวิตและกิจการงานได้ ถูกต้องตรงตามหลักวิชา และมีความยากง่ายเหมาะกับผู้เรียน โดยประกอบด้วยความรู้ทางภาษาซึ่งสอดคล้องกับจุดประสงค์ของหลักสูตร มีเนื้อหาด้านการใช้ภาษาให้ถูกต้อง การใช้ภาษาอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร จัดลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก และให้มีความยากง่ายเหมาะกับวัยของผู้เรียน มีแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุด 5.การเรียนการสอนภาษาไทย จะเน้นการทำงานเป็นกลุ่ม กับการเรียนจากสังคมและสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน โดยใช้วิธีสอนหลายวิธีกลมกลืนกันไปในบางโอกาส และเลือกใช้เพียงบางวิธีในบางโอกาส มีแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุด 6.สื่อการสอนภาษาไทย จะมีหนังสือเรียนที่มีเนื้อหาตรงตามจุดประสงค์ของหลักสูตร มีความถูกต้องของตัวสะกดการันต์ และมีการสร้างบทเรียนขึ้นให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุด ส่วนแนวโน้มที่เป็นไปได้มาก ได้แก่จะมีการใช้หนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนต่างๆ และมีการใช้หนังสืออ่านประกอบ หนังสือประกอบการค้นคว้า และหนังสือส่งเสริมการอ่าน 7.การประเมินผลการเรียนการสอนภาษาไทย จะเป็นไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการนำไปใช้ และทักษะทางภาษากับเพื่อวัดความสามารถในการใช้ภาษาไทย การคิดอย่างมีเหตุผล การตีความ และการทำงานเป็นกลุ่ม มีแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุด ส่วนแนวโน้มที่เป็นไปได้มาก ได้แก่ จะมีการใช้วิธีการและเครื่องมือหลายๆแบบ เพื่อวัดให้ตรงตามจุดประสงค์ทุกๆข้อ และเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผล จะเป็นแบบอิงเกณฑ์ วัดตามจุดประสงค์
Other Abstract: The main purpose of this research was to study the trends of Thai language curriculum and instruction at the lower secondary education level in B.E. 2530-2540 by using Delphi Technique. The samples were 20 experts in Thai language teaching at secondary education level. An interview form and questionnaire constructed by the researcher were used for data collecting. The data were then analyzed by means of median, mode and interquartile range. The major findings were :- 1. The general appearance of Thai language curriculum would be broad field curriculum which covered 4 language usage skills and language structures. The four language skills would be related together. It would emphasize language usage for communication These trends would be much possible. 2. The objectives of Thai language curriculum would be as follows: to develop the students’ language skills and abilities for effective communication; to be able to use language systematically and logically; to use language as tools in developing intellect and for acquiring knowledge. These trends would be most possible. 3. The structure of Thai language curriculum would consist of 2 types: require courses to develop 4 language usage skills in communication and to be basis for working and further study, and elective courses for developing students’ personality, interest and aptitude: These trends would be most possible. The time schedule would be 4 periods/week in required courses. This trend would be much possible. 4. The content of Thai language curriculum would serve the objective so that the students would be able to use language effectively in communication. The content would include both classic literature and contemporary literature which was up to date and useful in developing students’ logical thinking. Tha students would be able to use language in daily life and in working. The content would be academically correct, suitable for the students. The content would cover linguistics, language usage, critical thinking and language for communication. The sequence of the content would range from simplicity to difficulty. The content would serve the students’ maturity. These trends would be most possible. 5. Thai language instruction would emphasize on group working, learning society and environment. In some occasion the instruction would use multi-techniques, in another occasion the instruction would use specific technique. These trends would be most possible. 6. The instructional materials would include textbook which served the curriculum, the spelling was correct. There would be lessons which corresponded with the objectives of the curriculum. These trends would be most possible. The trends which would be much possible were: newspapers and others mass medias would be put into function, there would be external reading, reference and supplementary readers. 7. The measurement and evaluation would serve the objectives of curriculum. It would measure knowledge, comprehension, application and language skills The test would evaluate language ability, logical thinking, interpretation ability and group working ability. These trends would be most possible. The trends which would be much possible were: there would be various kinds of techniques in evaluation in order to serve the objectives. The evaluative criteria would be criterion reference and evaluate according to the objectives.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26167
ISBN: 9745649708
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chinapat_Ch_front.pdf551.58 kBAdobe PDFView/Open
Chinapat_Ch_ch1.pdf453.25 kBAdobe PDFView/Open
Chinapat_Ch_ch2.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Chinapat_Ch_ch3.pdf412.2 kBAdobe PDFView/Open
Chinapat_Ch_ch4.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Chinapat_Ch_ch5.pdf510.04 kBAdobe PDFView/Open
Chinapat_Ch_back.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.