Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26786
Title: ลักษณะและปัจจัยพื้นฐานของผู้รับบริการที่มาโรงพยาบาลสระบุรีโดยตรงโดยไม่ผ่านหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลสระบุรีภายใต้นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า
Other Titles: Characteristics and basic factors of bypassed patients from primary care unit ti Saraburi hospital under universal coverage health insurance policy
Authors: พงษ์สุดา วงศ์ระวีกุล
Advisors: พรณรงค์ โชติวรรณ
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2546
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะและปัจจัยพื้นฐานของผู้รับบริการที่มาโรงพยาบาลสระบุรีโดยตรงโดยไม่ผ่านหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลสระบุรี ในด้านปัจจัยส่วนบุคคล การใช้บริการสุขภาพ เหตุผลที่ไม่ไปหน่วยบริการปฐมภูมิ สิ่งที่ต้องปรับปรุงหน่วยบริการปฐมภูมิ เหตุผลที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสระบุรี ความพึงพอใจต่อการให้บริการของโรงพยาบาลสระบุรี และความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลกับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ เก็บข้อมูลระหว่าง 1-30 เมษายน 2546 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการจากหน่วยปฐมภูมิ 2-7 ที่มาโดยตรงโดยไม่ผ่านหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลสระบุรีมารับบริการผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลสระบุรีจำนวน 500 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล Mann-Whitney U test และ Kruskal Wallis test ผลการศึกษาด้านปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นหญิงร้อยละ 73.0 อายุระหว่าง 16-59 ปี ร้อยละ 65.6 ที่อยู่ในพื้นที่บริการของหน่วยปฐมภูมิ 2 มากที่สุด ร้อยละ 25.8 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 52.8 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 60.0 รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 64.6 สถานการณ์เงินของครอบครัวพอใช้ ร้อยละ 50.0 ด้านการใช้บริการสุขภาพ ส่วนใหญ่ใช้เวลาเดินทางไปหน่วยบริการปฐมภูมิภายใน 30 นาที ร้อยละ 79.4 เหตุผลที่ไปรับบริการที่หน่วยปฐมภูมิคือ ใกล้บ้านร้อยละ 56.0 เหตุผลที่ไม่ไปรักษาที่หน่วยปฐมภูมิคือ ไม่มีแพทย์ตรวจร้อยละ 31.0 สิ่งที่หน่วยบริการปฐมภูมิต้องปรับปรุงคือให้มีแพทย์ตรวจร้อยละ 90.4 เมื่อเจ็บป่วยรับบริการที่โรงพยาบาลสระบุรี ร้อยละ 71.6 เหตุผลที่มารักษาที่โรงพยาบาลสระบุรีโดยตรงคือ ประทับใจในบริการ ร้อยละ97.8 รองลงมาเชื่อในการรักษาของแพทย์ ร้อยละ 83.0 ความพึงพอใจต่อบริการของโรงพยาบาลสระบุรี เมื่อแยกรายข้อพบว่ามีร้อยละของความพึงพอใจมากถึงมากที่สุดต่อค่าใช้จ่ายคุ้มกับบริการที่ได้รับ รองลงมาความพึงพอใจต่อบริการที่ประทับใจ 87.4 และ 78.0 ตามลำดับ ความแตกต่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจพบว่าอายุ ที่อยู่ สถานภาพสมรส การศึกษา รายได้ สถานการณ์เงินของครอบครัวที่แตกต่างกัน มีผลต่อคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าภาวะใกล้บ้านของหน่วยบริการปฐมภูมิและการมีแพทย์ตรวจที่หน่วยบริการปฐมภูมิเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้รับบริการมาโรงพยาบาลสระบุรีโดยตรงโดยไม่ผ่านหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลสระบุรี นอกจากนี้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะและปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง และการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีประสิทธิภาพต่อไป
Other Abstract: The purpose of this descriptive study was to determine the characteristics and basic factors of bypassed patients from primary care units (PCU) to Saraburi Hospital in several dimensions: personal factors, health service utilization, PCU improvement suggestion, reasons for coming to Saraburi Hospital, Saraburi Hospital satisfaction, satisfaction mean in different personal factors. The study was conducted during 1 to 30 April 2003, using a standard face to face questionare. The subjects were patients who bypassed their PCU which were outside Saraburi Hospital (PCU number 2 to 7) to Saraburi Hospital. The statistics used were Mann Whitney U test and Kruskal wallis test. The results were that, in terms of personal factors, the majority of patients were female (73.0%), 16-59 years old (65.6%), married (52.8%) and had finished primary school education (60.0%). The majority of patients lived in PCU 2 area (25.8%), earned less than 5,000 baht per month (64.6%) and had enough family financial (50.0%). In terms of health service utilization, the time used to reach their PCU was within 30 minutes (79.4%). The major reason to go to their PCU was their near location (58.0%) and the major reason to bypass was their absence of a physician (31.0%). The suggestion was the presence of a physician at the PCU (90.4%). The majority of patients came to Saraburi Hospital in their last one year (71.0%). The reasons were service impression (97.8%), physician trust (83.0%). In term of satisfaction to Saraburi Hospital the percentage of sum of much and very much of service expense the majority is 87.4. The percentage of sum of much and very much of service impression to service is 78.0.The satisfaction scores were different in different age, address, marital ststus, education level, income and family financial groups. The difference were statistically significant (p<0.005). The knowledge of characters and other basic factors may be used in development and settlement of an effective PCU.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26786
ISBN: 9741737831
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsuda_wo_front.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open
Pongsuda_wo_ch1.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open
Pongsuda_wo_ch2.pdf26.38 MBAdobe PDFView/Open
Pongsuda_wo_ch3.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Pongsuda_wo_ch4.pdf7.7 MBAdobe PDFView/Open
Pongsuda_wo_ch5.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
Pongsuda_wo_back.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.