Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27001
Title: อุบัติเหตุและความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Accidents and safety in chemistry laboratories in upper secondary schools in Bangkok Metropolis
Authors: สมศรี เซี๊ยกสาด
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาอัตราการเกิดอุบัติเหตุจาการทดลองเคมี ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำแนกตาม 1.1 ประเภทโรงเรียน 1.2 ระดับชั้น 1.3 เพศของครู 1.4 ลักษณะห้องปฏิบัติการเคมี 1.5 ครูที่ได้รับการอบรม และครูที่ไม่ได้รับการอบรมการสอนเคมี 1.6 ลักษณะของอุบัติเหตุ 2. ศึกษาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากการทดลองเคมี 3. ศึกษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี ในด้านการป้องกันและการแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทดลองเคมี ตัวอย่างประชากรคือ ครูเคมีระดับมัธยมศึกาตอนปลาย ปีการศึกษา 2525 จำนวน 127 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นจากโรงเรียนรัฐบาล สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุจากการทดลองเคมี ลักษณะของอุบัติเหตุ และสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละการทดลองตลอดจนการป้องกันและการแก้ไขอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการทดลองเคมีในห้องปฏิบัติการ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละและค่าอัตราส่วนข้อค้นพบ 1. การปฏิบัติการเคมีในโรงเรียนสหศึกษามีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการปฏิบัติการเคมีในโรงเรียนชายและโรงเรียนหญิง 2.การปฏิบัติการเคมีที่สอนโดยครูเพศชายมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการปฏิบัติการเคมีที่สอนโดยครูเพศหญิง 3. การปฏิบัติการเคมีในห้องปฏิบัติการที่ไม่ใช่ห้องปฏิบัติการเคมีเฉพาะมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการปฏิบัติการเคมีในห้องปฏิบัติการเคมีเฉพาะ 4. การปฏิบัติการเคมีที่สอนโดยครูที่ไม่เคยเข้ารับการอบรมการสอนเคมีในระดับชั้นที่สอนมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการปฏิบัติการเคมีที่สอนโดยครูที่เคยเข้ารับการอบรมการสอนเคมีในระดับชั้นที่สอน 5. การปฏิบัติการเคมีในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงกว่าการปฏิบัติการเคมีในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 6. การปฏิบัติการเคมีในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รวมทั้งสิ้น 28 การทดลอง พบว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 21 การทดลอง มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุ 1.21 ครั้ง/ห้อง/ปี ลักษณะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ “ถูกความร้อนลวก” สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ “ผู้ทดลองเลินเล่อ” บทเรียนที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ บทเรียนเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุ” 7. การปฏิบัติการเคมีในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รวมทั้งสิ้น 29 การทดลองพบว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 18 การทดลอง มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุ 0.63 ครั้ง /ห้อง /ปี ลักษณะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ “ถูกสารเคมีกัด” สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ “ผู้ทดลองเลินเล่อ” บทเรียนที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือ บทเรียนเรื่อง “สมดุลเคมี” 8. การปฏิบัติการเคมีในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 และ ม.5) มีอัตราลักษณะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ “ถูกสารเคมีกัด” และ “ถูกความร้อนลวก” และอัตราสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ “ผู้ทดลองเลินเล่อ” 9. การป้องกันและการแก้ไขอุบัติเหตุจากการทดลองเคมี จากการตอบของครูเคมีส่วนมาก คือ “อธิบายสมบัติของสารเคมีและวิธีใช้ที่นักเรียนไม่คุ้นเคยก่อนใช้ทุกครั้ง” 10. การแก้ไขอุบัติเหตุจาการทดลองเคมีในแต่ละลักษณะ จากการตอบของครูเคมีส่วนมาก คือ 10.1 ไฟไหม้ ก. ไฟไหม้ที่เกิดจากแอลกอฮอล์ แก้ไขโดยใช้ผ้าเปียกน้ำคลุมทับบริเวณไฟไหม้ ข. ไฟไหม้ที่เกิดจากสารเคมี แก้ไขโดยใช้ทรายกลบ ค. ไฟไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า แก้ไขโดยตัดคัทเอาท์ 10.2 ถูกสารเคมี ก. กรดถูกผิลหนัง แก้ไขโดยใช้น้ำล้างมากๆ ข. เบสถูกผิวหนัง แก้ไขโดยใช้น้ำล้างมากๆ 10.3 ถูกของมีคมบาด แก้ไขโดยปฐมพยาบาลเบื้องต้นและส่งห้องพยาบาล 10.4 เกิดสารพิษ แก้ไขโดยให้นักเรียนออกไปห่างๆ 10.5 ถูกความร้อนลวก แก้ไขโดยใช้ยาแก้ไฟลวกทาบริเวณที่ถูกความร้อนลวก 10.6 ระเบิด แก้ไขโดยนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลถ้าได้รับบาดเจ็บมาก
Other Abstract: The purposes of this study were 1. To study the rate of accidents in chemistry experiments in upper secondary schools according to 1.1 Type of schools 1.2 Grade levels 1.3 Sexes of teachers 1.4 Type of laboratories 1.5 Teachers with and without training in teaching chemistry 1.6 Types of accidents 2. To study the causes of accidents in chemistry experiments. 3. To study the safety, accidental prevention and correction, in chemistry experiments. The subjects were 127 upper secondary school chemistry teachers in the 1982 academic year which were stratified randomly sampled from public schools in Bangkok Metropolis. The research instrument was the questionnaire about the accidents which had occurred in chemistry experiments, type of accidents, the causes of accidents, the accidental prevention and correction in chemistry laboratory experiments. The questionnaire was constructed by the researcher herself. The data analysis was done by means of frequency, percentages and ratio. Findings 1. The chemistry experiments in co-educational schools had the accidental rate higher than the ones in boy schools and girl schools. 2. The chemistry experiments taught by male teachers had the accidental rage higher than the ones taught by female teachers. 3. The chemistry experiments in multi-purposed laboratory had the accidental rate higher than the ones in the chemistry laboratory. 4. The chemistry experiments taught by teachers without training in teaching chemistry in their teaching level had the accidental rate higher than the ones taught by the teachers with training. 5. The chemistry experiments in mathayom suksa four had the accidental rate higher than the ones in mathayom suksa five. 6. Twenty-one out of twenty-eight experiments in mathayom suksa four had accidents. The rate of the accidents was 1.21 times per class per year. The accident which mostly occurred at this level was “heat burning” and the cause of accidents which were mostly found was “students’ carelessness”. The lesson which had the most accidents was “The Relation of the Property of Elements”. 7. Eighteen out of twenty-nine experiments in mathayom suksa five had accidents. The rate of the accidents was 0.63 times per class per year. The accident which mostly occurred at this level was “chemical corrosion” and the cause of accidents which were mostly found was “ students’ carelessness”. The lesson which had the most accidents was “The Chemical equilibrium”. 8. In the chemistry experiments in upper secondary schools types of accidents mostly found were “chemical corrosion” and “ heat burning”. The highest rate of the cause of accidents was “students’ carelessness”. 9. The accidental prevention and correction in the chemistry experiments from the majority response of the chemistry teachers were to explain the unaccustomed chemical property and how to use it before the experiments. 10. Concerning the correction of each type of accidents in chemistry experiments, the majority of chemistry teachers’ response were: 10.1 Burning: a Burning from alcohol: treated by covering with soaked cloth. B. Burning from chemical: treated by covering with sand. C. Burning from electrical instruments: treated by switching off. 10.2 Contacting the chemical: a. Acid: treated by washing off. B. Base: treated by washing off. 10.3 To be cut by the sharp instruments: treated by first aid and then sent to the nursing room. 10.4 Occurring poisonous chemical: treated by telling everyone to keep away. 10.5 Heat burning: treated by using ointment. 10.6 Explosion: treated by sending a bad hurt patient to the hospital.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27001
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsri_Se_front.pdf531.79 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Se_ch1.pdf518.48 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Se_ch2.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_Se_ch3.pdf370.13 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Se_ch4.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_Se_ch5.pdf885.12 kBAdobe PDFView/Open
Somsri_Se_back.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.