Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27571
Title: พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและพฤติกรรมทางสังคม ของนักเรียนระดับปฐมวัย : เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษา ระดับปฐมวัยในภาคกลาง
Other Titles: Teacher-pupil interaction and pre-schooler's social behavior : a comparison among different pre-schooler edcuation agencies in the central region
Authors: อรพินท์ ภาณุรัตน์
Advisors: สุมน อมรวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย พร้อมทั้งเปรียบเทียบพฤติกรรมดังกล่าวในหน่วยงานที่รับผิดชอบ 3 กลุ่ม ในภาคกลาง และศึกษาหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนกับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือครูจำนวน 18 คน กับนักเรียนในระดับปฐมวัยที่มีอายุ 4-6 ปี จำนวน 180 คน ในโรงเรียนหรือศูนย์เด็ก 18 แห่งในภาคกลาง โดยแบ่งเป็นกลุ่มโรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาล 2 ปี จำนวน 6 โรง กลุ่มโรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็ก จำนวน 6 โรง และกลุ่มโรงเรียนที่จัดแบบศูนย์เด็ก จำนวน 6 โรง จำนวนนักเรียนที่สังเกตแห่งละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนประกอบด้วยหัวข้อพฤติกรรม 42 พฤติกรรม ซึ่งดัดแปลงมาจากแบบบันทึกพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ของ เนด เอ. แฟลนเดอร์ส (Ned A Flanders) และแบบบันทึกพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อพฤติกรรม 26 พฤติกรรม ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสังเกตและบันทึก ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละของความถี่และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS (Statistical Package for the Social Science) ใน subprogram ANOVA และ Crosstabulation เพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนและหาค่าความสัมพันธ์ของพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน กับ พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน ผลการวิจัย พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เกิดขึ้นมากคือ นักเรียนแสดงพฤติกรรมตอบสนองครูทางวาจา (X̅ = 206.285) เงียบ (X̅ = 111.980) ครูบรรยาย,อธิบาย สรุป, เล่าเรื่อง, สาธิต, อบรม, แนะนำทางท่าทางและวาจา (X̅ = 105.826) ครูใช้คำสั่งทั้งทางตรงและทางอ้อมทางวจา (X̅ = 95.165) พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เกิดขึ้นน้อยคือ ครูยอมรับความคิดเห็นและ/หรือ นำความคิดเห็นของนักเรียนไปใช้ทางท่าทาง (X̅ = 0.587) ครูยกย่องชมเชยนักเรียนทางท่าทาง (X̅ = 1.497) พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่ไม่เกิดขึ้นเลย คือ นักเรียนก้าวร้าวต่อครูทางท่าทางและวาจา และครูยอมรับความรู้สึกและพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้สึกของนักเรียน เปรียบเทียบพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนของโรงเรียนหรือศูนย์เด็กทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า กลุ่มโรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาล 2 ปี มีพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเกิดขึ้นสูงสุด และพฤติกรรมสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนในแต่ละกลุ่มโรงเรียนไม่มีความแตกต่างกันเลย จึงไม่สอดคล้องสมมติฐานที่ตั้งไว้ พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนในห้องเรียนที่เกิดขึ้นมากคือ นักเรียนเล่นกับเพื่อน, คุย กับเพื่อน (X̅ = 30.220) นักเรียนสั่ง, บอก, แนะนำ (X̅ = 14.077) พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนในห้องเรียนที่เกิดขึ้นน้อยคือ นักเรียนทำลายสิ่งของ (X̅ = 0.0482) นักเรียนโต้เถียงกัน, ค่ากัน (X̅ = 0.846) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนในห้องเรียนของโรงเรียนหรือศูนย์ทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า กลุ่มโรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็กมีพฤติกรรมทางสังคมเกิดขึ้นสูงสุด และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกัน มีพฤติกรรมเดียวที่มีความแตกต่างกันมีนัยสำคัญ (P < 0.05) คือนักเรียนเอาของเพื่อนมาทำหรือใช้โดยที่เพื่อนไม่อนุญาต, ก้าวก่ายสิทธิผู้อื่น โรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็กมีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมสูงสุด (X̅ = 9.678) โรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาล 2 ปี มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมรองลงมา (X̅ = 5.146) และโรงเรียนที่จัดแบบศูนย์เด็กมีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมต่ำสุด (X̅ = 2.297) ดังนั้นจึงไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน กับ พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวก 38 คู่ และทางลบ 23 คู่
Other Abstract: The purposes of this research were to analyse teacher-pupil interaction and pre-schooler’s social behavior, and to compare the two variables among three groups of pre-school education agencies in the central region. The teacher-pupil interaction and pre-schooler’s social behavior. The subjects were 18 teachers and 180 pupils age 4-6 in 18 kindergartens and child centers agencies in the central region. They were devided into 3 groups : 6 kindergarten classes, 6 head – start classes, and 6 child centers. Ten students were randomly sampling for each of the 18 classes. The instruments used in this research were the observation pattern, composed of 42 items verbal and non-verbal interaction, modified form Flander’s interaction analysis category. The social behavior observation pattern, composed of 26 items was also constructed. The researcher collected data by observing and recording. The obtained data were analyzed to find out percentage of frequency, varience among 3 groups and relationship between teacher-pupil interaction and pre-schooler’s behavior, by using computer program SPSS (Statistical Packaged for the Social Science) with ANOVA and Crosstabulation subprogrammes. Result : The most frequent observed interaction behaviors were pupil’s verbal responses (X̅ = 206.285), silence (11.980) , teachers talked, explained, summarized, told, demonstrated, guided verbally and nonverbally (X̅ = 105.826), and teacher’s direct and indirect order (X̅= 95.165). The interaction occurred at low frequency were teacher’s non-verbal acceptance of pupils’ opinion (X̅= 0.587) and teacher’s praising (X̅ = 1.497). Teacher-pupil interaction behaviors which did not occurred at all were pupils’ verbal and non-verbal aggression and teachers’ acceptance of pupils’ feeling. The comparison of interaction behavior among the three groups of pre-schooling did not revealed any statistical significant difference in all catagories, eventhough the observed frequencies of interaction in the kindergarten classes were higher than the other two in general. On social behavior, the most frequent observed catagories wer playing and talking with peer (X̅ = 30.220), and directing, telling and guiding (X̅= 14.077). Breaking things and quarreling occurred at low frequencies (X̅ = 0.482 and X̅ = 0.846 repectively) The analysis of varience on social behavior showed a statistically significant difference at 0.5 level on using others’ belonging without permission, with X̅ = 9.678 in head-started classes, X̅ = 5.146 in kindergarten classes and X̅ = 2.297 in child centers. The relationship between interaction and social behaviors indicated that 38 pairs of them were positively related and 23 pairs were negatively related.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27571
ISBN: 9745612693
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aurapin_Pa_front.pdf704.54 kBAdobe PDFView/Open
Aurapin_Pa_ch1.pdf608.26 kBAdobe PDFView/Open
Aurapin_Pa_ch2.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Aurapin_Pa_ch3.pdf428.47 kBAdobe PDFView/Open
Aurapin_Pa_ch4.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Aurapin_Pa_ch5.pdf890.5 kBAdobe PDFView/Open
Aurapin_Pa_back.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.