Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35276
Title: การติดตามผลบัณฑิตศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีการศึกษา 2525
Other Titles: A follow up study of the graduates of Sukhothai Thammathirat open university, the school of educational studies, academic year 1982
Authors: เมธี ปิยะคุณ
Advisors: ธิดารัตน์ บุญนุช
ทองอินทร์ วงศ์โสธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: บัณฑิต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช -- หลักสูตร
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพด้านการปฏิบัติงานของบัณฑิต ศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน และการนำความรู้ไปใช้ และเปรียบเทียบผลการประเมินตนเองของบัณฑิตที่ศึกษาในวิชาเอกต่างกันในด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่บุคลิกภาพ ทัศนคติต่อวิชาชีพและมนุษยสัมพันธ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง (2 ปี) รุ่นแรกที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2523 และสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2525 รวม 7 วิชาเอก คือ วิชาเอกปฐมวัยศึกษา วิชาเอกประถมศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษา วิชาเอกภาษาไทย วิชาเอกวิทยาศาสตร์ วิชาเอกคณิตศาสตร์ และวิชาเอกบริหารการศึกษา จำนวนทั้งหมด 796 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. บัณฑิตสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ร้อยละ 84.90 ปฏิบัติงานทางด้านการสอนบัณฑิตส่วนใหญ่ศึกษาวิชาตรงกับงานที่ปฏิบัติ และมีประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่ 0-5 ปี โดยคิดว่าจะยึดอาชีพทางการสอนเป็นอาชีพตลอดไป ซึ่งบัณฑิตเหล่านี้มีรายได้สูงกว่าปกติ และค่าใช้จ่ายในระหว่างที่ศึกษาไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตโดยทั่วไป 2. บัณฑิตมีความพอใจมากต่องานประจำที่ปฏิบัติอยู่ เนื้อหาวิชาของหลักสูตรในแขนงวิชาที่ศึกษา มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ดี และกลุ่มวิชาชีพเป็นกลุ่มวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตมากที่สุด สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของบัณฑิต ได้แก่ การขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน รองลงมาได้แก่ การไม่พอใจระบบการบริหารงาน 3. การเปรียบเทียบผลการประเมินตนเองของบัณฑิตเกี่ยวกับคุณลักษณะ 4 ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ด้านบุคลิกภาพ ด้านทัศนคติต่อวิชาชีพ และด้านมนุษยสัมพันธ์ นั้น พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) อยู่ 2 ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่และด้านมนุษยสัมพันธ์ โดยคุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่นั้น บัณฑิตวิชาเอกสังคมศึกษามีความคิดเห็นตามการประเมินตนเองของบัณฑิตแตกต่างกับบัณฑิตวิชาเอกภาษาไทย และบัณฑิตวิชาเอกคณิตศาสตร์ ในเรื่องความรอบรู้ทั่วไป และบัณฑิตวิชาเอกบริหารการศึกษา มีความคิดเห็นตามการประเมินตนเองของบัณฑิตแตกต่างกับบัณฑิตทุกวิชาเอก ในเรื่องความรู้และเข้าใจในงานบริหารการศึกษา นอกจากนี้บัณฑิตวิชาเอกสังคมศึกษา มีความคิดเห็นตามการประเมินตนเองของบัณฑิตแตกต่างกับบัณฑิตวิชาเอกภาษาไทย ในเรื่องความรู้ในการใช้อุปกรณ์การสอนได้อย่างเหมาะสมด้วย ส่วนคุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์นั้น บัณฑิตวิชาเอกบริหารการศึกษา มีความคิดเห็นตามการประเมินตนเองของบัณฑิตแตกต่างกับบัณฑิตวิชาเอกคณิตศาสตร์ ในเรื่องความสามารถเป็นผู้นำที่ดี
Other Abstract: The purpose of this research was to study the successes in work performances of graduates, and to study the opinions of the graduates toward their own work performances, and their applications of knowledge, and to compare the self evaluation of graduates of different majors regarding to their knowledges and capabilities in the performances of their duties, personalities, their professional attitudes, and personal sociability. The sampling used in this research were graduates of the two-year program of bachelor’s degree in Education of Sukhothaithammathirat University who completed their studies in the 1982 academic year. The group studied included seven major subjects : kindergarten education, elementary education, social studies, the Thai language, science, mathematics, and educational administration. A total of 796 graduates were surveyed by using questionnaires as a research tool. The results of the research show that : 1) Most of the graduates in Education involved in teaching profession 84.90 percent. The majority of graduates studied subjects relevant to their future career have work experience of 0-5 years and expect to continue their teaching profession for the rest of their careers. Graduates of this group have salaries higher than bachelor’s degree scales and their expenses during their studies are not the obstacles to their general way of life. 2) The graduates are very satisfied with their works. The curriculum, subject content, and the areas of concentration they studied is appropriate, and they are beneficial for their work performances. Professional area subjects which are very useful for work performances and their way of life concerning problems and obstacles for graduates work performances are lack of motivation and enthusiasm in work performances, and dissatisfaction of the administrative system of their work. 3) The comparison of the results of graduates self evaluations concerning four characteristics knowledge and capability in work performance personality, professional attitudes, and human relations. It shows that there were important statistical differences (p<.05) in two categories which are knowledge and capabilities in work performances and in human relation. Regarding the characteristics of knowledge and capability in work performances graduates who majored in social studies have different self evaluations from graduates who majored in the thai language, and mathematics major regarding general knowledge. Graduates in educational administration have different self evaluations from graduates with other majors regarding Educational Administration. In addition, graduates with social studies major also have different self evaluations from thai majors regarding to the proper use of teaching materials. As for human relation, educational administration majors have different self evaluations from mathematics majors regarding to their leadership abilities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35276
ISBN: 9745644897
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maetee_pi_front.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open
Maetee_pi_ch1.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open
Maetee_pi_ch2.pdf24.16 MBAdobe PDFView/Open
Maetee_pi_ch3.pdf5.21 MBAdobe PDFView/Open
Maetee_pi_ch4.pdf21.34 MBAdobe PDFView/Open
Maetee_pi_ch5.pdf17.67 MBAdobe PDFView/Open
Maetee_pi_back.pdf18.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.