Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62849
Title: เตาหุงต้มเพื่อใช้กับถ่านหินอัดก้อน
Other Titles: Cooking stoves for coal briquettes
Authors: สุชาติ อารีรุ่งเรือง
Advisors: สมชาย โอสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เตา
ถ่านหินอัดก้อน
ความร้อน -- การถ่ายเท
การใช้พลังงาน
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์การถ่ายเทความร้อน ศึกษาลักษณะและความสะดวกในการใช้งานในเตาอั้งโล่ เปรียบเทียบระหว่างถ่านไม้และถ่านหินอัดก้อน เพื่อเป็นแนวทางนำถ่านหินอันก้อนมาใช้ทดแทนถ่านไม้ การทดลองใช้เตาแบบและขนาดที่นิยมใช้ 3 ขนาด คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 24, 27 และ 30 เซนติเมตร พบว่าการถ่ายเทความร้อนในเตาหุงต้มในส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ และส่วนที่สูญเสียความร้อนในส่วนต่าง ๆ คือ ผนังเตาโดยรอบ ช่องลมด้านหน้า ช่องระหว่างก้นภาชนะและขอบเตา และจากการสะสมความร้อนในตัวเตา เมื่อใช้ถ่านไม้และถ่านหินอัดก้อนมีค่าใกล้เคียงกันมาก มีผลให้ประสิทธิภาพอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 30 – 33 ของปริมาณความร้อนที่ให้จากเชื้อเพลิง การสูญเสียความร้อนส่วนใหญ่จากช่องว่างระหว่างก้นภาชนะกับขอบเตามีค่าสูง ประมาณร้อยละ 50 ของปริมาณความร้อนที่ให้จากเชื้อเพลิง การสูญเสียด้านอื่น ๆ มีค่าน้อย ในด้านการศึกษาลักษณะและความสะดวกในการใช้งาน พบว่าเตาอั้งโล่รูปแบบเดิมสามารถใช้กับถ่านหินอัดก้อนได้ แต่จะต้องดัดแปลงรังผึ้งให้มีลักษณะเป็นตะแกรงเหล็กที่มีพื้นที่ช่องว่างมากกว่าเดิม เพื่อความสะดวกในการเขี่ยเถ้าจากห้องเผาไหม้ระหว่างการใช้งาน ตัวแปรที่มีผลต่อประสิทธิภาพคือ ความสูงของเชิงเทินเมื่อลดลง ประสิทธิภาพจะสูงขึ้น ค่าที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 0.7 – 1.1 เซนติเมตร ขนาดของช่องลมด้านหน้าและความหนาของรังผึ้งไม่มีผลต่อประสิทธิภาพ ขนาดของภาชนะควรจะใหญ่กว่าเตาเล็กน้อย ปริมาณน้ำที่ใช้จะมีผลต่อประสิทธิภาพเล็กน้อย ปริมาณถ่านหินอัดก้อนที่ใช้ควรใส่ประมาณ 2/3 ของปริมาตรห้องเผาไหม้ สำหรับชนิดของภาชนะหุงต้ม เข่น กาต้มน้ำ กระทะ หม้อแขก จะมีประสิทธิภาพการใช้งานต่างๆ กันไป เมื่อเทียบกับการใช้หมออลูมิเนียมและเมื่อนำถ่านหินอัดก้อนที่มีค่าความร้อนต่างๆ กันระหว่าง 3,100 – 4,300 แคลอรี/กรัม (ไม่รวมความชื้น) มาทดสอบการใช้งาน พบว่าประสิทธิภาพและการสูญเสียความร้อนจากส่วนต่างๆ ใกล้เคียงกัน จึงสรุปได้ว่าเตาอั้งโล่แบบเดิมสามารถนำมาใช้งานกับถ่านหินอัดก้อนได้ โดยมีการดัดแปลงรังผึ้งให้สะดวกต่อการเขี่ยเถ้า ถ้ามีความจำเป็น และอาจทำการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพการใช้งานสูงขึ้นได้บ้าง
Other Abstract: This research work is concerned with the analysis of heat transfer and the characteristics of traditional Thai bucket stove, employing wood charcoal and coal briquettes made from coal fines. The result will indicate the possibility of wood charcoal substitution by coal briquettes. In the experiment, three traditional bucket stoves with outer diameter of 24, 27 and 30 centimeters were used. Heat transfer in the stove while burning coal briquettes and charcoal was analysed and compared. It is found that efficiency and heat loss from certain parts of the stove, i.e. stove wall, air inlet door, air outlet gap and accumulation in the stove, are not different. Stove efficiency is about 30-33 % of total heat from combustion. Heat loss from exhaust gap is the largest item, which is 50 % of total heat from combustion. In studying characteristics and convenience in using, the results indicate that original bucket stove can be used with coal briquettes but the grate should be replaced by an iron grate, having larger opening area than the former earthenware grate, to facilitate poking. When the height of the prongs was lowered, the efficiency increased. The optimum height is between 0.7-1.1 centimeter. The size of air inlet door and the thickness of the grate do not affect efficiency. The size of aluminum pot should be a little bigger than the size of the stove to get high efficiency. The amount of water has little effect on efficiency. The optimum amount of coal briquettes should fill up about 2/3 of combustion chamber volume. For other types of cooking utensils, e.g. kettles, woks and Indian pots, the efficiency obtained is different from that of aluminum pot. The experiment with coal briquettes of various heating values, between 3,100-4,300 cal/g (dry basis), showed about the same efficiency and heat losses. All in all, it can be concluded that the original bucket stove can be used with coal briquettes but its grate should be improved for ease of poking, if necessary, and that the stove efficiency can be improved to a certain extent.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62849
ISBN: 9745671975
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchart_ar_front_p.pdf18.49 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ar_ch1_p.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ar_ch2_p.pdf42.15 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ar_ch3_p.pdf22.76 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ar_ch4_p.pdf43.71 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ar_ch5_p.pdf7.27 MBAdobe PDFView/Open
Suchart_ar_back_p.pdf22.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.