Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64559
Title: คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดตารางการผลิต ภายใต้เงื่อนไขการผลิตที่เหมาะสม ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
Other Titles: Computer aided scheduling under appropriate constraints in electronics manufacturing
Authors: นภาพร รีวีระกุล
Advisors: ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสคร์
Subjects: การกำหนดลำดับงาน -- การประมวลผลข้อมูล
การวางแผนการผลิต
Scheduling -- Data processing
Production planning
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดตารางการผลิต โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดลำดับงานภายใต้เงื่อนไขการผลิตที่เหมาะสม สำหรับโรงงานกรณีศึกษา ซึ่งเป็นโรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า โดยจากสภาพปัญหาในการวางแผนที่ยังขาดข้อมูลสนับสนุนในด้านการผลิต เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาในการวางแผนการผลิต และข้อจำกัดที่ต้องคำนึงมากมาย รวมทั้งเวลาที่ใช่ในการวางแผนแต่ละครั้งที่มีการวางแผนสูญเสียไปค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงประยุกต์ใช้หลักการจัดตารางการผลิตภายใต้ หลักเกณฑ์การผลิต ที่เหมาะสมกับโรงงานกรณีศึกษา โดยอาศัยโปรแกรม Microsoft Visual Basic 6.0 Enterprise Edition ร่วมกับการจัดการฐานข้อมูลของ Microsoft Access 97 เป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผน และจัดลำดับงาน โดยแนวคิดของโปรแกรมวางแผนการผลิต คือ การนำแนวคิดของผู้วางแผนมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างลำดับในการประมวลผล ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างส่วนที่ช่วยในการตรวจสอบกำลังการผลิตของคน และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของแผนการผลิตที่สอดคล้องกันกับสภาวะในการทำงาน และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยหลักเกณฑ์ในการจัดตารางการผลิตที่นำมาพิจารณาประกอบด้วย 1. ข้อจำกัดของสายการผลิตที่เป็นเงื่อนไขในการผลิตของแต่ละผลิตภัณฑ์ 2. ขนาดของแกน El ในแต่ละโมเดล โดยจัดเรียงให้มีขนาดที่ใกล้เคียงกันที่สุด 3. การใช้เครื่องมือร่วมกัน ซึ่งทำให้บางโมเดลผลิตพร้อมกันไม่ได้ในบางสถานการณ์ 4. ช่วงเวลาที่เป็น Available Time ซึ่งพิจารณาไต้จาก 3 หัวข้อข้างต้น 5. พิจารณาการวางแผนการผลิตโดย พยายามไม่ให้เลยวันกำหนดส่งของงาน ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมวางแผนการผลิตนี้เหมาะสมกับการวางแผนการผลิตในครั้งแรก เพื่อเป็นตัวต้นแบบในการสร้างแผนการผลิตในครั้งต่อไป เนื่องจากเมื่อทบทวนแผนการผลิต จะทำให้แผนการผลิตที่ได้ใหม่ถูกเลื่อนวันกำหนดส่งจำนวนหลายงานต่อเนื่องกัน ซึ่งงานที่อยู่หลังช่วงวันที่กำหนดให้เริ่มต้นวางแผนใหม่ จะถูกจัดตำแหน่งใหม่ทั้งหมด และเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานเดิมแล้ว สามารถลดเวลาทำงานลงได้ 12.9 ชั่วโมงทำงาน หรือ 1.44 วัน ต่อครั้งที่มีการวางแผน และส่งผลให้ฝ่ายจัดซื้อ มีการ เตรียมเอกสารสั่งซื้อไต้เร็วขึ้น 1.44 วันอีกด้วย
Other Abstract: The purpose of this study is to increase efficiency in scheduling by computer aided schedule under appropriate constraints in manufacturing for transformer factory. Because of insufficient data to be supported planning, having many considered constraints, and also spending waste time to create new schedule report, implementation of computer aided scheduling under appropriate constraints in transformer manufacturing is applied. This program was created by Microsoft Visual Basic 6.0 of Enterprise Edition together with Microsoft Access 97 for database management. The concept of scheduled program is brought from planner logistic in order to create logic for manipulation of scheduling and planning jobs. Besides, the researcher creates capacity requirement planning of manpower and terminal crimping jig. Therefore, constraints of scheduling criteria consist of production line constraints of each model. 1. Scheduling different sizes of El core in each model. 2. Corporate tools are used for manipulation, leads to model cannot produce at the same time in some circumstances. 3. Considering “available time” to evaluate from point 1-3. 4. Considering suitable production planning to avoid late shipment. This study found that schedule program is suitable for initial production planning in order to be a prototype for next production step. Since, planning revision affects many late shipment jobs, by adding new jobs to relocate all jobs after new planning applies. Moreover, using this program can reduce working hours to 12.9 or 1.44 days per each time. As a result, preparing purchase requisition will be faster about 1.44 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64559
ISBN: 9740304583
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Napaporn_re_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ879.53 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_re_ch1_p.pdfบทที่ 1774.25 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_re_ch2_p.pdfบทที่ 21.15 MBAdobe PDFView/Open
Napaporn_re_ch3_p.pdfบทที่ 31.14 MBAdobe PDFView/Open
Napaporn_re_ch4_p.pdfบทที่ 4997.18 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_re_ch5_p.pdfบทที่ 53.24 MBAdobe PDFView/Open
Napaporn_re_ch6_p.pdfบทที่ 61.38 MBAdobe PDFView/Open
Napaporn_re_ch7_p.pdfบทที่ 7826.51 kBAdobe PDFView/Open
Napaporn_re_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก6.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.