Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65927
Title: การปรับตัวของสื่อพื้นบ้านโนราในสังคมไทย
Other Titles: The adaptation of Nora "a traditional media" in Thai society
Authors: นิธิมา ชูเมือง
Advisors: อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต
Advisor's Email: Ubolwan.P@Chula.ac.th
Subjects: โนรา
สื่อพื้นบ้าน--ไทย
Nora (Thai dance drama)
Dance—Thailand
Theater—Thailand 
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรับตัวของสื่อพื้นบ้านโนรา เพื่อศึกษาการปรับรูปแบบและเนื้อหาของสื่อพื้นบ้านโนรา และเพื่อศึกษาผลของการปรับตัวของสื่อพื้นบ้านโนราในปัจจุบัน ซึ่งเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกนายโรงโนรา จำนวน 9 คน นางรำจำนวน 9 คน นักวิชาการท้องถิ่นจำนวน 3 คน ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลจากการวิจัยครั้งนี้พบว่า การแสดงโนราในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ โนราโรงครู และโนราแสดง ในปัจจุบันโนราแสดงเป็นโนราที่มีการปรับตัว โดยปรับเป็น โนราโบราณ โนราสมัยใหม่ และโนราประยุกต์ เหตุปัจจัยที่ ทำให้โนราแสดงมีการปรับตัว ได้แก่ การเข้ามาของสื่อสมัยใหม่ ความนิยมของคนดู และรายได้ของโนรา การปรับตัวของสื่อพื้นบ้านโนราในปัจจุบันเป็น วัฒนธรรมแบบที่เกิดขึ้นใหม่ จากการผสมผสานวัฒนธรรมของการแสดงโนราที่ตกค้างจากอดีตและวัฒนธรรมหลัก ได้แก่ การแสดงละครแบบสมัยใหม่ และการแสดงดนตรีลูกทุ่ง ในส่วนการปรับรูปแบบของการแสดงเป็นการตัดทิ้ง และลดทอน วัฒนธรรมของการแสดงโนรา รวมทั้งแทนที่ และต่อเติมด้วยวัฒนธรรมหลัก ในส่วนการปรับเนื้อหาพบว่า มีการปรับเนื้อหาในด้านบทกลอน ที่เป็นกำพรัดและมุตโต โดยการตัดทิ้งเนื้อหาเดิม นำเนื้อหาที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันมาแทนที่ เนื้อหาของการแสดงเรื่อง เป็นการนำเสนอด้วยเนื้อหาแบบละครสมัยใหม่ และการนำเนื้อหาการแสดงเรื่องแบบโบราณกลับมาใช้ นอกจากนั้นยังพบว่า สื่อพื้นบ้านโนราในปัจจุบันมีบทบาทในการให้การศึกษา แจ้งข่าวสาร ให้ความบันเทิง และวิพากษ์วิจารณ์สังคม ผลของการปรับตัวของโนราแสดงแต่ละลักษณะในปัจจุบันมีความแตกต่าง 4 ประการ ในเรื่อง กลุ่มเป้าหมาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนดูต่างกัน ความลึกซึ้งในการลังสอน และคุณค่าทางนาฏลักษณ์ในแบบโนรา ผู้วิจัยพบว่า แม้โนราโบราณ โนราสมัยใหม่ และโนราประยุกต์มีการปรับตัวในด้านรูปแบบและเนื้อหา แต่อย่างไรก็ตามโนราเหล่านี้ก็ยังคงองค์ประกอบหลักของการแสดงโนรา ได้แก่ การร้อง การรำ และการทำบท อันเป็นเอกลักษณ์ของการแสดงโนราเอาไว้ เพื่อมุ่งสื่อสารจากโนราไปยังคนดู โนราในปัจจุบันยังคงปรับตัวและอยู่รอดได้ไนสังคมไทย เนื่องจากความเชื่อเกี่ยวกับครูหมอโนรา และความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมโนราโรงครู ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสืบทอดการแสดงโนราสู่ลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไป
Other Abstract: This research aims at studying the causes of recent adaptation of “Nora" traditional media, studying the recent adaptation of “Nora" traditional media in terms of form and content, and studying the results of the adaptation. It is a qualitative research employing in-depth interviews with 9 “Nora" masters, 9 “Nora” performaners, 3 local scholars, who live in the area of Nakorn Srithammarat, Songkhla, and Pattalung provinces. In addition, both participant observation and non-participant observation were used. It is found that there are two types of “Nora" performance, to wit “Nora Rong Khru” (Performing “Nora" for doing ritual) and “Nora Sadaeng" (Performing “Nora” for entertaining). “Nora Sadang" is an adapted “Nora" performance in contemporary Thai society. There are three sub-categories of this performance, namely “Nora Boran” (Ancient/Classical Nora), “Nora Samai Mai" (Modern Nora), and “Nora Prayuk" (Applied Nora). Three causes of the recent adaptation of "Nora” traditional performance include the coming of new media, audience's favor, and income. The recent adaptation of Nora traditional media is an emergent culture combining between the residual "Nora" performance and dominant cultures that are modern drama and “Luk Thung" (country music) musical performance. In term of the form adaptation, the adaptation includes the truncation and reduction of the traditional elements of Nora performance and the substitution and addition of mainstream cultural elements. In terms of the content adaptation, the original contents in the part of poems are truncated and substituted by contents of current situations. Regarding the contents in the play part, there are substitution of modern drama content and revival of traditional performing content. Additionally, it is revealed that “Nora” traditional media currently functions in educating, informing, entertaining, and social criticizing. There are four consequences of the recent adaptation of “Nora" traditional media. Firstly, each subtype of “Nora Sadaeng” has different target groups, different interrelation between the performers and the audience, different profound degree of education and different value in “Nora” dramatic arts. The findings also indicate that in the current adaptation of the three types of “Nora Sadaeng", the main elements of Nora performance such as singing, dancing, and “Tambot" (the improvised dance from poems interpreting) are still preserved. These are significant and unique elements of Nora performance as well as the communication via the performance. In addition, the basic factors of the survival of the current "Nora" traditional media in Thai society include beliefs about Nora masters and beliefs about rituals in “Nora Rong Khru” These beliefs function as keys for the preservation of “Nora" performance for new generations.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65927
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.431
ISBN: 9741707371
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.431
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nithima_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ784.91 kBAdobe PDFView/Open
Nithima_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1902.39 kBAdobe PDFView/Open
Nithima_ch_ch2_p.pdfบทที่ 22.03 MBAdobe PDFView/Open
Nithima_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3712.76 kBAdobe PDFView/Open
Nithima_ch_ch4_p.pdfบทที่ 42.41 MBAdobe PDFView/Open
Nithima_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.51 MBAdobe PDFView/Open
Nithima_ch_ch6_p.pdfบทที่ 6892.83 kBAdobe PDFView/Open
Nithima_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.