Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66728
Title: วิเคราะห์เปรียบเทียบเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงพญาโศก สามชั้น : กรณีศึกษาศิษย์สายพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
Other Titles: analysis of ranad tum in phayasok song : a case study of the disciples of phayaprasanduriyasub (Plak prasansub)
Authors: อัศนีย์ เปลี่ยนศรี
Advisors: บุษกร สำโรงทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bussakorn.S@Chula.ac.th
Subjects: ระนาด
เพลงพญาโศก
Gamelan
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่อง วิเคราะห์เปรียบเทียบเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงพญาโศก สามชั้น : กรณีศึกษาศิษย์สายพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและบริบทเพลงพญาโศก สามชั้น ตลอดจนวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะทางเดี่ยวระนาดทุ้ม เพลงพญาโศก สามชั้น ศิษย์สายพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) โดยเลือกศึกษาจาก 3 ทางประกอบด้วยทางขุนบรรจงทุ้มเลิศ (ปลั่ง ประสานศัพท์) ทางหลวงชาญเชิงระนาด (เงิน ผลารักษ์) และทางพระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ วาทิน) ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการรวบรวมเอกสาร ถอดโน้ตเพลงจากแถบบันทึกเสียง การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง และผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ในการบรรเลงทางเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงพญาโศก สามชั้น ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงพญาโศก สามชั้น ทั้ง 3 ทาง มีลักษณะสำนวนกลอนที่ยังคงเป็นแบบโบราณ ส่วนใหญ่ดำเนินทำนองโดยยึดทำนองหลักในเที่ยวแรก เที่ยวหลังจึงเริ่มมีการดำเนินทำนองโดยใช้กลวิธีพิเศษต่างๆ มากขึ้นตามลำดับ เน้นน้ำหนักมือและความชัดเจนของเสียงเป็นสำคัญ สำนวนกลอนมีทั้งสุภาพเรียบร้อย โลดโผน จังหวะรุกเร้า สนุกสนาน ผสมผสานการใช้กลวิธีพิเศษต่างๆ ที่สามารถดำเนินทำนองได้อย่างมีระเบียบ และกลมกลืนกันอย่างพอดี สะท้อนถึงการบรรลุความเป็นศิลปะขั้นวิจิตรอย่างแท้จริง
Other Abstract: The research paper “A Comparative Analysis and of Ranad Tum in Phayasok song : A Case Study of the Disciple of Phayaprasanduriyasub (Plak Prasansub)” deals with the history of “Phleng Phayasok”, one of the most outstanding Thai classical songs. It also analyzes and compares a solo performance of Phleng Phayasok played on a ranad tum, a low pitch Thai xylophone with 17 bamboo bars that is commonly used in a Pipat Ensemble. The tree ranad tum styles include first Thang Khun Banchong Tumlert, second Thang Luang Cherng Ranad and Thang Pra Part Banlengrom. Most of them are outstanding ranad tum soloists. The composers have used Phleng Phayasok for a solo performance and each one made quite a different “Thang”; the various arrangement of musical styles. The result of the analysis shows that the composition of the tree ranad tum styles uses great technical mullet movements. The most important finding is that the tree ranad tum styles reflect the great composition of Thai classical music.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66728
ISBN: 9741750102
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Assanee_pl_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ935.85 kBAdobe PDFView/Open
Assanee_pl_ch1_p.pdfบทที่ 11.04 MBAdobe PDFView/Open
Assanee_pl_ch2_p.pdfบทที่ 21.41 MBAdobe PDFView/Open
Assanee_pl_ch3_p.pdfบทที่ 35.28 MBAdobe PDFView/Open
Assanee_pl_ch4_p.pdfบทที่ 45.75 MBAdobe PDFView/Open
Assanee_pl_ch5_p.pdfบทที่ 51.07 MBAdobe PDFView/Open
Assanee_pl_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.