Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67323
Title: ดรสาแบหลา
Other Titles: Dorasa Bae-La Dance
Authors: นฤมล ณ นคร
Advisors: สวภา เวชสุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Savapar.V@Chula.ac.th, Anukulcu@Hotmail.com
Subjects: นาฏศิลป์
การรำ
การฆ่าตัวตาย -- พิธีกรรม
การฆ่าตัวตายในวรรณคดี
Dramatic arts
Dance
Suicide -- Rituals
Suicide in literature
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการแสดงกับพิธีกรรมของชวาในการแสดงละครในเรื่อง อิเหนา ตอน ดรสาแบหลา บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 โดยเลือกศึกษาการรำดรสาแบหลาประเภทรำเดี่ยว การวิจัยนี้ใช้วิธีศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์การสังเกตจากวีดิทัศน์ การฝึกหัด รวมทั้งประสบการณ์จากการแสดงของผู้วิจัย ผลการวิจัยพบว่าการรำเดี่ยวชุดดรสาแบหลาหรือรำกริชดรสาเกิดขึ้นในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เป็นการแสดงที่มีจุดมุ่งหมายในการสื่อเรื่องแนวความเชื่อของพิธีกรรมการฆ่าตัวตายด้วยกริช ที่เรียกว่า พิธีแบหลา ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ชวาได้รับแนวคิดนี้จากพิธีสตีของฮินดูอีกทอดหนึ่ง ด้วยเหตุนี้รูปแบบการแสดงจึงผสมผสานวัฒนธรรมฮินดู - ชวา รวมทั้งวัฒนธรรมราชสำนักไทยด้วยอีกแนวทางหนึ่ง เนื้อหาของพิธีกรรมพบจากวิถีชีวิตของคนในสังคมอินเดียโบราณ ซึ่งพิธีกรรมนี้วรรณกรรมไทยได้รับอิทธิพลจากชวาและนำมาถ่ายทอดในการแสดงละครในของกรมศิลปากร มีลักษณะร่วมกัน 3 ส่วนประกอบด้วยขั้นตอนแรก การเตรียมตัวตายได้แก่ การอาบน้ำและแต่งตัว ขั้นตอนที่สอง ก่อนฆ่าตัวตายจะสั่งลาผู้มีพระคุณ ญาติ หรือบริวาร ขั้นตอนสุดท้าย การฆ่าตัวตาย ด้วยการกระโดดเข้ากองไฟ เนื้อหาในพิธีกรรมดังกล่าวพบได้ในการแสดงละครและรำเดี่ยวของนางดรสาในเรื่อง อิเหนา โดยเฉพาะการรำเดี่ยวจะเน้นขั้นตอนก่อนฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตายเป็นส่วนสำคัญของการแสดง องค์ประกอบในการรำประกอบด้วยการคัดเลือกผู้แสดงที่มีทักษะแม่นยำทั้งกระบวนท่ารำ จังหวะ และที่สำคัญคือ มีปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นในขณะแสดง เพราะผู้แสดงต้องมีความชำนาญในการใช้อาวุธท่าต่างๆ และมีความแม่นยำในจังหวะเพลงหลายเพลงที่ผสมผสานระหว่างเพลงที่มีสำเนียงแขกและสำเนียงไทย มีการใช้อารมณ์แบบผสมผสานระหว่างอารมณ์อาลัยรัก โศกเศร้าเสียใจ และกล้าหาญเด็ดเดี่ยว การแต่งกายมี 2 แบบ คือ แบบยืนเครื่องนางและแบบชวา แต่นิยมแต่งแบบยืนเครื่องนาง เพราะแสดงแบบละครหลวงมากกว่าแบบชวา จากการศึกษากระบวนท่ารำทั้ง 3 ฉบับ พบว่า ลักษณะกระบวนท่ารำแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก เป็นการรำประกอบเพลงหน้าพาทย์ และรำตีบทเพื่อเดินทางเข้าสู่พิธี ช่วงกลางและช่วงท้ายเป็นการรำประกอบทำนองเพลงหลายเพลงเพื่ออวดชั้นเชิงการใช้อาวุธ ก่อนเข้าสู่พิธีกรรมฆ่าตัวตายโดยรำแบบถือกริชและแบบไม่ถือกริช ท่ารำประกอบด้วย ท่าเดี่ยว ท่าคู่ ท่าชุด และท่าเชื่อมลักษณะเด่นของท่ารำเน้นรำอาวุธที่แสดงพลังเข้มแข็งแต่ก็ไม่แข็งกร้าวจนเกินไปเพราะโครงสร้างร่างกายของตัวนางในการรำเปิดเข่า ย่อเข่า และกดเกลียวข้างช่วยให้ท่ารำอาวุธแลดูนุ่มนวลมากขึ้นกลวิธีการรำเน้นที่การใช้พลังส่วนแขนและมือกับส่วนขาและเท้า รำเวียนทางซ้ายแล้วหยุดรำจนครบ 4 ทิศ วิธีการรำในแต่ละฉบับจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดต่าง ๆ กล่าวคือ ลักษณะที่เหมือนกันได้แก่ ขั้นตอนการแสดงและท่ารำหลัก ลักษณะที่แตกต่างกัน ได้แก่ ลำดับและปริมาณเพลง ลำดับและปริมาณท่ารำ และทิศทางการยืนหันหน้าเข้าสู่พระเมรุ โดยมีทั้งการยืนหันลำตัวเข้าหาพระเมรุ การยืนหันข้างเข้าสู่พระเมรุ และการยืนหันหลังให้พระเมรุ มีการใช้สายตามองไปที่จุดใดจุดหนึ่งเพื่อให้สัมพันธ์กับท่ารำและพิธีกรรม ความแตกต่างดังกล่าวมาจากปัจจัยด้านโอกาส เวลา และสถานที่แสดง ส่วนลีลาการรำจะมีกลวิธีการใช้ศีรษะ ไหล่ ลำตัว มือ และเท้าที่แตกต่างกันบ้างตามภูมิหลังและประสบการณ์ของผู้แสดง นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รำดรสาแบหลาเป็นการแสดงที่ไม่ค่อยนิยมนำมาแสดงกันมากนัก เพราะแนวคิดของการแสดงนำเสนอการฆ่าตัวตายซึ่งไม่เป็นสิริมงคลต่อสังคม อย่างไรก็ดีการแสดงชุดนี้นับว่ามีคุณค่าต่อสังคมไทยอย่างยิ่ง เพราะเป็นงานที่บ่งบอกถึงมิติทางประวัติศาสตร์นาฎยศิลป์ของชนชาติไทยได้อย่างชัดเจน อีกทั้งนาฎยลักษณ์แบบหลวงชั้นสูงอันโดดเด่นของงานทำให้สถาบันการศึกษาอุดมศึกษานำไปใช้สอนในหลักสูตรและใช้ประโยชน์ด้านนาฎยประดิษฐ์ได้อีกด้วย
Other Abstract: This thesis aims to study the association between a Javanese ritual suicide and a form of dance performed in the Dorasa Baela scene of Inao, a classical drama written by King Rama II. A series of solo dances from this scene is singled out for study through documentary research, interviews, video tape observation, and personal experiences that the researcher gained from her training and performing of this particular dance. The research found that Dorasa Baela or Kris Dorasa solo dance was first created in the early Rattanakosin period to portray the Baela rite, a Javanese ritual suicide by kris (a short sword) derived from the Hindu ritual of Sati. The dance is a mixture of the Hindu-Javanese and Thai court cultures. The essence of Baela rite, which was part of the traditional lifestyle of ancient Indian society, as depicted in Javanese-influenced Thai literature and the Fine Art Department's Lakhon Nai dances can be divided into three parts. The first one relates a ritual preparation for death through the acts of bathing and getting dressed while the second one portrays a pre-suicidal ritual where the character committing suicide bids farewell to her benefactors, relatives, and entourage. The third part involves an act of suicide by jumping into a bonfire. In Inao drama, this ritual suicide is displayed in the solo dances performed by the female character called Dorasa with a special emphasis on the pre-suicide and suicide phases of Baela rite. Baela dancer is generally selected for her expert dancing and rhythm recognition skills. She must be able to make impromptu adjustments during the performance, skillful in the use of kris, well-versed with a combination of Indian and Thai musical rhythms, and capable of expressing various emotions required by the story which range from lovelorn melancholy to grief, sadness, and bravery. There are two styles of costume, Yeun Krueng Nang and Javanese; the former is preferred as the dance is often per-formed in the court drama style. A study of Baela dance movements revealed that three styles are used at different phases of the performance. During the initial phase when a trip to the ritual site is made two dance movements are employed: a dance performed to the Na Part song and Rum Teebot. Numerous songs and dance steps, designed to demonstrate the dancer's prowess in martial art prior to the suicide, appear in the second and third parts. The dances, performed with and without a kris in the Tha Deo, Tha Khu, Tha Chut, and Tha Chuem dance styles, are outstanding in their inclusion of weapon in an intense yet not overly aggressive dancing, softened by the dancer's female form as well as the characteristic rises, falls and sways of the body. Nevertheless, the emphasis is still on powerful movements of the arms, hands, legs, and feet with the dancer moving counter clockwise and pausing at each of the four major directions. In all versions, the dance movements are almost identical in terms of arrangement and primary movements. They differ only in finer details such as the number of songs and dance movements and the order in which they appear, the dancer's different stance toward the Phra Main (funeral pyre)-forward, sideway orbackward-, and the corresponding eye focuses at different dance movements and ritual phases. The abovementioned differences are determined by the occasion, timing, and venue of each performance. Head, shoulder, body, hand, and feet movements may also be influenced by the dancer's diverse background and dancing experience. Until now, Baela Dorasa Dance has rarely been performed because its subject of suicide is considered inauspicious. However, the dance is especially significant for its contribution to the understanding of the historical development of traditional Thai dances. The dance is included in the curriculum of many tertiary institutes for its unique style of classical court performance and choreography.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67323
ISBN: 9741770723
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narumal_na_front_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Narumal_na_ch1_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Narumal_na_ch2_p.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Narumal_na_ch3_p.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open
Narumal_na_ch4_p.pdf14.96 MBAdobe PDFView/Open
Narumal_na_ch5_p.pdf902.97 kBAdobe PDFView/Open
Narumal_na_back_p.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.