Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68539
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร ศุภพงษ์-
dc.contributor.advisorหัสลนี นุชประยูร-
dc.contributor.authorสุภาพรณ์ เชิดชัยภูมิ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-10-12T07:07:07Z-
dc.date.available2020-10-12T07:07:07Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743344187-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68539-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ ชุดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วน แบบแผนการบริโภค กิจกรรมที่ปฏิบัติและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ที่มีภาวะอ้วน และภาวะโภชนาการปกติ โดยแบ่งเป็นกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 435 คน รวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถามชั่งนี้าหนักและวัดส่วนสูง ผลการวิจัยพบว่า ภาวะอ้วนในบิดามารดา พี่น้องพ่อแม่เดียวกัน เครือญาติ อาชีพ ของบิดามารดาและรายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนอย่างมีนัยสำกัญทางสถิติ (p<0.01) ส่วนลำดับที่เกิด การศึกษาของบิดามารดา ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วน (p>0.05) ความรู้เกี่ยว กับภาวะอ้วน ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนในกลุ่มนักเรียน ระดับ ชัน ม.1-ม.3 (p>0.05) แต่มีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนในกลุ่มนักเรียน ระดับชั้น ม.4-ม.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ความถี่ในการบริโภคอาหารระหว่างมื้อก่อนนอนทั้งช่วงเปิดเรียนและปิดเรียน และความถี่ในการบริโภคอาหารมื้อเช้าและมื้อกลางวันช่วงเปิดเรียนมีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) กลุ่มภาวะอ้วนและภาวะโภชนาการปกติ ได้รับพลังงานจากการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงใน 1 สัปดาห์ แต่ละประเภทและรวมทุกประเภทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) กลุ่ม ภาวะอ้วนและภาวะโภชนาการปกติมีการใช้พลังงานในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ประเภทออกกำลังกาย เล็กน้อยถึงปานกลาง (ใช้พลังงานน้อยกว่า 2.26-3.85 กิโลแคลอรี่/1ชั่วโมง / น้ำหนัก 1 กิโลกรัม) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05) สำหรับการออกกำลังกาย (ใช้พลังงาน 3.86-5.98 กิโลแคลอรี่ / 1 ชั่วโมง / น้ำหนัก 1 กิโลกรัม) และการปฏิบัติกิจกรรม (ใช้พลังงานน้อยกว่า 2.26-5.98 กิโลแคลอรี่/ชั่วโมง / น้ำหนัก 1 กิโลกรัม มีการใช้พลังงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01)-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this cross-sectional analytical research were to study students’ knowledge concerning obesity, dietary patterns, activities and other factors related to obesity among Secondary School Grade 7-12 in Muang District, Chantaburi Province. The sample group was divided into study (obese) and referent (normal weight) group, with 435 students in each. The data were collected by using self-administered questionnaires, taking measurement of weight and height. It was found that: Obesity was significantly related to the obesity of parents and relatives, the parental career and the family income (p <0.01). However, it was not significantly related to the order of birth and parental education (p <0.05). Knowledge concerning obesity was not significantly related to obesity among the grade 7-9 students (p <0.05) but they were significantly related among the grade 10-12 students (p <0.01). The frequency of snack consumption before sleeping among both summer and semester period and that of breakfast and lunch in semester period were significantly related to obesity (p <0.01), Energy intake from high calorie food per week in obese students was significantly different from in normal. weight group by both each and total sources (p <0.01). By considering energy expenditure in a week; daily activities with little and medium exercise (<2.26-3.85 kcal / hr. / kg body weight) was not significantly different between obese group and normal weight group (p> 0.05), but it was significantly different for much exercise (3.86-5.98 kcal. / hr. / kg body weight and daily activities (<2.26-5.98 kcal / hr. / kg body weight) (p <0.01)-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectวัยรุ่น-
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค-
dc.subjectโรคอ้วน-
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วน ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี-
dc.title.alternativeFactors related to obesity among secondary school grade 7-12 in Muang District, Chantaburi province-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ชุมชน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_ch_front_p.pdf869.65 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ch_ch1_p.pdf902.48 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ch_ch2_p.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ch_ch3_p.pdf947.03 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ch_ch4_p.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ch_ch5_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ch_back_p.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.