Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71807
Title: การกำหนดนโยบายในระบบการเมืองไทย : ศึกษากรณีการแก้ไขวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้าน
Other Titles: Policy formulation in the Thai political system : a case study of the revision of village headmen's term of office
Authors: บุญเติม เรณุมาศ
Advisors: อนุสรณ์ ลิ่มมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การปกครองท้องถิ่น -- ไทย
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่บ้าน
นโยบายสาธารณะ
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาเรื่องการกำหนดนโยบายในระบบการเมืองไทย เพื่อต้องการให้รู้ว่า การกำหนดนโยบายในระบบการเมืองไทย มีขั้นตอนในการกำหนดนโยบายอย่างไร ปัจจัยใดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การกำหนดนโยบายประสบผลสำเร็จ หรือล้มเหลว และภายใต้สภาวะทางการเมืองที่แตกต่างกัน การกำหนดนโยบายมีขั้นตอนที่แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร และ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาถึงการแก้ใข พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 เรื่องการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านมาใช้ในการศึกษาเรื่องการกำหนดนโยบายของไทยจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า การกำหนดนโยบายของไทยนั้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การกำหนดนโยบายประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้แก่ ชนชั้นนำ ซึ่งก็คือ กลุ่มนักการเมือง กับกลุ่มข้าราชการนั่นเอง กล่าวคือ หากนโยบายใดที่กลุ่มข้าราชการ กับ กลุ่มนักการเมืองมีความเห็นสอดคล้องกัน แล้ว นโยบายนั้นมีแนวโน้มสูงมากที่จะถูกกำหนดมาใช้บังคับ แต่หากนโยบายใดที่กลุ่มข้าราชการกับกลุ่มนักการเมืองมืความเห็นขัดแย้งกันแล้ว โอกาสที่นโยบายนั้นจะมีผลใช้บังคับ ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ในช่วงเวลาขณะนั้น กลุ่มใดมีอิทธิพลทางการเมืองมากกว่ากัน หากกลุ่มใดมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือกว่านโยบายย่อมจะมีแนวโน้ม เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มนั้นการแก้ไขพระราชบัญญัติลักบณะปกครองท้องที่ เรื่องการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านนี้ เกิดขึ้นจากความขัดแย้งด้านแนวความคิดของกลุ่มนักการเมือง กับกลุ่มข้าราชการ โดยที่กลุ่มนักการเมืองมีแนวความคิดที่จะให้การปกครองระดับหมู่บ้านสอดคล้องกับการปกครอง ระดับประเทศ คือ ให้มีการเลือกผู้นำทุกระดับ และอยู่ในตำแหน่งเป็นวาระ แต่กลุ่มข้าราชการมีความเห็นที่ขัดแย้งว่าการกำหนดให้มีการเลือกผู้นำระดับหมู่บ้าน แม้ว่าจะสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่การกำหนดให้มีการเลือกผู้นำทุกระดับให้อยู่ในตำแหน่งเป็นวาระนั้น จะทำให้ขาดประสิทธิภาพในการบริหารงาน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในที่สุดจากความขัดแย้งดังกล่าว ทำให้ต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะผลักดันนโยบายให้เป็นไปในแนวทางที่ตนต้องการตามสถานการณ์ทางการเมืองในยุคต่าง ๆ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองที่มีแนวโน้มเป็นแบบเผด็จการนั้น กลุ่มนักการเมืองไม่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายแต่อย่างใด มีเพียงกลุ่มข้าราชการกับกลุ่มที่ครอบครองอำนาจทางการเมืองโดยการทำรัฐประหารเท่านั้น ที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย
Other Abstract: The objective of this thesis is to find out how the policy formulation in the Thai political system has been carried out under various political conditions and what factors contribute to Its success or failure. The revision of village headmen’s official term in the Local Administration Act is taken as a case study. It is discovered that the success or failure of the policy depended mainly on the interaction between the political and bureaucratic elites, i.e., politicians and bureaucrats under particular political condition. Conflicting ideas on the revision of village headmen’ ร official term during the democratic period led to their different standpoints on the issue. Although the politicians seem to gain an upper hand, they failed to put the law into effect. The passage and implementation of law, similar ill its content to the politicians’ idea 5 ironically were successfully carried out during the dictatorship period in which the military junta and bureacrats monopolized the policy - making role.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71807
ISBN: 9746347756
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonterm_ra_front_p.pdf825.57 kBAdobe PDFView/Open
Boonterm_ra_ch1_p.pdf759.67 kBAdobe PDFView/Open
Boonterm_ra_ch2_p.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Boonterm_ra_ch3_p.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Boonterm_ra_ch4_p.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Boonterm_ra_ch5_p.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Boonterm_ra_ch6_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Boonterm_ra_ch7_p.pdf892.09 kBAdobe PDFView/Open
Boonterm_ra_back_p.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.