Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72421
Title: การพัฒนาตัวตรวจสอบไวยากรณ์โปรแกรมภาษาโคบอล
Other Titles: Development of cobol pre-compiler
Authors: สันติ กีระนันทน์
Advisors: สมชาย ทยานยง
Advisor's Email: Somchai.Th@Chula.ac.th
Subjects: โคบอล (ภาษาคอมพิวเตอร์)
ภาษาคอมพิวเตอร์
COBOL (Computer program language)
Programming languages (Electronic computers)
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาตัวตรวจสอบไวยากรณ์โปรแกรมภาษาโคบอลนั้น พบว่าในทางปฏิบัติเป็นการจำลองแบบการสร้างส่วนการวิเคราะห์เลกซิเคิล และส่วนการตรวจสอบไวยากรณ์ของโปรแกรมภาษาโคบอล ซึ่งอาศัยหลักการที่สำคัญบางอย่างจากการสร้างตัวแปลโปรแกรม แต่เนื่องจากภาษาโคบอล เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่สร้างในยุคต้นของพัฒนาการรุ่นที่ 3 ของภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งยังไม่มีการสร้างหลักการบางอย่างของตัวแปลโปรแกรม เช่น การอธิบายไวยากรณ์ภาษาแบบ BNF (Bakus Naur Form) ทำให้ภาษาโคบอลค่อนข้างจะสร้างตัวแปลโปรแกรมในส่วนการวิเคราะห์เลกซิเคิล และการวิเคราะห์ความถูกต้องของไวยากรณ์ภาษาทำได้ยาก อันมีผลต่อเนื่องมาถึงการสร้างตัวตรวจสอบไวยากรณ์โปรแกรมภาษาโคบอลด้วย ในการวิจัย ได้แบ่งการพัฒนาตัวตรวจสอบไวยากรณ์โปรแกรมภาษาโคบอล เป็น 3 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์เลกซิเคิล, การวิเคราะห์ความถูกต้องของไวยากรณ์ภาษา การสร้างข่าวสารแสดงความผิดพลาด โดยในแต่ละส่วนถูกเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี Z-80 เพื่อใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ "ไทยทำ" ภายใต้ระบบปฏิบัติการ ซีพีเอ็ม-80
Other Abstract: Development of COBOL Pre-compiler is accomplished by model of compiler principle and construction especially in lexical analysis part and parsing part. Some awareness must be considered in COBOL language. As far as we know, COBOL was developed in the very beginning of the third generation of computer language development. At that time BNF (Backus Naur Form) had not been announced yet so it would rather be confusing if COBOL syntax will be defined in BNF manner. The stated problem leads to the difficulty in development of COBOL compiler especially in the part of lexical analysis and parsing which also impact the development of COBOL pre-compiler. By research, the development was divided into 3 parts: lexical analysis, parsing, and error message generation. All the programs are written in Assembly language for microprocessor Z-80 which is used as the CPU of microcomputer named ''THAI THUM" (which means created by Thai) under CPM-80, the most popular control program for 8-bit microcomputer.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72421
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.149
ISBN: 9745684759
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1987.149
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Santi_ki_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ976.1 kBAdobe PDFView/Open
Santi_ki_ch1_p.pdfบทที่ 1855.32 kBAdobe PDFView/Open
Santi_ki_ch2_p.pdfบทที่ 22.48 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ki_ch3_p.pdfบทที่ 33.25 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ki_ch4_p.pdfบทที่ 41.16 MBAdobe PDFView/Open
Santi_ki_ch5_p.pdfบทที่ 5670.77 kBAdobe PDFView/Open
Santi_ki_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก20.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.