Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12342
Title: การศึกษาตัวแปรคัดสรรที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในภาคเอกชน ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of selected variables affecting job satisfaction of trainers in private sector in Bangkok Metropolis
Authors: ศิริพร จันทรปาน
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: ความพอใจในการทำงาน
เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
การฝึกอบรม
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในภาคเอกชน (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรด้านสถานภาพส่วนตัว ด้านลักษณะงานและด้านหน่วยงานกับความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในภาคเอกชน และ (3) เพื่อศึกษาตัวแปรคัดสรรที่ร่วมกันอภิปรายความแปรปรวนของความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในภาคเอกชน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในภาคเอกชน ในกรุงเทพมหานครจำนวน 412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและแบบวัดความพึงพอใจ Minnesota Satisfaction Questionnaire (MSQ) ผลการวิจัยพบว่า 1. เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในหน่วยฝึกอบรมในภาคเอกชนในกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจในการทำงานในระดับมาก 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรกับความพึงพอใจในการทำงาน พบว่า (1) ระดับเงินเดือนมากกว่า 20,000 บาท (2) การได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงาน (3) ลักษณะงานที่ตรงกับสาขาที่เรียนและ (4) สวัสดิการที่ได้รับจากองค์กร เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และประสบการณ์ทำงาน 1-5 ปี เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติพบตัวแปรคัดสรร 8 ตัวที่มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 8 ตัว คือ (1) ความพร้อมด้านสถานที่ทำงาน วัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ทำงานในหน่วยงาน (2) ความภาคภูมิใจในงานที่ปฏิบัติ (3) ลักษณะงานตรงกับสาขาที่เรียน (4) ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงาน (5) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (6) ได้รับมอบหมายงานพิเศษจากผู้บังคับบัญชา (7) สวัสดิการที่ได้รับจากองค์กร และ (8) ลักษณะงานท้าทายความสามารถ กลุ่มตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจในการทำงานได้ร้อยละ 40.2 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกตัวทำนายที่ดีที่สุด พบตัวแปรคัดสรรที่มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 9 ตัว คือ (1) ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (2) สวัสดิการที่ได้รับจากองค์กร (3) ความภาคภูมิใจในการทำงานที่ปฏิบัติ (4) ผู้บริหารองค์กรให้การสนับสนุนการฝึกอบรมอย่างเต็มที่ (5) ได้รับมอบหมายงานพิเศษจากผู้บังคับบัญชา (6) ความพร้อมด้านสถานที่ วัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์ทำงานในหน่วยงาน (7) ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงาน (8) ลักษณะงานท้าทายความสามารถ (9) ลักษณะงานตรงกับสาขาที่เรียน และ (10) ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง กลุ่มตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจในการทำงานได้รัอยละ 34.2
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to study job satisfaction of trainers in private sector in Bangkok Metropolis (2) to study the relationships between selected variables : descriptive characteristics, job characteristics and training department characteristics and job satisfaction of trainers in private sector and (3) to identify predictor variables in job satisfaction of trainers in private sector. The subjects in the study were 412 trainers in private sector in Bangkok Metropolis. A research-designed questionnaire and Minnesota Satisfaction Questionnaire (MSQ) were used to gather data. The findings were 1. The trainers in private sector were highly satisfied with their job. 2. There were statistically significant positive relationships at .05 level between job satisfaction and the following selected variables: (1) salary upper than 20,000 bath; (2) being assigned a particular task to perform; (3) job descriptions congruence with educational field of study; and (4) increasing in high salary. There was statistically significant negative relationship at .05 level between job satisfaction and working experience between 1-5 years. 3. In Enter Multiple Regression Analysis, eight predictor variables together were able to account for 40.2% of the variance in job satisfaction. There were (1) the availability of facilities: rooms, materials, and equipment; (2) being proud of training duty; (3) job descriptions congruence with educational field of study; (4) being assigned a particular task to perform; (5) relationships between colleagues; (6) being assigned special training duty; (7) benefits from superior; and (8) a challenge of job to training ability. 4. In stepwise multiple regression analysis, nine predictor variables together were able to account for 34.2% of the variance in job satisfaction. There were (1) relationships between colleagues; (2) benefits from organization; (3) being proud of training duty; (4) training support from administrator; (5) being assigned special duty from superior; (6) the availability of facilities: rooms, materials, and equipment; (7) being assigned a particular task to perform; (8) a challenge of job to training ability; (9) job descriptions congruence with educational field of study; and (10) job promotion.
Description: วิยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12342
ISBN: 9743322485
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_Ja_front.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Ja_ch1.pdf648.67 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Ja_ch2.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Ja_ch3.pdf517.59 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Ja_ch4.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Ja_ch5.pdf884.34 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Ja_back.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.