Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21482
Title: อิทธิพลของความรัอนและความเย็นที่มีต่อการฝึกกล้ามเนื้อ
Other Titles: The influence of heat and cold on muscle training
Authors: เพ็ญจันทร์ ศรีสุขสวัสดิ์
Advisors: อวย เกตุสิงห์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความร้อน (40 ± 2°ซ. ) และ ความเย็น(10 ± 2°ซ.) ที่จัดให้ต่อการฝึกกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนโดยใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒบางแสน จำนวน 33 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 11 คน ฝึกออกกำลังกล้ามเนื้องอข้อมือในตู้ปรับอากาศ ตู้ปรับอากาศเย็น และ “ตู้อากาศธรรมดา” ด้วยการงอข้อมือ และ เหยียดข้อมือ 120 ครั้งต่อนาที โดยมีน้ำหนัก 40% ของ10 อาร์.เอ็ม.(10 R.M.) เป็นแรงต้าน ทำการฝึก 4 สัปดาห์ ๆ ละ4 วัน ๆ ละ 1 นาที เพิ่มน้ำหนักแรงต้านขึ้นอีก 12.5 % ของน้ำหนักที่ใช้อยู่เดิม ในสัปดาห์ต่อไป โดยเพิ่มทุกสัปดาห์ ทดสอบปริมาณงานที่ทำได้ ก่อนการฝึกและในวันที่ 5 ของทุก ๆ สัปดาห์ โดยใช้น้ำหนัก 50% ของ 10 R.M. เป็นแรงต้าน หยุดการทดสอบของผู้เข้ารับการฝึกแต่ละครั้งนั้น ในเมื่อปริมาณการทำงานลดลงเหลือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณงานที่ทำได้ในตอนตั้งต้น นำผลของการทดสอบไปหาค่าสถิติโดยการทดสอค่า “ที” (t-test)ผลการวิจัยพบว่า (1) อากาศแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการฝึกกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนของร่างกายมนุษย์ (2) สภาพอากาศที่ร้อนกว่าปกติให้ผลในเชิงส่งเสริมฝึก เห็นได้จากส่วนเพิ่มในความสามารถทำงานมีมากกว่าการฝึกในอากาศปกติ และอากาศเย็นกว่าปกติ (3) สภาพอากาศแวดล้อมที่เย็นกว่าปกติ และสภาพอากาศแวดล้อมปกติไม่ให้ผลการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the influence of local heating (40±2℃) and cooling (10±2 ℃) on the training of muscles. Thirty-three students from Prathom Suksa VI were divided into 3 groups of 11 subjects each. The students exercised the flexor muscles of the wrist (Flexors carp) while the fore-arm was enclosed in a box, the air inside which was either warmed by the heat emitted from electric light bulbs, or cooled by packing ice inside the box, or left at room temperature. A load equivalent to 40% of 10 R.M. was used, and the rate of contraction was 60 per minute. Each daily session lasted 1 minute, and training was conducted 4 days a week. The fifth day was used for testing. At the beginning of the following week the load was increased by 12.5 %. The training lasted 4 weeks. The test was conducted by asking the subject to flex the wrist loaded with 50% of 10 R.M. at 60 repetitions per minute until the amplitude was reduced to less than 50% of the starting amplitude. The total amount of work was done was calculated from the tracing and the load result of training was interpreted from the difference between the “work capacity” measured before starting training, and that measured at the last test. It was found that (1) the temperature of the enveloping air had an influence upon the result of the training; (2) Warmed air (40±2℃) favorably influenced the training than cooled air (10± 2℃) or air at room temperature, as seen from a greater increase in the “work capacity”. (3) Cooled air and at room temperature have about equal influence, i.e. with no statistically significant difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21482
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penchan_Sr_front.pdf503.64 kBAdobe PDFView/Open
Penchan_Sr_ch1.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Penchan_Sr_ch2.pdf658.97 kBAdobe PDFView/Open
Penchan_Sr_ch3.pdf506.63 kBAdobe PDFView/Open
Penchan_Sr_ch4.pdf563.74 kBAdobe PDFView/Open
Penchan_Sr_back.pdf579.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.