Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23472
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูสังคมศึกษาและนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอนสหกรณ์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: Opinions of administrators, social studies teachers and students concerning the instruction of cooperative in secondary schools
Authors: มณีรัตน์ บุญรักษา
Advisors: ลาวัณย์ วิทยาวุฒิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ผู้บริหาร -- ทัศนคติ
ครู -- ทัศนคติ
นักเรียน -- ทัศนคติ
สหกรณ์ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูสังคมศึกษาและนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอนสหกรณ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในด้านต่างๆ คือ การจัดโปรแกรมการเรียนการสอน การจัดสถานที่เรียน กิจกรรมการเรียนการสอน อุปสรรคและปัญหา ในการเรียนการสอน ความต้องการของผู้บริหาร ครูสังคมศึกษา และนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอน และบทบาทของสหกรณ์ต่อการศึกษาและการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนสหกรณ์ในโรงเรียนของผู้บริหารกับครูสังคมศึกษา และครูสังคมศึกษากับนักเรียน วิธีดำเนินการวิจัย คือ ผู้วิจัยได้สุ่มตัวอย่างประชากรโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล 20 แห่ง ในกรุงเทพมหานครที่มีการจัดกิจกรรมสหกรณ์แล้ว ส่งแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองไปยังผู้บริหาร จำนวน 40 คน ครูสังคมศึกษา จำนวน 60 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 400 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างประชากรแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าที (t-test) และนำเสนอในรูปตารางประกอบการอธิบาย ผลการวิจัย คือ 1) ผู้บริหาร ครูสังคมศึกษา และนักเรียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนสหกรณ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ 1.1) ด้านการจัดโปรแกรมการเรียนการสอน ทั้งครูสังคมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนและนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนสหกรณ์ในโรงเรียนด้านการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนเรื่องสหกรณ์เกือบทุกด้านอยู่ในระดับน้อย นอกจากเรื่องเนื้อหาความรู้ที่นักเรียนได้จากหนังสือสังคมศึกษาที่มีอยู่เท่านั้นที่ทั้ง 3 กลุ่ม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1.2) ด้านการจัดสถานที่เรียนในการเรียนการสอน ผู้บริหารโรงเรียนและนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดสถานที่เรียนในการเรียนการสอนเรื่องสหกรณ์อยู่ในระดับน้อย ส่วนครูสังคมศึกษามีความเห็นอยู่ในระดับปานกลางแต่ทั้งครูและผู้บริหารมีความเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับความเพียงพอของชั้นวางสินค้าที่ซึ่งจะมีผลต่อสภาพการเรียนการสอนในระดับปานกลาง ในขณะที่นักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับสหกรณ์ จัดสินค้าอย่างมีระเบียบ เพื่อความสะดวกแก่การมาศึกษาหาความรู้ของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง 1.3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ครูสังคมและนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนสหกรณ์ในโรงเรียนอยู่ในระดับน้อย ส่วนผู้บริหารโรงเรียนมีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง แต่ทั้งครูสังคมศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนมีความเห็นสอดคล้องกันในประเด็น ครูเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาเพียงผู้เดียวในระดับปานกลาง ในขณะที่นักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับครู บอกจุดมุ่งหมายของการเรียนเรื่องสหกรณ์ ให้นักเรียนทราบก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน 1.4) ด้านอุปสรรคและปัญหาในการเรียนการสอน ทั้งครูสังคมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนและนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรคและปัญหาในการเรียนการสอนเรื่องสหกรณ์ในโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ผู้บริหารโรงเรียนและนักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความคับแคบของสหกรณ์โรงเรียนระดับปานกลาง ในขณะที่ครูมีความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันอยู่ในระดับมาก 1.5) ด้านความต้องการของผู้บริหาร ครูสังคมศึกษา และนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอน ทั้งครูสังคมศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการเกี่ยวกับการเรียนการสอนสหกรณ์ของผู้บริหารโรงเรียน ครูสังคมศึกษา และนักเรียนอยู่ในระดับมาก ส่วนนักเรียนมีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง แต่ครูสังคมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อเรื่องความต้องการให้สหกรณ์โรงเรียนเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ ความต้องการเอกสาร ให้ความรู้เรื่องสหกรณ์มากขึ้น และความต้องการให้โรงเรียนจัดสรรงบประมาณให้สหกรณ์เพื่อนำมาปรับปรุงสหกรณ์โรงเรียนให้ดีขึ้น สอดคล้องกันในระดับมาก 1.6) ความต้องการด้านบทบาทของสหกรณ์ต่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน ครูสังคมศึกษาและผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการด้านบทบาทของสหกรณ์ต่อการศึกษาและพัฒนาชุมชนอยู่ในระดับมาก ส่วนนักเรียนมีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง แค่ครูสังคมศึกษา และผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการให้สหกรณ์โรงเรียนเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิชาสหกรณ์ในระดับมาก ส่วนนักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับความต้องการให้โรงเรียนจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสหกรณ์ เพื่อเผยแพร่กิจกรรมของสหกรณ์ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูสังคมศึกษาและนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอนสหกรณ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ปรากฏว่า 2.1) ด้านโปรแกรมการเรียนการสอน ครูสังคมศึกษาและผู้บริหารโรงเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ครูสังคมศึกษาและนักเรียน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2.2) การจัดสถานที่เรียน ครูสังคมศึกษาและผู้บริหาร มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ครูสังคมศึกษาและนักเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.3) กิจกรรมการเรียนการสอน ครูสังคมศึกษาและผู้บริหาร มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ครูสังคมศึกษาและนักเรียน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2.4) อุปสรรคและปัญหา ครูสังคมศึกษาและผู้บริหาร มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ครูสังคมศึกษาและนักเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.5) สภาพความต้องการของผู้บริหาร ครูสังคมศึกษาและนักเรียน ครูสังคมศึกษาและผู้บริหาร มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ครูสังคมศึกษาและนักเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.6) บทบาทของสหกรณ์ต่อการศึกษาและพัฒนาชุมชน ครูสังคมศึกษาและผู้บริหาร มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ครูสังคมศึกษาและนักเรียน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
Other Abstract: 1.To study the opinions of administrators, social studies teachers and students, concerning various aspects of the instruction of cooperative in secondary schools as follows: arrangement of instructional programme, the provision of study place, instructional activities, obstacles and problems in instruction, needs of administrators, social studies teachers and students for instructional improvement and performing the role of school cooperative in education and community development. 2. To compare the opinions concerning various aspects of the instruction of cooperative in secondary schools between social studies teachers and administrators, and social studies teachers and students Procedures : The sample group consisted of 40 govermental school adminis¬trators, 60 social studies teachers, and 400 students was stratified randomly selected from schools where cooperative acitvities have been operated„ A set of questionnaire on opinions concerning the instruction of cooperative set up by the researcher was sent to the sample group. The obtained data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test and presented in tables with explanations. Results : l. The administrators, social studies teachers and students have expressed their opinions concerning the instruction of cooperative in secondary schools as follows: 1.1 The Arrangement of Instructional Programme. The opinions concerning the arrangement of instructional programme of social studies teachers, school administrators and students were at low level except those on the item of the students' content knowledge of cooperative gained mainly from designated social studies textbooks which all the three groups' opinions were at high level. 1.2 The Provision of Study Place. Both administrators and students expressed their opinions on the provision of study place at low level while social studies, teachers expressed their opinions at moderate level. However, social studies teachers and administrators agreed with the influence of adequate shelves on instruction at moderate level while the students agreed with the arrangement of goods for convenience of instruction at moderate level. 1.3. Instructional Activities Administrators and students expressed their opinions on instructional activities at low level while administrators opined them at moderate level. However, social studies teachers and administrators agreed at low level that teacher was the only source of knowledge on cooperative while students agreed at the same level that teachers identified objectives of the lessons on cooperatives before starting instructional activities. 1.4 Obstacles and Problems of Instruction. All social studies teachers, administrators and students expressed their opinions concerning obstacles and problems of instruc¬tion at moderate level. Social studies teachers, administrators and students agreed at high level on the inappropriateness of space for school cooperative 1.5 The Needs for Instructional Improvement. Social studies teachers and administrators expressed their opinions concerning the needs for instructional improvement at high level while the students' opinions on the same topic were at moderate level. However, social studies teachers, school administrators and students separately agreed at high level on the needs for utilization of school cooperative as a resource center on cooperatives, the needs for more documents on cooperative, and the needs for budget from school for the improvement of cooperative store respectively. 1.6 The Needs for Performing of the Role of School Cooperative in Education and Community Development. Social studies teachers and administrators expressed their opinions concerning the needs for performing the role of cooperatives in education and community development at high level; while the students’ opinions were at moderate level. However, both social studies teachers and administrators agreed at high level with the needs for utilizing school cooperative as center for publicity of knowledge on cooperative while students opined at high level that the school utilize exhibition activities for publicity of cooperative: acitvities. 2. The comparison of opinions of the administrators, social studies teachers and students concerning instruction of cooperative was as follows: 2.1 The Arrangement of Instructional Programme. The opinions on the arrangement of instructional programme of social studies teachers and school administrators were different at the .05 level of significance, but the opinions of the social studies teachers and the students were not different at the .05 level of significance. 2.2 The Provision of Study Place. The opinions on the provision of study place of the social studies teachers and the school administrators were different at the .05 level of significance as well as that of the social studies: teachers and the students. 2.3 Instructional Activities The opinions on instructional activities of the social studies teachers and the school administrators were different at the .05 level of significance. But the opinions of the social: studies teachers and the students were not different at the .05 level of significance 2.4 Obstacles and Problems in Instruction The opinions on obstacles and problems in instruction of social studies teachers and school administrators were not different at the .05 level of significance. But the opinions of the social studies teachers and the students were different at the .05 level of significance 2.5 The Needs for Improvement of Instruction The opinions on the needs for improvement of instruction of social studies teachers and school administrators were not different at the -.05 level of significance. But the opinions of, social studies teachers and students were different at the .05 level of significance„ 2.6 The Needs for performing role of Cooperative in Education and Community Development. The opinions on the needs for performing role of cooperative in education and community development of social studies teachers and school administrators were not different at the .05 level of significance as well as that of the social studies teachers and the students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23472
ISBN: 9745644463
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maneerat_Bo_front.pdf613.75 kBAdobe PDFView/Open
Maneerat_Bo_ch1.pdf478.71 kBAdobe PDFView/Open
Maneerat_Bo_ch2.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Maneerat_Bo_ch3.pdf361 kBAdobe PDFView/Open
Maneerat_Bo_ch4.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Maneerat_Bo_ch5.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Maneerat_Bo_back.pdf851.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.