Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23957
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารยะ ศรีกัลยาณบุตร-
dc.contributor.advisorปานใจ สาณะเสน-
dc.contributor.authorจิตราภรณ์ สีเอียด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-11-13T10:34:03Z-
dc.date.available2012-11-13T10:34:03Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741716435-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23957-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม และจำแนกบุคลิกภาพของดนตรีคลาสสิกในแต่ละยุครวมทั้งเพื่อกำหนดองค์ประกอบ และแนวทางการใช้องค์ประกอบเรขศิลป์ที่สามารถสื่อถึงบุคลิกภาพของดนตรีคลาสสิกในแต่ละยุค อีกทั้งเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษา และออกแบบงานเรขศิลป์ที่สามารถสื่อถึงบุคลิกภาพของดนตรีคลาสสิกในแต่ละยุคต่อไป ซึ่งดนตรีคลาสสิกตามขอบเขตของงานวิจัย ประกอบด้วย 1. ยุคบาโรก 2. ยุคคลาสสิก 3. ยุคโรแมนติก และ 4. ยุคโมเดอร์น และแนวทางการใช้องค์ประกอบทางเรขศิลป์ตามขอบเขตของงานวิจัย อันประกอบไปด้วย 1. เรื่องการใช้สี 2. การใช้ตัวอักษรไทย และ3. การจัดองค์ประกอบ การดำเนินงานวิจัย ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรีคลาสสิก การศึกษาองค์ประกอบ การใช้องค์ประกอบเรขศิลป์ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงทำการสอบถามผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีคลาสสิก 6 ท่านเพื่อระบุบุคลิกภาพของดนตรีแต่ละยุค และสรุปบุคลิกภาพแต่ละยุคออกมา จากนั้นจึงนำไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบเรขศิลป์ 5 ท่านถึงองค์ประกอบ และการใช้องค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมกับชุดของบุคลิกภาพของดนตรีคลาสสิกทั้ง 4 ยุค จากนั้นจึงวิเคราะห์ และสรุปองค์ประกอบ และแนวทางการใช้องค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของดนตรีคลาสสิกทั้ง 4 ยุค ผลการวิจัย สามารถจำแนกตามแต่ละยุคของดนตรีคลาสสิก คือ ยุคบาโรก มีลักษณะค่อนข้างกำกวม ไม่ชัดเจนทั้งบุคลิกภาพ โทนสี แบบตัวอักษร หรือแม้แต่การจัดองค์ประกอบ ซึ่งสามารถแสดงถึงลักษณะของดนตรียุคบาโรก เพราะดนตรียุคนี้ มีลักษณะการเล่นซ้ำไปมาเหมือนตอบโต้กัน ดำเนินเพลงไปอย่างเรื่อยๆ ไม่มีการแสดงอารมณ์ชัดเจนแต่อย่างใด ยุคคลาสสิก มีลักษณะที่ชัดเจนทั้งบุคลิกภาพ โทนสี แบบตัวอักษร หรือแม้แต่การจัดองค์ประกอบ ซึ่งสามารถแสดงถึงลักษณะดนตรีในยุคคลาสสิก เพราะดนตรียุคนี้ มีรูปแบบกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน มีแบบแผน ยุคโรแมนติก ลักษณะบุคลิกภาพที่ชัดเจน เพราะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เช่น ชวนฝัน อ่อนโยน อ่อนหวาน เป็นต้น รวมถึงโทนสีที่เป็นโทนสีอ่อน แบบตัวอักษรและการจัดองค์ประกอบที่เน้นการเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถแสดงถึงลักษณะดนตรีในยุคโรแมนติก เพราะดนตรียุคนี้มีความพลิ้วไหว เน้นการแสดงอารมณ์ และความรู้สึกภายในจิตใจอย่างชัดเจน ยุคโมเดอร์น มีลักษณะที่ค่อนข้างชัดเจนทั้งบุคลิกภาพ โทนสีที่เป็นโทนมืด แบบตัวอักษรหรือแม้แต่การจัดองค์ประกอบ ก็เป็นลักษณะของการตัดกัน และการแผ่ขยาย ซึ่งแสดงถึงลักษณะของดนตรียุคโมเดอร์น เพราะลักษณะดนตรียุคนี้แปลกออกไปจากเดิม สีสันของเสียงต่างไปจากเสียงดนตรีในยุคก่อนๆ
dc.description.abstractalternativeThe objective of research is to gather and classify character of classical music in each period, including to define composition and the use elements of graphic design to express the meaning of classical music in each period for those who is interested in Classical music in this research combines of Baroque Period, Classical Period, Romantic Period and Modern Period. The use of elements of graphic design for this research includes the use of color. Thai typeface and composition. The methodology comprises of literature review about classical music in each period and application of graphic design elements and compositions related to research. Then asking 6 experts in classical music to specify characteristic that express the meaning of classical music in each period. After that asking 5 experts in graphic design about the use of elements and compositions in graphic design that appropriate to the individual character of character of classical music in 4 periods. Next, analyze and conclude the use of elements in graphic design to express the meaning of classical music in each period. The result of this research was divided by each period of classical music: Baroque Period: character is quite ambiguous through personality, color, Thai typeface and composition. Those can represent the characteristics of Baroque music, Baroque melody creates a feeling of continuity and repetition. An opening melody will be heard again and again, its character tends to remain constant. Classical Period: character is precise and steady in personality, color, Thai typeface, and composition. According to characterized the classical music such as: a classical composition has a wealth of rhythmic patterns and melodies often sound balanced and symmetrical. Romantic Period: character is clear in personality, pastel color, Thai typeface and composition; which express romantic music such as dreamy, soft, sweet and dynamic. Emphasis emotion and feeling precisely. Modern Period: character is precise steady in personality, dull tone color, Thai typeface and composition. These elements can represent the characteristics of Modern music, noise-like and percussive sounds are often used including uncommon playing techniques. Reflecting in unusual rhythms and tone colors.
dc.format.extent4019383 bytes-
dc.format.extent5055262 bytes-
dc.format.extent23650357 bytes-
dc.format.extent12813068 bytes-
dc.format.extent22322037 bytes-
dc.format.extent9440948 bytes-
dc.format.extent5961598 bytes-
dc.format.extent6650190 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการใช้องค์ประกอบทางเรขศิลป์เพื่อสื่อความหมายทางดนตรีคลาสสิกในแต่ละยุคen
dc.title.alternativeThe use of elements of graphic design to express the meaning of classical music in each perioden
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนฤมิตศิลป์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jitraporn_sr_front.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open
Jitraporn_sr_ch1.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open
Jitraporn_sr_ch2.pdf23.1 MBAdobe PDFView/Open
Jitraporn_sr_ch3.pdf12.51 MBAdobe PDFView/Open
Jitraporn_sr_ch4.pdf21.8 MBAdobe PDFView/Open
Jitraporn_sr_ch5.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open
Jitraporn_sr_ch6.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open
Jitraporn_sr_back.pdf6.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.