Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25913
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิพนธ์ ไทยพานิช
dc.contributor.authorสรรเสริญ สุวรรณ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-25T11:35:19Z
dc.date.available2012-11-25T11:35:19Z
dc.date.issued2530
dc.identifier.isbn9745676985
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25913
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพความพร้อมเกี่ยวกับปัจจัยในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสิงห์บุรี 2. เพื่อศึกษาสภาพความพร้อมของครูเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสิงห์บุรี 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสิงห์บุรี วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 156 คน โดยแยกเป็นครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ 7 คน โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง 9 คน โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 97 คน และโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมาก 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบวัดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดังกล่าว ได้ผ่านการตรวจพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน และได้ส่งแบบสอบถามและแบบวัดความรู้ความเข้าใจไปยังประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 156 ฉบับ ได้รับคืน จำนวน 156 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. สภาพความพร้อมในการสอนของครูภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับการสนับสนุนการสอน 1.1 ด้านผู้บริหาร ในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 ขนาด ครูภาษาอังกฤษได้รับการสนับสนุนด้านขวัญและกำลังใจจากผู้บริหารดีมาก และในการส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจด้านการใช้สื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ผู้บริหารให้การสนับสนุนน้อย ส่วนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมาก ผู้บริหารให้การส่งเสริมดีมาก ในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 ขนาด ครูภาษาอังกฤษได้รับความรู้ ความเข้าใจและช่วยเหลือด้านการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งได้รับบริการหนังสือและข่าวสารเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนจากผู้บริหารน้อย ทำให้ต้องศึกษาหาความรู้เอง ซึ่งอาจไม่ถูกต้องประกอบกับขาดเอกสารสำหรับใช้ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม 1.2ด้านห้องสมุด ในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 ขนาด ในห้องสมุดมีหนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษ และหนังสือคู่มือการสอนภาษาอังกฤษไว้ให้ไม่เพียงพอกับความต้องการในการใช้ของครูและนักเรียน ทำให้การสอนอาจไม่บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่กำหนดไว้ 1.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง และ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมาก ครูภาษาอังกฤษมีความรู้ความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์การสอนดีมาก ส่วนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ค่อนข้างน้อย ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่จัดวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนไว้ให้อย่างเพียงพอกับความต้องการในการใช้ของครู แต่ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมาก จำนวนวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอกับความต้องการในการใช้ของครูอาจทำให้การสอนบางเนื้อหาขาดความสมบูรณ์ 1.4 ด้านอาคารสถานที่ ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่และโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง ขนาดของห้องเรียนสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน้อย ส่วนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กและโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมาก ขนาดของห้องเรียนสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 ขนาด ไม่มีปัญหาในเรื่องเสียงรบกวน แสงสว่างในห้องเรียนและบรรยากาศในชั้นเรียน 2. สภาพความพร้อมของนักเรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ เศรษฐกิจของผู้ปกครองเป็นปัญหาต่อการเรียนการสอนน้อย ส่วนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กและโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมาก เศรษฐกิจของผู้ปกครองเป็นปัญหาต่อการเรียนการสอนมาก ในเรื่องอุปกรณ์การเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ไม่เป็นปัญหาต่อการเรียนการสอน ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง และโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมากเป็นปัญหาน้อย ส่วนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กเป็นปัญหามาก ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่และโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สุขภาพของนักเรียนเป็นปัญหาต่อการเรียนการสอนน้อย ส่วนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางและโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กมากไม่เป็นปัญหาต่อการเรียนการสอน และการมาเรียนของนักเรียนเป็นปัญหาน้อยในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่และโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง เป็นปัญหามากในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก และไม่เป็นปัญหาต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กมาก 3. สภาพความพร้อมของครูเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน ในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 ขนาด ครูภาษาอังกฤษมีความรู้ ความเข้าใจในด้านหลักสูตร ด้านวิธีการสอนและเทคนิคการสอน และด้านการวัดผลและประเมินผลอยู่ในระดับมาก ในด้านเนื้อหาวิชา ครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดเล็กมาก มีความรู้ ความเข้าใจอยู่ในระดับน้อย ส่วนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ครูภาษาอังกฤษ มีความรู้ ความเข้าใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด ในด้านสื่อการเรียนการสอน ครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษาทั้ง 4 ขนาด มีความรู้ ความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง 4. การนำเสนอแนวทางการนิเทศการสอนครูภาษาอังกฤษ เป็นการนำเสนอแนวทางการนิเทศการสอนในรูปของโปรแกรม ซึ่งโปรแกรมการนิเทศการสอนครูภาษอังกฤษในโรงเรียนประถมศึกษาทุกขนาด จะเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา ตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 โดยที่โปรแกรมการนิเทศการสอนสำหรับโรงเรียนทุกขนาดนี้ จะเน้นในเรื่องเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษและสื่อการเรียนการสอน ซึ่งได้มาจากผลของการวิเคราะห์ข้อมูลในแบบสอบถามตอนที่ 4
dc.description.abstractalternativePurposed: 1. To study the instructional condition factors with regard to the instruction of English subject of Pratom 5 – 6 in the Elementary schools under the Jurisdiction of the Office of the Provincial Primary Education in Changwat Singburi. 2. To study the instructional conditions of English teachers with regard to their instructional understanding in English subject of Pratom 5 – 6 in the Elementary schools under the jurisdiction of the Office of the Provincial Primary Education in Changwat Singburi. 3. To propose guideline for instructional supervision for elementary school English Teachers under the jurisdiction of Office of the Provincial Primary Education in Changwat Singburi. Procedures: Population of this study consisted of 7 English Teachers from large size elementary schools, 9 from the medium size, 97 from the small size and 43 from the smallest size. Questionnaires and test were employed as a method of gathering data for this study of the total 156 copies of questionnaires and test sent out, 156 copies, or 100 percent were completed and returned. They were analyzed by using percentage, arithmetic mean and standard deviation. Findings: 1. The instructional condition factors with regard to instruction of English subject were found as follow: 1.1 The instructional supporting factors 1.1.1Administrators Teachers’ moral in all size schools were supported at high level but rather low with regard to the instruction and the provision of reference materials for improving the instruction. Concerning the instructional aids, it was supported at high level in the medium, small and smallest size schools but rather low in the large size school. 1.1.2 Library The library could not provide adequate instructional materials and reading materials in all size schools 1.1.3 Instructional aids The teachers’ understanding of using the instructional aids in the large, medium and smallest size schools were at high level while rather low in the small size schools. Schools in all size were lack of instructional aids except in the large size school. 1.3 Buildings Most of the schools in all size had no problems with regard to the light, noise and condition in the classes but it still had problem concerning the size of the classes in the large and medium size schools. 2. The instructional conditions with regard to the students. Most of the students’s parents in all size schools, except in the large size, were poor and that caused the problems in the instruction. Concerning the students’ instructional aids, there were problems in the medium, small and smallest size schools but there were not problems about the students’ health and their attending school except in the small size schools. 3. The instructional conditions of English teachers with regard to their instructional understanding in English Subject. The English teachers’ understanding in all size schools concerning curriculum, teaching methods and techniques including measurement and evaluation were at high level so their instructional supervision needs were at low level. Concerning content of English Subject, the English teachers’ understanding in the medium, small and the smallest size school were at low level. But in the large size schools, the English teachers’ understanding were at the lowest level. Concerning instruction aids, the English teachers’ understanding in all size schools were at moderate level. 4. A proposed guideline for instructional supervision of English teacher The guideline for instructional supervision was proposed in one programme. The programme of English teacher supervision in all size of primary school was stressed on the content of English curriculum according to the elementary school curriculum B.E. 2521 with regard to the content of English subject and instructional aids. This result was found in the data analysis in the fourth section of questionnaire.
dc.format.extent624005 bytes
dc.format.extent915374 bytes
dc.format.extent2873390 bytes
dc.format.extent399090 bytes
dc.format.extent1913419 bytes
dc.format.extent321560 bytes
dc.format.extent1448217 bytes
dc.format.extent1005188 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการนำเสนอแนวทางการนิเทศการสอนครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสิงห์บุรีen
dc.title.alternativeA proposed cuideline for instructional supervision for elementary school English teachers under the jurisdiction of the Office of the Provincial Primary Education, Changwat Sing Burien
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanrasern_Su_front.pdf609.38 kBAdobe PDFView/Open
Sanrasern_Su_ch1.pdf893.92 kBAdobe PDFView/Open
Sanrasern_Su_ch2.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open
Sanrasern_Su_ch3.pdf389.74 kBAdobe PDFView/Open
Sanrasern_Su_ch4.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Sanrasern_Su_ch5.pdf314.02 kBAdobe PDFView/Open
Sanrasern_Su_ch6.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Sanrasern_Su_back.pdf981.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.