Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25914
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารกับความทันสมัยของประชาชน ในท้องที่บางชัน เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The relationship between communication behavior and modernity of the people in Bangchan area, Minburi, Bangkok
Authors: สรรค์รวี คชาชีวะ
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จะประสบความสำเร็จได้เพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ “บุคคล” ปัจจัยทางด้านบุคคลที่มีลักษณะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศประการหนึ่ง คือ การเป็นคนทันสมัย ( Modern man ) การที่บุคคลจะพัฒนาเป็นคนทันสมัยนั้น จะต้องมีคุณลักษณะทางด้านความรู้สึกนึกคิด หรือ ทางด้านจิตวิทยา และพฤติกรรมบางประการ คุณลักษณะดังกล่าวรวมเรียกได้ว่า “ ความทันสมัย” ( Modernity ) ซึ่งประกอบด้วย แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ( Achievement Motivation ) ความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและการยอมรับนวกรรม ( Change Orientation and Innovativeness ) การเข้าใจบทบาทผู้อื่น ( Empathy ) และความมุ่งหวังในการประกอบอาชีพ ( Occupation Aspiration ) การศึกษาครั้งนี้ มุ่งที่จะศึกษาในเรื่องความทันสมัย โดยได้ทำการศึกษาที่ท้องที่บางขัน เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ลักษณะสังคมที่ “ บางขัน “ นี้ เป็นลักษณะสังคมซึ่งกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าศึกษาว่า ประชาชนที่อยู่อาศัยในสังคมที่มีลักษณะเช่นนี้ จะมีความทันสมัยเป็นอย่างไร จึงได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ทำนาและกลุ่มที่ทำงานในโรงงาน ดังนั้น วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้แก่ ( 1 ) เพื่อเปรียบเทียบระดับความทันสมัยระหว่างกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำนา และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในโรงงาน ( 2 ) เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารกับความทันสมัยของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำนา และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในโรงงาน ( 3 ) เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรกับความทันสมัยของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำนา และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในโรงงาน และ ( 4 ) เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมกับความทันสมัยของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำนาและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในโรงงาน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้กระทำโดยการวิจัยเชิงสำรวจ ( Survey Research ) จากผลการวิจัยพบว่า ( 1 ) ระดับของความทันสมัยเมื่อพิจารณาทั้งสองกลุ่มอาชีพ ( กลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนา และกลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงาน) ส่วนใหญ่ จะอยู่ในระดับปานกลาง แต่กลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงานจะมีระดับของความทันสมัยสูงกว่ากลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนา ( 2 ) กลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงานมีระดับของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงกว่ากลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนา ( 3 ) กลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงาน มีระดับของความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและการยอมรับนวกรรมสูงกว่ากลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนา ( 4 ) กลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงาน มีระดับของการเข้าใจบทบาทผู้อื่นสูงกว่ากลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนา และ ( 5 ) กลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงาน มีระดับของความมุ่งหวังในการประกอบอาชีพสูงกว่ากลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนา ผลการวิจัยโดยสรุป พบว่า 1) ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความทันสมัย เมื่อพิจารณารวมทั้งสองกลุ่มอาชีพ ( กลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนา และ กลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงาน ) เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ ( 1 ) การเปิดรับสื่อมวลชน ( การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ และการชมโทรทัศน์ ) ( 2 ) การสื่อสารระหว่างบุคคล ( ครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ) ( 3 ) การศึกษา ( 4 ) เพศชาย และ ( 5 ) การปลีกตัวออกจากสังคมในระดับต่ำ 2 ) ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เมื่อพิจารณารวมทั้งสองกลุ่มอาชีพ คือ การปลีกตัวออกจากสังคมระดับต่ำ 3 ) ปัจจัยทีมีความสำคัญมากที่สุด ต่อความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและการยอมรับนวกรรม เมื่อพิจารณารวมทั้งสองกลุ่มอาชีพคือ การเปิดรับสื่อมวลชน ( การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ และการชมโทรทัศน์ ) 4) ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด ต่อการเข้าใจบทบาทผู้อื่น เมื่อพิจารณารวมทั้งสองกลุ่มอาชีพคือ การสื่อสารระหว่างบุคคล ( ครอบครัว และกลุ่มเพื่อน ) 5) ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อความมุ่งหวังในการประกอบอาชีพ เมื่อพิจารณารวมทั้งสองกลุ่มอาชีพคือ การอ่านหนังสือพิมพ์ ผลการวิจัยเมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มอาชีพพบว่า ( 1 ) ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด สำหรับความทันสมัยของกลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนาได้แก่ การสื่อสารระหว่างบุคคล ( ครอบครัว และกลุ่มเพื่อน ) ในขณะที่ การเปิดรับสื่อมวลชน ซึ่งได้แก่ การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ และการชมโทรทัศน์ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับกลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงาน ( 2 ) ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด สำหรับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของกลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนาได้แก่ การสื่อสารกับบุคคลภายนอกสังคม ในขณะที่การปลีกตัวออกจากสังคมต่ำ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับกลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงาน ( 3 ) ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และการยอมรับนวกรรมของกลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนา ได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในขณะที่การสื่อสารระหว่างบุคคล (ครอบครัว และกลุ่มเพื่อน) เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับกลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงาน ( 4 ) ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับการเข้าใจบทบาทผู้อื่น ของกลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนาและ กลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงาน ได้แก่ การสื่อสารระหว่างบุคคล (ครอบครัว และ กลุ่มเพื่อน) (5 ) ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด สำหรับความมุ่งหวังในการประกอบอาชีพของกลุ่มที่ประกอบอาชีพทำนา ได้แก่ การสื่อสารกับบุคคลภายนอกสังคม ในขณะที่ การอ่านหนังสือพิมพ์ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับกลุ่มที่ประกอบอาชีพในโรงงาน ผลการวิจัยทั้งหมดนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการนำเอา “พฤติกรรมการสื่อสาร”มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนเพื่อการศึกษานอกระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทย
Other Abstract: The rapid development of communication in most countries, the expansion of various forms of communication and in particular of mass communication combined with the spread of informatics, open up new horizons and multiply the linkage between communication and modernization. There is an evident increase of the development and modernization potentials of communication. Endowed with a greater modernization value, communication generates a “developmental and modern environment”. Communication itself becomes a vehicle for and a subject of modernization and development. Communication is an essential tool for teaching and informing modern technologies and new way of life. Communication promotes the immediate and ultimate aims of the society and stimulate personal choices and aspirations. Thus, there is a growing association between communication and modernization. The main purposes of this study can be identified as the following: (1) to compare the modernity between the farmers and the industrial workers; (2) to investigate the relationship between communication behavior and modernity of these two groups; (3) to investigate the relationship between demographic factors and modernity of those two groups; (4) to investigate the relationship between socio-economic factors and modernity of these two groups. This comparative study was performed in Bangchan area, one of the outstanding transitional society of Thailand, by the way of survey research. The explratory level of the findings were: (1) the level of modernity of both groups (farmers and industrial workers) was relatively moderate, but higher among the industrial workers compared between the two groups. The industrial workers had a higher level of; (2) achievement motivation; (3) change orientation and innovativeness; (4) empathy; (5) occupation aspiration than that of the farmers. The significant factors affecting the modernity of the both groups as discovered in sequential order were: (1) mass media exposure (newspaper reading, radio listening and television watching); (2)interpersonal (family and peer groups) communication behavior ; (3) the formal education; (4) male and (5) low level of alienation The most significant factor leading to the achievement motivation of both groups was the low level of alienation. Mass media exposure (newspaper reading, radio listening and television watching) performed the most important role in the change orientation and innovativeness. The low level of empathy was most affected by interpersonal communication behavior (family and peer groups). The most significant factor leading to the occupational aspiration of the groups was newspaper reading. When investigating the mot crucial factors affecting levels of modernity of the two groups separately it was found that : (1) the most significant factor affecting the modernity of the farmers was interpersonal communication behavior while that of the industrial workers was mass media exposure more specifically newspaper reading, radio listening and television watching ; (2) the most significant factor affecting the achievement motivation of the farmers was social contact with people outside their community, while that of the industrial workers was the low level alienation ; (3) change orientation and innovativesness was most led by socio-economic status among the farmers and interpersonal (family and peer groups) communication farmers and interpersonal (family and peer groups) communication behavior among the industrial workers; (4) the most significant factor affecting the feeling of empathy of both groups was led by interpersonal (family and peer group) communication behavior; (5) among the farmers, social contact with people outside their community played the most crucial role in occupation aspiration while newspaper reading was most important for the industrial workers. All of the above mentioned findings would be very useful in applying “ communication behavior” for planning an effective non formal education system in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25914
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanrawee_Ka_front.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Sanrawee_Ka_ch1.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Sanrawee_Ka_ch2.pdf892.24 kBAdobe PDFView/Open
Sanrawee_Ka_ch3.pdf943.82 kBAdobe PDFView/Open
Sanrawee_Ka_ch4.pdf924.29 kBAdobe PDFView/Open
Sanrawee_Ka_ch5.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open
Sanrawee_Ka_ch6.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Sanrawee_Ka_ch7.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Sanrawee_Ka_ch8.pdf623.01 kBAdobe PDFView/Open
Sanrawee_Ka_ch9.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Sanrawee_Ka_back.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.