Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32045
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานผลิตภาชนะอะลูมิเนียมขนาดเล็ก ในประเทศไทย
Other Titles: Productivity improvement of a small-scale aluminium ware factory in Thailand
Authors: เอกสิน โลหสมบูรณ์
Advisors: วันชัย ริจิรวนิช
จรูญ มหิทธาฟองกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อที่จะศึกษาปัญหาและหาแนวทางในการประยุกต์วิชาการทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการและการบริหารในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ของโรงงานผลิตภาชนะอะลูมิเนียมขนาดเล็กในประเทศ ตามนโยบายด้านอุตสาหกรรมของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) โดยการสำรวจปัญหาการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทนี้ และศึกษาเฉพาะปัญหาของโรงงานตัวอย่างอย่างละเอียด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานประเภทเดียวกัน จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมประเภทนี้ส่วนใหญ่ประสบปัญหาทางด้านการผลิตและด้านการบริหารโดยตลอด ปัญหาสำคัญที่ก่อผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการผลิตได้แก่ ปัญหาทางด้านการจัดการ, การวางผังโรงงาน, กระบวนการผลิต, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, พื้นที่เก็บรักษาแม่พิมพ์และอุปกรณ์การผลิต, การวางแผนและควบคุมการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานต่ำ เกิดการสูญเสียปัจจัยการผลิตสูง และเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมประเภทนี้ จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นทางผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดย ออกแบบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อแบ่งเบาภาระงานของเจ้าของกิจการ, วางแผนการจัดผังโรงงานผลิตอะลูมิเนียมแผ่นที่เป็นระบบ (Systematic Layout Planning), วางแผนการจัดผังโรงงานภาชนะอะลูมิเนียมโดยการใช้เทคโนโลยีกลุ่ม (Group Technology), ติดตั้งระบบสายพานลำเลียงในกระบวนการผลิต, ออกแบบระบบระบายอากาศเฉพาะจุดเพื่อขจัดสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย, กำหนดระบบรหัสผลิตภัณฑ์และแม่พิมพ์, ออกแบบคลังเก็บรักษาแม่พิมพ์และอุปกรณ์การผลิต, ปรับปรุงการวางแผนและควบคุมการผลิต ผลจากการวิจัยพบว่า เมื่อได้ปรับปรุงโรงงานผลิตภาชนะอะลูมิเนียมตัวอย่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการประยุกต์วิชาการทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการและการบริหาร และได้ทำการประเมินผลการปรับปรุงในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานตัวอย่างทำให้ลดต้นทุนการผลิตและได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้น อันเป็นการเพิ่มอำนาจในการแข่งขันทางด้านตลาดและเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทนี้ที่มีความเอื้ออำนวยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
Other Abstract: The objective of this research was to study problems and apply the knowledge of industrial engineering and management in productivity improvement of a small-scale aluminium ware factory in Thailand. And follow industrial policy of the sixth national economic and social development plan (1987-1991). By survey problems of sample factory production and study the special problems of this factory in detail for use in method to improve productivity of the same factory. From the research, It was found that most of this type of factories have chronic problems on production and management. Major problems are operation management, plant layout, production process, working environment, storage space of production equipment, and production planning and control. All of these cause low productivity and make it very difficult for this type of industry to expand into the future. In this research was designed organization to balance work load between management team, new plant layout of aluminium sheet factory based on systematic layout planning (SLP) and aluminium ware factory based on group technology (GT), new material handling system by belt conveyor, local exhaust ventilation system to eliminate unsafe condition, classification and coding system of product and production equipment to improve data collection and analysis capability, new storage space of production equipment, and new production planning and control concept. After the implementation of the project and evaluation of qualitative and quantitative analysis were found that the productivity is improved that can reduce production cost and get advantage from investment which make the company more competitive in marketplace. And was to be the way in development of aluminium ware industry which contribute to national economic development.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32045
ISBN: 9745768154
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekkazin_lo_front.pdf8.26 MBAdobe PDFView/Open
Ekkazin_lo_ch1.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open
Ekkazin_lo_ch2.pdf9.63 MBAdobe PDFView/Open
Ekkazin_lo_ch3.pdf24.5 MBAdobe PDFView/Open
Ekkazin_lo_ch4.pdf12.54 MBAdobe PDFView/Open
Ekkazin_lo_ch5.pdf102.24 MBAdobe PDFView/Open
Ekkazin_lo_ch6.pdf7.81 MBAdobe PDFView/Open
Ekkazin_lo_back.pdf43.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.