Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48418
Title: ความคิดเห็นของผู้ผลิตและนักศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิคการผลิตรายการโทรทัศน์การศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
Other Titles: Opinions of production teams and students concerning types and production techniques of educational television programs for Ramkhamhaeng University
Authors: สุมาลี ศรีชัยสวัสดิ์
Advisors: วิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ผลิตและนักศึกษาที่ชมรายการโทรทัศน์การศึกษา เกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิคการผลิตรายการโทรทัศน์การศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) กลุ่มผู้ผลิต ซึ่งได้แก่ นักวิชาการด้านเนื้อหาหรืออาจารย์ผู้สอน นักเทคโนโลยีการศึกษา และนายช่างเทคนิค จำนวน 88 คน และ (2) กลุ่มนักศึกษา จำนวน 400 คน ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมีรายการให้เลือกตอบและชนิดปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยกลุ่มผู้ผลิต พบว่ารูปแบบรายการที่ผลิตมีคุณภาพใช้ได้ ส่วนการกำหนดรูปแบบของรายการจะแตกต่างกันตามลักษณะของคณะวิชาและวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน และยังขึ้นอยู่กับความจำกัดของวัสดุและอุปกรณ์ในการผลิตอีกด้วย ทางด้านเทคนิคการผลิตรายการนั้น พบว่า คุณภาพของการใช้ผลพิเศษทางเสียง และคุณภาพของการตัดต่ออยู่ในระดับดี ผลการวิจัยกลุ่มนักศึกษา พบว่ารูปแบบรายการที่นำเสนอมีคุณภาพใช้ได้ ส่วนรูปแบบของรายการที่ต้องการให้นำเสนอและเห็นว่าเรียนแล้วมีความเข้าใจดีที่สุด คือรูปแบบรายการบรรยาย สำหรับการชมรายการจะเลือกชมเฉพาะวันที่ออกอากาศในวิชาที่ลงทะเบียนไว้ ส่วนเวลาที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดในการชมรายการ คือ เวลา 18.30 น. ถึง 19.30 น. และเห็นว่ารายการควรเสนอเป็นเวลา 45 นาที
Other Abstract: The purpose of this research was to study the opinions of production teams and students who watch educational television programs concerning types and production techniques of educational television programs for Ramkhamhaeng University. The sample used in this study consisted of (1) 88 persons in production team which included content specialists or instructors, educational technologists and technicians and (2) 400 students. Information for the study was obtained through the check list and open-ended type questionnaire. Percentage, arithmetic mean and standard deviation were used to analyze the data. The analysis showed that the production team seen quality of television programs as fair, types of presentation varied according to course contents, objectives and limitation of material and equipment, and the quality of sound effect and editing were considered good. The students identified the quality of presentation as fair and lecture was the best program format. They also indicated that they watched program of the course that they registered, preferred watching time was between 06.30-.7.30 p.m. and the duration of programs should be 45 minutes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48418
ISBN: 9745697176
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumalee_sr_front.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_sr_ch1.pdf994.92 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_sr_ch2.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_sr_ch3.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_sr_ch4.pdf6.94 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_sr_ch5.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_sr_back.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.