Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58803
Title: เนื้อหาเพลงและอัตลักษณ์แฟนเพลงฮิปฮอปในประเทศไทย
Other Titles: Music contents and identities of Thai Hip Hop fans
Authors: สาริตา สวัสดิกำธร
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์เพลง
เพลงไทย
เพลงฮิปฮอป
อัตลักษณ์
Songs, Thai
Hip-hop
Musical criticism -- Thailand
Identity (Philosophical concept)
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง "เนื้อหาเพลงและอัตลักษณ์แฟนเพลงฮิปฮอปในประเทศไทย" มีวัตถุประสงค์สำคัญในการ ศึกษาเนื้อหาเพลงฮิปฮอปในประเทศไทยโดยอาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสังเกตการณ์ภาคสนาม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แฟนเพลงฮิปฮอปในประเทศไทย จำนวน 20 คน วิเคราะห์ผลงานเพลง ฮิปฮอปไทย ที่ผลิตระหว่างปี พ.ศ. 2536-2548 จำนวนทั้งสิ้น 50 เพลง ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องดนตรี สมัยนิยม กระบวนทัศน์ ทฤษฎีสัญญะวิทยาแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์วาทกรรม แนวคิดเรื่อง แฟนและ แฟนดอม แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมย่อยของวัยรุ่น ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาของเพลง ฮิปฮอปในประเทศไทยนั้นมีประเด็นหลักที่พบมากที่สุด คือ (1) การบอกเล่าเรื่องราวของวิถีชีวิตวัยรุ่น (2) การวิพากษ์สังคม เสียดสีสังคม สะท้อนปัญหาสังคม (3) การบอกเล่าเรื่องราวของความรัก (4) การถ่ายทอด อุดมการณ์ชีวิต (5) การถ่ายทอดเรื่องราวทางเพศ ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการวิจัยในด้านอัตลักษณ์ แฟนเพลงฮิปฮอปในประเทศไทย พบว่า แฟนเพลงมีการแสดงออกทางด้านอัตลักษณ์ต่างๆ ในระหว่าง การรวมตัวทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมทางดนตรีฮิปฮอป ได้แก่ อัตลักษณ์ด้านอายุ แฟนเพลงนั้นมีอายุเฉลี่ย ระหว่าง 16-32 ปี โดยอัตลักษณ์ด้านการศึกษาของแฟนเพลงนั้น กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนถึงระดับอุดมศึกษา อัตลักษณ์ด้านการแต่งกาย มีการแต่งกายที่เหมือนกันภายในกลุ่ม โดยจะนิยมเสื้อผ้า และเครื่องประดับที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ อัตลักษณ์ด้านการแสดงออกของกลุ่มแฟนเพลงฮิปฮอปมี การแสดงออกในการมีส่วนร่วมทางกิจกรรมทางวัฒนธรรมดนตรีฮิปฮอป โดยมีสื่ออินเตอร์เน็ต และสื่อ บุคคลเป็นศูนย์กลางในการกระจายข้อมูลข่าวสาร อัตลักษณ์ด้านภาษาของกลุ่มมีทั้งภาษาพูด และภาษา ท่าทางที่มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้พบว่า วัฒนธรรมดนตรีฮิปฮอปในประเทศไทยนั้น เป็นการรับเอากระแสวัฒนธรรมนี้เข้ามาจากต่างประเทศ และได้นำเอามาประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบท ของสังคมไทย บทสรุปของการวิจัยพบว่า แฟนเพลงฮิปฮอปนั้น ต้องการแสดงอัตลักษณ์ของตนเองว่า พวกเขาคือ ใคร และมีความแตกต่างจากกลุ่มในสังคมอื่นๆ อย่างไร เพื่อให้สังคมภายนอกรับรู้ และยอมรับ ในสิ่งที่พวกเขาเป็น ซึ่งเป็นการแสดงออกด้านประชาธิปไตยในสังคมรูปแบบหนึ่ง
Other Abstract: The research "Music Content and Identities of Thai Hip Hop Fans". The significant purpose of this research is to study Thai hip hop music contents and to analyze indentities of Thai hip hop fans. This qualitative research explores the method of field observation and in depth interview with Thai hip hop artists and Thai hip hop fans. A total of twenty Thai hip hop fans were interviewed and total fifty Thai hip hop songs which were debuted in 1993 to 2005 were selected for the analysis. From the theories of popular music, hermeneutics and semiology to the concept of discourse analysis, fans and fandom, indentity youth subculture were used as method for this research. The research result founds that most Thai hip hop songs express about (1) Teenagers lifestyle (2) Social criticism, sarcasm, problem reflection (3) Love (4) Ideology and (5) Sex. Furthermore, the research result reveals several identities of Thai hip hop fans for example. Average age identity of hip hop fans are between 16 to 32 years old and the range of hip hop fans' education identities are in hischool and college education level. Thai hip hop fans usually express their apparel identities by dressing the same style, mostly imported garments. Identitly of expression they also join hip hop culture activities such as using internet and verbal communication as medium to spread news and information among hip hop fans. The spoken language identity consists of slang and some specific body language. In addtion, the researchers have found and realized that Thai hip hop fans are influenced by hip hop cultures from western countries and adapt them to suit with Thai society. In conclusion, Thai hip hop fans are very bold in their identities and tend to show off "Who I am" as to differentiate them from the conforming society. They expect the people surround them to acknowledge and recognize their existence as a unique socio-culture group within demoratic society.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58803
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.148
ISBN: 9741426674
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.148
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarita_sa_front.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
sarita_sa_ch1.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
sarita_sa_ch2.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
sarita_sa_ch3.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open
sarita_sa_ch4.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open
sarita_sa_ch5.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open
sarita_sa_ch6.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
sarita_sa_back.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.