Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68110
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์-
dc.contributor.authorจตุพร ฉัตรภูมิ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-09-22T08:30:27Z-
dc.date.available2020-09-22T08:30:27Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743324615-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68110-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการศึกษา “ผลของการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลต่ออุบัติการณ์ของการเกิดโรคปอดอักเสบ ในหออภิบาลผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมพร” เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบอนุกรมเวลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของโรคปอดอักเสบระหว่างก่อนและหลังการใช้แนวทางและคู่มือการปฏิบัติสำหรับพยาบาล เพื่อป้องกันและควบคุมโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแนวทางและคู่มือการปฏิบัติสำหรับพยาบาลเพื่อป้องกันและควบคุมโรคปอดอักเสบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมและเครื่องช่วยหายใจที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วย โรงพยาบาลชุมพร จำนวน 59 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกในการเผ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลอุบัติการณ์โรคปอดอักเสบเป็น 4 ช่วง ๆ ละ 2 สัปดาห์ คือ ก่อนการทดลอง 2 ช่วง และหลังการทดลอง 2 ช่วง การทดลองของการศึกษาครั้งนี้ รวมถึงการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลให้กับพยาบาลในหออภิบาลผู้ป่วย และการใช้แนวทางและคู่มือการปฏิบัติฯ ในการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพ 5 คน และพยาบาลเทคนิค 2 คน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 5 คน และ พยาบาลเทคนิค 3 คน การใช้แนวทางและคู่มือการปฏิบัติฯ เริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 7 คนสิ้นสุดกระบวนการวิจัย แนวทางและคู่มือการปฏิบัติฯ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม คือ การเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล การล้างมือ การใช้เครื่องป้องกัน การพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอมลมและเครื่องช่วยหายใจ การทำลายเชื้อ การให้ปราศจากเชื้อ และการดูแลอุปกรณ์ที่ใช้บำบัดในทางเดินหายใจ จากการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์ของโรคปอดอักเสบใน 4 ช่วง เป็นร้อยละ 50.00, 50.00,20.00 และ 12.50 ตามลำดับ และการเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของโรคปอดอักเสบระหว่างก่อนและหลังการทดลอง พบว่า อุบัติการณ์โรคปอดอักเสบหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05-
dc.description.abstractalternativeThe study, “effects of nursing practice concerning nosocomial prevention and control on incidence rate of nosocomial pneumonia in intensive care unit, Chumphon Hospital” was a quasi-experimental research with time series design. The purpose of the study aimed to compare the incidence rate of nosocomial pneumonia in the intubated and ventilated mechanically patients. The sample were 59 patients in an intensive care unit, Chumphon Hospital. The data were collected into 4 periods, with 2 weeks each period and 1 week for each intermission. The treatment of the study included the training nurses of 2 groups (group 1: RN = 5, TN =2; group 2: RN = 5, TN = 3) in the topic “nosocomial prevention and control”. and using the nursing guideline and manual for prevention and control of nosocomial pneumonia. The guideline and manual consisted of 6 activities; nosocomial pneumonia surveillance, handwashing protective barriers, care of patient in ventilator, disinfection and sterilization respiratory device, and respiratory care. The result of this study showed the incidence rate of nosocomial pneumonia of the 4 periods were 50.00, 50.00, 20.00 and 12.50 percent consecutively. The incidence rate after the treatment was decreased statistically significance at 0.05 level.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลen_US
dc.subjectปอดอักเสบ -- การป้องกันและควบคุมen_US
dc.subjectโรค -- การป้องกันและควบคุมen_US
dc.subjectการพยาบาลen_US
dc.subjectNosocomial infectionsen_US
dc.subjectPneumonia -- Prevention and controlen_US
dc.subjectMedicine, Preventiveen_US
dc.subjectNursingen_US
dc.titleผลของการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลต่ออุบัติการณ์ของการเกิดโรคปอดอักเสบ ในหออภิบาลผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมพรen_US
dc.title.alternativeEffects of nursing practice concerning nosocomial prevention and control on incidence rate of nosocomial pneumonia in intensive care unit, Chumphon Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPuangtip.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jatuporn_ch_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ996.82 kBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.06 MBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_ch_ch2_p.pdfบทที่ 22.6 MBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_ch_ch3_p.pdfบทที่ 31.43 MBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.42 MBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.46 MBAdobe PDFView/Open
Jatuporn_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.