Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68620
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำประกันชีวิต ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors influencing decision to life insurance application among clients in Bangkok Metropolitan area
Authors: เพ็ญจมาส ศิริกิจวัฒนา
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: ประกันชีวิต
การสื่อสาร
การตัดสินใจ
การเปิดรับข่าวสาร
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าความแปรปรวนทางเดียว และค่าถดถอยพหุคูณ ซึ่งประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS* ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส การมีบุตร มีความแตกต่างในการตัดสินใจทำประกันชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. สถานภาพทางเศรษฐกิจ-สังคม ได้แก่ ระดับรายได้ อาชีพ ตำแหน่ง มีความแตกต่างกันในการตัดสินใจทำประกันชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการทำประกันชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับตํ่ากับการตัดสินใจทำประกันชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ทัศนคติต่อการประกันชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับกลางกับการตัดสินใจทำประกันชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการประกันชีวิตมีอิทธิพลสำคัญในการอธิบายค่าความแปรปรวนของการตัดสินใจทำประกันชีวิตของผู้บริโภค โดยยังมีปัจจัยทางด้านอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อความแตกต่างในการตัดสินใจทำประกันชีวิตของผู้บริโภคด้วย เข่นอายุระดับตำแหน่งหน้าที่ระดับการศึกษา และอาชีพ
Other Abstract: The research was aimed to study factors influencing decision to life insurance application among clients in Bangkok metropolitan area. Questionnaires were used to collect the data from a total of 400 samples. Frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, one-way analysis of variance (ANOVA), t-test and multiple regression analysis were employed to analyze data. SPSS programme was used for data processing. The results of research could be summed up as follows: (1) People with different sex, age, education and a marriage status are significantly different in decision making to life insurance application. (2) People with different income, occupation and position are significantly different in decision making to life insurance application. (3) Media exposure significantly correlates with decision making to life insurance application. (4) Attitude towards life insurance significantly correlations with decision making to life insurance application. (5) Attitude towards life insurance is the most important influence to determine decision making to life insurance application.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68620
ISBN: 9741312377
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penjamas_si_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ818.05 kBAdobe PDFView/Open
Penjamas_si_ch1_p.pdfบทที่ 11.28 MBAdobe PDFView/Open
Penjamas_si_ch2_p.pdfบทที่ 21.93 MBAdobe PDFView/Open
Penjamas_si_ch3_p.pdfบทที่ 3750.69 kBAdobe PDFView/Open
Penjamas_si_ch4_p.pdfบทที่ 41.17 MBAdobe PDFView/Open
Penjamas_si_ch5_p.pdfบทที่ 51.18 MBAdobe PDFView/Open
Penjamas_si_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.