Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75154
Title: Catalytic pyrolysis of waste tire over Rh, Ni and Co supported on KL zeolite and their bimetallic catalysts
Other Titles: กระบวนการไพโรไลซิสยางรถยนต์หมดสภาพด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาโรเดียม นิกเกิล และโคบอลต์ที่บรรจุบนซีโอไลท์ชนิดเคแอล และผลของการใช้โรเดียมร่วมกับนิกเกิลและโรเดียมร่วมกับโคบอลต์
Authors: Waleerat Pinket
Advisors: Sirirat Jitkarnka
Other author: Chulalongkorn University. The Petroleum and Petrochemical College
Advisor's Email: No information provided
Subjects: Pyrolysis
Tires
Cobalt
Nickel
การแยกสลายด้วยความร้อน
ยางล้อ
โคบอลต์
นิกเกิล
Issue Date: 2011
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Taking advantages of bifunctional catalysts, the catalytic pyrolysis of waste tire has been investigated aiming to improve the quality and quantity of products. The combination of basic property in KL zeolite with the ring-opening and hydrogenation properties of rhodium was investigated for its influence. Furthermore, two non-noble metals, Ni and Co, supported on KL zeolite and the effect of bimetallic NiRh and CoRh catalysts with varying the metal ratio were investigated in this process as alternative choices in the view of cost reduction and metal availability. The amount of Rh was fixed at 1% wt whereas the amount of Ni and Co were varied from 1 tp 20%wt. It was clear from the results that the presence of KL containing Rh resulted in an increase in the gas yield at the expense of liquid yield with a high concentration of mono-aromatics. Meanwhile, 1% Co loading produced the highest gas yield among all monometallic catalysts. Moreover, the addition of greater amount of Co content from 5% to 20% provided a significantly higher amount of mono-aromatics in the liquid fraction, and gave a comparable concentration of single-ring aromatics with that obtained from 1%Rh/KL. For the case of Ni catalysts, increasing Ni loading resulted in an increment of gas yield with a significant high amount of mono-aromatics content, and using 20%Ni/KL can also be comparable with using 1%RH/KL. Furthermore, the combination of Rh and Co as bimetallic catalysts caused a significantly increasing concentration of saturated hydrocarbons in the liquid fraction. Especially, the small amount of 0.05%Rh modified with 0.95%Co exhibited the maximum concentration of saturated hydrocarbons. Meanwhile, the highest content of single-ring aromatics was found in the use of 0.25% Rh modified with 0.75% Ni among all bimetallic catalysts.
Other Abstract: เนื่องจากตัวเร่งปฏิกิริยามีบทบาทสำคัญต่อการเกิดปฏิกิริยาที่หลากหลาย จึงถูกนำมาใช้ศึกษาในกระบวนการไพโรไลซิสของยางโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของการทำงานร่วมกันระหว่างความเป็นเบสของซีโอไลท์ชนิดเคแอลกับความสามารถในการเกิดไฮโดรจิเนชันและปฏิกิริยาเปิดวงของโลหะโรเดียมนอกจากนี้นิกเกิลและโคบอลต์ รวมถึงตัวเร่งปฏิกิริยาผสมระหว่างโรเดียรมกับนิกเกิลและโรเดียมกับโคบอลต์ ได้ถูกนำมาศึกษาเพื่อนำไปใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทดแทนตัวโลหะโรเดียมเนื่องจากราคาถูและหาได้ง่ายกว่า โดยกำหนดการบรรจุปริมาณของตัวโลหะโรเดียมไว้คงที่ที่ร้อยละ 1 โดยน้ำหนักในขณะที่ปริมาณของนิกเกิลและโคบอลต์ที่ศึกษานั้นมีตั้งแต่ร้อยละ 1, 5, 10,15 และ20 โดยน้ำหนัก จากผลการศึกษาพบว่าโลหะโรเดียมบนซีโอไลท์ชนิดเคแอลให้ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่เป็นก๊าซสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการไพโรไลวิสของยางโดยปราศจากตัวเร่ง นอกจากนี้ตัวเร่งชนิดนี้ยังส่งผลให้เกิดสารประกอบอะโรมาติกส์วงเดี่ยวซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่าในปริมาณที่สูงในขณะเดียวกันการใช้โคบอลต์ในปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนักสามารถผลิตก๊าซในปริมาณที่สูงสุดในบรรดาตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งหมดที่มีโลหะอย่างเดียวบรรจุอยู่บนซีโอไลท์ชนิดเคแอล นอกจากนี้เมื่อเพิ่มปริมาณของโคบอลต์จากร้อยละ 5 ถึง 20 โดยน้ำหนัก ส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นอะไรมาติกส์วงเดี่ยวในปริมาณที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปริมาณที่ใกล้เคียงกับการใช้โลหะโรเดียมในขณะที่การเพิ่มปริมาณของตัวเร่งชนิดโลหะนิกเกิลบนซีโอไลท์ชนิดเคแอลนั้น ส่งผลให้เกิดการผลิตผลิตภัณฑ์ก๊าซมากขึ้น พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของสารประกอบโรมาติกส์วงเดี่ยวในน้ำมันเมื่อใช้ปริมาณนิกเกิลร้อยละ 20 โดยน้ำหนักในปริมาณที่สูงเทียบเท่ากับการใช้โลหะโรเดียมนอกจากนี้การผสมกันของโลหะโรเดียมในปริมาณร้อยละ 0.05 โดยน้ำหนักกับโคบอลต์ในปริมาณร้อยละ 0.95 โดยน้ำหนักบนซีโอไลท์ชนิดเคแอลนั้น สามารถผลิตสารประกอบไฮโดรคาร์บอนอิ่มในน้ำมันได้สูงที่สุด ในขณะที่ตัวเร่งผสมของโรเดียมในปริมาณร้อยละ 0.25 โดยน้ำหนักกับนิกเกิลในปริมาณ 0.75 โดยน้ำหนักสามารถผลิตอะโรมาติกส์วงเดี่ยวในน้ำมันได้สูงสุดในบรรดาตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดโลหะผสม
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2011
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Petrochemical Technology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75154
Type: Thesis
Appears in Collections:Petro - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waleerat_pi_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ905.22 kBAdobe PDFView/Open
Waleerat_pi_ch1_p.pdfบทที่ 1668.7 kBAdobe PDFView/Open
Waleerat_pi_ch2_p.pdfบทที่ 21.01 MBAdobe PDFView/Open
Waleerat_pi_ch3_p.pdfบทที่ 3842.56 kBAdobe PDFView/Open
Waleerat_pi_ch4_p.pdfบทที่ 42.16 MBAdobe PDFView/Open
Waleerat_pi_ch5_p.pdfบทที่ 5640.18 kBAdobe PDFView/Open
Waleerat_pi_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก4.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.