Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69235
Title: ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกที่มีภาวะซึมเศร้า
Other Titles: Prevalence of depression in hemiparesis patients and capacity in activities of daily living in hemiparesis patients with depression
Authors: ไพรำ ยังประดับ
Advisors: นิพัทธ์ กาญจนธนาเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อัมพาต
ความซึมเศร้า
ผู้ป่วย -- การดูแล
Paralysis
Depression
Care of the sick
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกและความลามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกที่มีภาวะซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกในแผนกอายุรกรรมประสาท ศัลยกรรมประสาทและเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อายุ 55-65 ปี จำนวน 96 คน โดยใช้แบบวัดอาการซึมเศร้า TGDS (Thai Geriatric Depression Scale) และแบบวัดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Modified Barthel ADL Index และ Chula ADL Index) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า 1. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกเท่ากับร้อยละ 71.9 โดยผู้ป่วยมีความซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 46.9 มีความซึมเศร้าปานกลาง ร้อยละ 21.9 และมีความซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 3.1 2. ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกที่มีภาวะซึมเศร้าส่วนใหญ่พึ่งพาผู้อื่นระดับต่ำ ร้อยละ 85.4 พึ่งพาผู้อื่นระดับปานกลาง ร้อยละ 8.3 และพึ่งพาผู้อื่นระดับสูง ร้อยละ 8.3 3. มีความสัมพันธ์อย่ารมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ที่ระดับ .01) 4. ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกที่มีความซึมเศร้าและผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกที่ไม่มิความซึมเศร้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ที่ระดับ .01)
Other Abstract: The purpose of this descriptive study was to study the prevalence of depression in hemiparesis patients and capacity in activities of daily living in hemiparesis patients with depression. The numbers of subjects were 96 hemiparesis patients in neurological clinic and physical medical rehabilitation clinic at chulalongkorn hospital. The age of subjects were between fifty five and sixty five years old. The measurement included TGDS (Thai Geriatria Depression Scale for depression, Modified Barthel ADL Index and Chula ADL Index for capacity in activieies cf daily living. The results of this study are 1. The Prevalence of depression in hemiparesis patients is totally 71.9 percents; 46.9 percents mild depression, 21.9 percents moderate depresion an 3.1 percents severe depression. 2. 83.4 percents of the hemiparesis patients with depression are mild dependence, 8.3 percents are moderate dependence and 8.3 percents are severe dependences. 3. Depression is significantly associated with capacity in activities of daily living in hemiparesis patients (p = .001) 4. There are significantly differences with capacity in activities of daily living between the hemiparesis patients with and without depression (P = .01)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69235
ISSN: 9743321861
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pirum_yu_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ450.18 kBAdobe PDFView/Open
Pirum_yu_ch1.pdfบทที่ 1484.32 kBAdobe PDFView/Open
Pirum_yu_ch2.pdfบทที่ 22.87 MBAdobe PDFView/Open
Pirum_yu_ch3.pdfบทที่ 3501.23 kBAdobe PDFView/Open
Pirum_yu_ch4.pdfบทที่ 4543.59 kBAdobe PDFView/Open
Pirum_yu_ch5.pdfบทที่ 5453.81 kBAdobe PDFView/Open
Pirum_yu_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก583.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.