Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71689
Title: กลยุทธ์การจัดการนิตยสารธุรกิจรายเดือน และความพึงพอใจของผู้รับสารในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ
Other Titles: Management strategies of monthly business magazines and the reader's gratification during economic crisis
Authors: วีระภัทร์ จิรัฐิติชีพ
Advisors: ดรุณี หิรัญรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วารสาร
การสื่อสารทางการตลาด
Periodicals
Communication in marketing
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากลยุทธ์การจัดการนิตยสารธุรกิจรายเดือน ปัจจัยที่ทำให้นิตยสารธุรกิจรายเดือนอยู่รอดได้ ความพึงพอใจของผู้รับสาร และความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การจัดการของนิตยสารธุรกิจราย เดือนกับความพึงพอใจของผู้รับสารในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ผลการวิจัย พบว่า องค์กรผู้ผลิตนิตยสารธุรกิจรายเดือนทั้ง 2 ชื่อฉบับ คือ วารสารข่าวการเงินธนาคาร และ นิตยสารดอกเบี้ย มีกลยุทธ์การจัดการในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน คือ มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก โดยมุ่งเน้นการปรับวิธีการนำเสนอด้านการข่าวและบทความให้มีความลึกมากขึ้น มีการคัดเลือกข่าวสารมากยิ่งขึ้น มุ่งเสนอเนื้อหาสาระที่มีความแตกต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตัวผลิตกัณฑ์ มีการลดต้นทุนในการผลิต โดยการลดจำนวนหน้า และมุ่งเน้นนโยบายการประหยัดในทุก ๆ ด้าน อาทิ ด้านพลังงาน ด้านค่าใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดการจ้างนักเขียนพิเศษ หรือการลดเงินเดือนพนักงาน นอกจากนี้ยังได้มีการปรับกลยุทธ์การตลาด ในส่วนของการขายโฆษณา โดยมีนโยบายรักษาสัมพันธภาพกับลูกค้าที่เคยซื้อเนื้อที่โฆษณา และกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะซื้อเนื้อที่โฆษณา สำหรับปัจจัยที่ทำให้นิตยสารธุรกิจรายเดือนอยู่รอดได้ในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ พบว่า มีปัจจัยหลักคือ การนำเสนอเนื้อหา ต้องมีความเจาะลึก มีคุณภาพ และปัจจัยความเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ผู้ซื้อเนื้อที่โฆษณา และผู้อ่าน ตัดสินใจซื้อโฆษณา หรือนิตยสารนั้นได้ง่ายขึ้น ส่วนการบริหาร การจัดองค์กร การลดต้นทุน กระบวนการผลิต และการตลาด ถ้ามีการผสมผสานปัจจัยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะทำให้นิตยสารธุรกิจรายเดือนสามารถอยู่รอดได้ในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ในส่วนของความคาดหวังของผู้รับสารในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจนั้น พบว่า เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ของผู้อ่านวารสารข่าวการเงินธนาคารที่แตกต่างกัน ทำให้มีความคาดหวังที่แตกต่างกัน ส่วนผู้อ่าน นิตยสารดอกเบี้ย พบว่า รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาการอ่านที่แตกต่างกัน ทำให้มีความคาดหวังแตกต่างกัน ในด้านความพึงพอใจที่ได้รับจากนิตยสารธุรกิจรายเดือนในภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจนั้น พบว่า เพศ และระดับการศึกษา ของผู้อ่านวารสารข่าวการเงินธนาคารที่แตกต่างกันทำให้มีความพึงพอใจที่แตกต่างกัน ส่วนผู้อ่านนิตยสารดอกเบี้ย พบ ว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ไม่ทำให้ความพึงพอใจแตกต่างกันแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังพบว่า กลยุทธ์การจัดการของนิตยสารธุรกิจรายเดือนทั้ง 2 ชื่อฉบับ คำนึงถึงความพึงพอใจของผู้อ่านเป็นหลัก โดยจะเน้นในเรื่องการนำเสนอเนื้อหาให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นด้วย
Other Abstract: The purpose of the research is to study the management strategies of monthly business magazines, factors of monthly business magazines to be survive, the reader's gratifications and relationships between management strategies and reader's gratifications during economic crisis. The result of the research found that two monthly business magazines, namely Money & Banking Magazine and Interest Magazine have similar strategies management during economic crisis. Both of them have few improvement and adjustment but focus on Investigative news and articles, more selectivity on the issues, try to publish different contents to differentiate from other printed matters. On the cost side, they reduce their production costs by page reduction and implementation of cost saving policy for example, energy, freelance's rate and employee's salary cut. Moreover, they also settled their marketing strategies relating to the advertising sales by maintain good relationship with the existing potential customers. The main factors for surviving during the economic crisis are the presentation of the content which more depth as well as more quality, and also ownership which encourage the advertising buyers and readers to buy. Management style, organizational structure, cost deduction, production process and marketing are the important factors that make them survive. The results of the reader’s expectations during economic crisis : sex, educational background, career and monthly revenue have different effect to Money & Banking reader's expectation. For Interest Magazine, readers who have different monthly revenue and different reading period have different expectations. During the economic crisis, the reader's gratification has been found that differentiation in sex and educational background of the Money & Banking Magazine readers will lead to different in gratification. But for Interest Magazines readers, differentiation เท polulation does not have any effect to reader's gratification. Moreover, the management strategies of the two monthly magazines concentrate on reader's gratification by focusing more concentrative contents.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การหนังสือพิมพ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71689
ISSN: 9746381954
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Veerapat_ji_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ392.29 kBAdobe PDFView/Open
Veerapat_ji_ch1.pdfบทที่ 1408.15 kBAdobe PDFView/Open
Veerapat_ji_ch2.pdfบทที่ 21.52 MBAdobe PDFView/Open
Veerapat_ji_ch3.pdfบทที่ 3185.21 kBAdobe PDFView/Open
Veerapat_ji_ch4.pdfบทที่ 43.13 MBAdobe PDFView/Open
Veerapat_ji_ch5.pdfบทที่ 51.06 MBAdobe PDFView/Open
Veerapat_ji_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก946.02 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.