Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23702
Title: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ฝ่ายสามัญศึกษาประจำจังหวัด
Other Titles: Job satisfaction of the provincial elementary school supervisors
Authors: มนูญ บุญเชิด
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ศึกษานิเทศก์
ความพอใจในการทำงาน
School supervisors
Job satisfaction
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่ทำให้ศึกษานิเทศก์พึงพอใจหรือไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานระหว่างกลุ่มศึกษานิเทศก์ต่างๆโดยยึด เพศ วุฒิ อายุ เวลาในการเป็นศึกษานิเทศก์ ปฏิบัติงานตรงหรือไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ มีหรือไม่มีทักษะในการนิเทศ สับสนหรือไม่สับสนในบทบาทหน้าที่และทัศนคติที่ดีหรือไม่ดีของครูที่มีต่อศึกษานิเทศก์ วิธีการดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ศึกษานิเทศก์ฝ่ายสามัญศึกษาประจำจังหวัดจำนวน 354 คน โดยวิธีแบ่งกลุ่มในการคัดเลือกแล้วจึงสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความรู้สึกพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานจำนวน 65 ข้อ โดยแบ่งออกเป็นองค์ประกอบต่างๆรวม 11 องค์ประกอบ คือลักษณะงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบและปริมาณงาน สถานภาพของงานและตำแหน่ง การยอมรับนับถือในผลงาน นโยบายของนิเทศ ผลสัมฤทธิ์ของงาน สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล ความก้าวหน้าและความมั่นคงของงาน การบริหารในหน่วยงาน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละจากคำตอบแต่ละข้อแต่ละองค์ประกอบและทดสอบหานัยสำคัญของค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย 1. องค์ประกอบที่ศึกษานิเทศก์รู้สึกพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (1) ลักษณะงาน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (3) ความรับผิดชอบและปริมาณงาน (4) สถานภาพของงานและตำแหน่ง (5) การยอมรับนับถือ (6) นโยบายของการนิเทศ (7) ผลสัมฤทธิ์ของงาน 2.องค์ประกอบที่ศึกษานิเทศก์รู้สึกไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานได้แก่ (1) สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน (2) เงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล (3) ความก้าวหน้าและความมั่นคงของงาน (4) การบริหาร 3. ความรู้สึกพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างศึกษานิเทศก์ต่อไปนี้ (1) กลุ่มที่มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไปกับกลุ่มที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี (2) กลุ่มที่มีทักษะในการนิเทศเพียงพอกับกลุ่มที่ไม่เพียงพอ (3) กลุ่มที่สับสนในบทบาทหน้าที่กับกลุ่มที่ไม่สับสน (4) กลุ่มที่บอกว่าครูมีทัศนคติที่ดีต่อตนกับกลุ่มที่บอกว่าครูมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตน 4. ความรู้สึกพึงพอใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษานิเทศก์ต่อไปนี้ (1) กลุ่มเพศชายกับกลุ่มเพศหญิง (2) กลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี กับกลุ่มที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป (3) กลุ่มที่เป็นศึกษานิเทศก์มาต่ำกว่า 10 ปีกับกลุ่มที่เป็นศึกษานิเทศก์ (4) กลุ่มศึกษานิเทศก์ที่ปฏิบัติงานในหมวดวิชาตรงตามความรู้ความสามารถกับกลุ่มที่ปฏิบัติงานไม่ตรงตามความรู้ความสามารถ
Other Abstract: To 1. study the job satisfaction or dissatisfaction factors of the provincial elementary school supervisors. 2. compare job satisfaction between subgroup of supervisors as follows : sex, education, age, length of year in the supervisory position, opportunity to work according to their abilities, skill in supervision, understand the roles of the supervisor, the attitudes of the teachers to the supervisors Methods and Procedures The data was collected by the cluster method and by simple random sampling techniques of the questionnaires submitted to 354 provincial elementary school supervisors in Thailand. The instruments used consisted of 65 questionnaire items covering eleven job factors as follows : work itself ; interpersonal relations; responsibility; policy and principles of supervision; achievement; working conditions; salary and fringe benefits ; security and advancement; position status; recognition; and administration. The statistical treatment included the analysis by percentage and testing of significant differences between uncorrelated percentages. The research results 1. Seven factors associated with the job satisfaction were ะ work itself, interpersonal relations, policy and principle of supervision, responsibility, position status, recognition, and achievement. 2. Four factors associated with job dissatisfaction were : working conditions, salary and fringe benifits, advancement and security, and administration. 3. Job satisfaction was the significant differences between the subgroups of supervisors possessing the following characteristics : (1) Group of higher education from the bachelor degree and the lower level. (2) Group of high skill in supervision and the group of low skill in supervision. (3) Group which understood the roles of supervision well and the group which understood their roles poorly. (4) Group which said that the teachers had good attitudes to them and the opposite group. 4. Job satisfaction showed no significant differences between the subgroups of supervisors possessing the following characteristics : (1) Male and female. (2) Group of fourty years of age or more and the younger. (3) Group of ten years of supervision or more and those with less. (4) Group of supervising according to ability and the opposite group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23702
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manoon_Bo_front.pdf567.75 kBAdobe PDFView/Open
Manoon_Bo_ch1.pdf906.03 kBAdobe PDFView/Open
Manoon_Bo_ch2.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Manoon_Bo_ch3.pdf674.07 kBAdobe PDFView/Open
Manoon_Bo_ch4.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Manoon_Bo_ch5.pdf929.09 kBAdobe PDFView/Open
Manoon_Bo_back.pdf856.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.