Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41580
Title: อิทธิพลของทิศทางของสารต่อการเปิดรับสื่อทางเพศผ่านอินเตอร์เน็ตในผู้ที่มีปฏิกิริยาทางจิตสูงและต่ำ
Other Titles: The effects of message direction on exposure to pornographic media in the internet of high and low psychological reactance persons
Authors: พิมพ์ประไพ จิตหาญ
Advisors: จรุงกุล บูรพวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: อินเทอร์เน็ต -- แง่จิตวิทยา
การเปิดรับสื่อมวลชน -- แง่จิตวิทยา
Internet -- Psychological aspects
Media exposure -- Psychological aspects
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของทิศทางของสารต่อการเปิดรับสื่อทางเพศผ่านอินเทอร์เน็ตในผู้ที่มีปฏิกิริยาทางจิตสูงและต่ำ ผู้ร่วมการวิจัยเป็นผู้ที่ร่วมเข้าทดลองตามความสมัครใจทางอินเทอร์เน็ต จำนวน 605 คน โดยเมื่อผู้เข้าร่วมการวิจัยสมัครใจเข้าร่วม โดยเริ่มเข้าหน้าเว็บไชต์ที่ผู้วิจัยได้จัดกระทำจะได้รับการสุ่มด้วยโปรแกรมเพื่อเข้าเงื่อนไขวิจัยอย่างใดอย่างหนึ่งจากทั้งสามเงื่อนไขคือ ได้อ่านข้อความต่อต้านสื่อทางเพศ (TM) ข้อความสนับสนุนสื่อทางเพศ (SM) หรือได้อ่านข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องกับสื่อทางเพศ (CM) แล้วด้านล่างของข้อความข่าวผู้วิจัยได้จัดกระทำข้อความและปุ่มเชิญชวนเข้ารับชมสื่อทางเพศ ซึ่งจะวัดเป็นตัวแปรตามในการวิจัย หลังจากนั้นเมื่อปิดหน้าข่าวจะมีหน้าเว็บที่เป็นมาตรวัดปฏิกิริยาทางจิตและแบบสอบถามเจตคติต่อสื่อทางเพศขึ้นมา เมื่อผู้เข้าร่วมการวิจัยตอบแบบสอบถามและกดปุ่มส่งข้อมูลแล้วถือเป็นการสิ้นสุดการเข้าร่วมการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับปฏิกิริยาทางจิตไม่มีปฏิสัมพันธ์กับทิศทางของสารซึ่งส่งผลต่ออัตราการเปิดรับสื่อทางเพศ 2.กลุ่มที่ได้รับข้อความต่อต้านสื่อทางเพศอัตราการเปิดดูสื่อทางเพศที่นำเสนอไว้ไม่แตกต่างกันกับกลุ่มที่ได้รับข้อความสนับสนุนให้มีสื่อทางเพศและกลุ่มควบคุม 3.อัตราการเปิดดูสื่อทางเพศมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนปฏิกิริยาทางจิตและคะแนนเจตคติต่อสื่อทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.กลุ่มที่มีปฏิกิริยาทางจิตต่ำมีอัตราการเลือกเปิดดูสื่อทางเพศที่ไม่แตกต่างกันในทั้ง 3 เงื่อนไขทิศทางของสาร คือ กลุ่มที่ได้รับข้อความต่อต้านสื่อทางเพศ กลุ่มที่ได้รับข้อความสนับสนุนให้มีสื่อทางเพศ และ กลุ่มควบคุม 5.กลุ่มที่มีปฏิกิริยาทางจิตสูงมีอัตราการเลือกเปิดดูสื่อทางเพศที่ไม่แตกต่างกันในทั้ง 3 เงื่อนไขทิศทางของสาร คือ กลุ่มที่ได้รับข้อความต่อต้านสื่อทางเพศ กลุ่มที่ได้รับข้อความสนับสนุนให้มีสื่อทางเพศ และ กลุ่มควบคุม 6.กลุ่มที่มีปฏิกิริยาทางจิตสูงมีอัตราการเปิดรับสื่อทางเพศและคะแนนเจตคติต่อสื่อทางเพศสูงกว่ากลุ่มที่มีปฏิกิริยาทางจิตต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .001 ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the effects of message direction on exposure to pornographic media in the internet of high and low psychological reactance persons. Participants were 605 people who visited the manipulated website voluntarily. They were programmed to be randomly led into one of the 3 conditions which are exposure to anti-pornographic message (Threatening Media), pro-pornographic message (Supportive Media), and the control group (Control Media). The bottom part of each message had a hyperlink button which ostensibly led to an adult website where the dependent variable, the number of clicks a participant made, were recorded. As soon as a participant closed the message’s webpage, the Psychological Reactance Questionnaire and the Attitude toward Sexual Media appeared for the participant to fill in. The number of times participants in each condition clicked to see the adult website and their attitude toward sexual media were compared. The results shown that: 1.There is no interaction effect between the level of psychological reactance and message condition on both the rate of clicking to view the adult website and the attitude towards sexual media. 2.The rate of clicking to view the adult website of participants exposed to the anti-pornographic message do not differ significantly from those in the other two conditions. 3.Psychological reactance significantly correlates (p < .01) with both the rate of clicking to view the adult website and the attitude towards sexual media. 4.There are no differences in both the rate of clicking to view the adult website and the attitude towards sexual media between the high and low psychological reactance groups exposing to the three kinds of message. 5.There are no differences in both the rate of clicking to view the adult website and the attitude towards sexual media between the high and low psychological reactance groups exposing to the three kinds of message. 6.High psychological reactance group has significantly more number of clicks (p < .05) to view the adult website and more positive attitude (p < .001) toward sexual media than low psychological reactance group.
Description: วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41580
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2008
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.2008
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimprapai_ji_front.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Pimprapai_ji_ch1.pdf6.04 MBAdobe PDFView/Open
Pimprapai_ji_ch2.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Pimprapai_ji_ch3.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Pimprapai_ji_ch4.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Pimprapai_ji_ch5.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Pimprapai_ji_back.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.