Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64396
Title: การรับรู้บทบาทหญิงชายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Gender role perception of secondary school students in schools under the Department of General Education, Bangkok metropolis
Authors: กรแก้ว คงเดชา
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
นงลักษณ์ ประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: บทบาทตามเพศ
นักเรียนมัธยมศึกษา
การรับรู้
Sex role
High school students
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้บทบาทหญิงชายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบการรับรู้บทบาทหญิงชายตามตัวแปรด้านเพศ วัย และประเภทของโรงเรียน ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชาย 400 คน และนักเรียนหญิง 400 คน ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร จากโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้ง 3 ประเภท คือ โรงเรียนชายล้วน โรงเรียนหญิงล้วน และโรงเรียนสหศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการรับรู้บทบาทของเพศหญิงและแบบสอบถามการรับรู้บทบาทของเพศชาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การรับรู้บทบาทหญิงชายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา พบว่าในด้านคุณลักษณะความเป็นหญิงชายคุณลักษณะที่นักเรียนรับรู้ว่าเป็นลักษณะของหญิงมากที่สุด คือ กตัญญู ส่วนคุณลักษณะที่นักเรียนรับรู้ว่าเป็นคุณลักษณะของชายมากที่สุด คือ ชอบกีฬา และด้านความสามารถในการประกอบอาชีพนั้น นักเรียนรับรู้ว่า ผู้หญิงมีความสามารถในการประกอบอาชีพช่างเสริมความงาม และผู้ชายมีความสามารถในการประกอบอาชีพตำรวจสูงสุด ในด้านการทำกิจกรรมในครอบครัว นักเรียนรับรู้ว่าการเลี้ยงดูลูกเป็นกิจกรรมของหญิง และการดูแลรักษาความปลอดภัยในบ้านเป็นกิจกรรมของชายมากที่สุด ด้านการทำกิจกรรมยามว่าง กิจกรรที่นักเรียนรับรู้ว่าเป็นกิจกรรมของหญิงคือการดูละครหรือภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ และกิจกรรมยามว่างของชายคือการดูรายการกีฬาทางโทรทัศน์ ส่วนด้านความสามารถทางวิชาการนักเรียนรับรู้ว่าผู้หญิงมีความสามารถทางวิชาการด้านการดูแลสุขภาพร่างกายและผิวพรรณ และผู้ชายมีความลามารถในความรู้เรื่องช่างมากที่สุด 2. นักเรียนหญิงมีการรับรู้บทบาทหญิงสูงกว่านักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนชายมีการรับรู้บทบาทชายสูงกว่านักเรียนหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีการรับรู้บทบาทหญิงและบทบาทชายสูงกว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนหญิงในโรงเรียนหญิงล้วนและโรงเรียนสหศึกษามีการรับรู้บทบาทหญิงและบทบาทชายไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนชายในโรงเรียนชายล้วนมีการรับรู้บทบาทหญิงไม่แตกต่างจากนักเรียนชายในโรงเรียนสหศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่นักเรียนชายในโรงเรียนชายล้วนมีการรับรู้บทบาทชายสูงกว่านักเรียนชายในโรงเรียนสหศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study gender role perception of secondary school students in Bangkok and to compare gender role perception from 3 factors: gender, age and kind of schools (single-sex schools and co-educational schools). The subjects were 400 male students and 400 female students of secondary school from male schools, female schools and co-education schools under Department of General Education, Bangkok metropolis. The instrument used was the questionnaire on gender role perceptions of women roles and men roles. Datas were analyzed by t-test at the significant level of .05. The results were as follows: 1. Secondary school students had perception on present Thai women roles and Thai men roles: character that students perceived for women roles was gratitude, and character that students perceived for men roles was athletic. Vocation that students perceived for women roles was beautician, and vocation that students perceived for men roles was police. Domestic Activity that students perceived for women roles was child caring, and domestic activity that students perceived for men roles was domestic security. Leisure-time Activity that students perceived for women roles was watching television drama, and leisure-time activity that students perceived for men roles was watching sports television program. Academic subject that students perceived for women roles was health and body knowledge, and academic subject that students perceived for men roles was mechanical skill. 2. Female students had higher perception on women roles than male students at the significant level of .05, and male students had higher perception on men roles than female students at the significant level of .05. 3. The upper secondary school students had higher perception on women and men roles than the lower secondary school students at the significant level of .05. 4. Female in female schools and co-education schools did not have different perception on present Thai women roles and Thai men roles at the significant level of .05. 5. Male students in male school and co-education schools did not have different perception on women roles at the significant level of .05. But male students in male schools had higher perception on men roles than male students in co-education schools at the significant level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64396
ISBN: 9741700644
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kornkaew_ko_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อและ สารบัญ1.03 MBAdobe PDFView/Open
Kornkaew_ko_ch1_p.pdfบทที่ 1871.5 kBAdobe PDFView/Open
Kornkaew_ko_ch2_p.pdfบทที่ 22.4 MBAdobe PDFView/Open
Kornkaew_ko_ch3_p.pdfบทที่ 3734.6 kBAdobe PDFView/Open
Kornkaew_ko_ch4_p.pdfบทที่ 42.48 MBAdobe PDFView/Open
Kornkaew_ko_ch5_p.pdfบทที่ 5964.62 kBAdobe PDFView/Open
Kornkaew_ko_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.