Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66641
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายของเยาวชนไทย
Other Titles: Factors influencing physical exercise among Thai youths
Authors: อรุณี ศรีวรรณวิทย์
Advisors: พัฒนาวดี ชูโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เยาวชน -- ไทย
การออกกำลังกาย
Youth -- Thailand
Exercise
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกกำลังกายและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายของเยาวชนไทยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากโครงการสำรวจเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2545 ดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้คือผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเองที่มีอายุตั้งแต่ 15-24 ปีจำนวนทั้งสิ้น 14,305 คน ผลการศึกษาการออกกำลังกายพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายกับไม่ออกกำลังกายมีจำนวนเท่ากันโดยกลุ่มที่ออกกำลังกายจะออกกำลังกายเป็นประจำมากกว่าออกกำลังกายเป็นครั้งคราวและส่วนใหญ่ใช้สนามกีฬาของสถานศึกษาเป็นที่ออกกำลังกายออกกำลังกายตั้งแต่เวลา 17.00 น. ขึ้นไปมีระยะเวลาในการออกกำลังกายครั้งละ 21-60 นาทีนิยมออกกำลังกายเป็นทีมและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของร่างกายส่วนกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายเนื่องจากไม่มีเวลาออกกำลังกายเป็นส่วนใหญ่ผลการวิเคราะห์ระดับ2 ตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ตารางไขว้และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เป็นไปตามสมมติฐานได้แก่เพศ อายุ สถานภาพสมรส สถานภาพการทำงาน รายได้ ประเภทของสถานศึกษา การได้รับข่าวสารด้านกีฬาและความถี่ในการดูกีฬาต่างมีอิทธิพลต่อการออกกำลังกายกล่าวคือกลุ่มตัวอย่างเพศชายที่มีอายุน้อย เป็นโสด ไม่ได้ทำงาน รายได้น้อยศึกษาอยู่ในโรงเรียนรัฐบาลได้รับข่าวสารด้านกีฬาและดูกีฬาเป็นประจำมีสัดส่วนของผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีอายุมาก สมรส หรือหม้าย หย่า แยก เป็นนายจ้างหรือผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวช่วนธุรกิจโดยไม่ได้รับค่าจ้างเป็นลูกจ้างรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจหรือเป็นลูกจ้างเอกชน รายได้มากไม่ได้กำลังศึกษาหรือศึกษาอยู่ในโรงเรียนเอกชนไม่ได้รับข่าวสารด้านกีฬาและไม่ดูกีฬาหรือดูกีฬาเป็นครั้งคราวตามลำดับ สำหรับผลการวิเคราะห์ระดับหลายตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกเชิงพหุแบบอเนกนามที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรผันของการออกกำลังกายได้ร้อยละ 42.9 และเมื่อควบคุมตัวแปรอิสระอื่นๆแล้วพบว่าตัวแปรที่ยืนยันความสัมพันธ์เดิมที่พบในระดับ 2 ตัวแปรได้แก่เพศ อายุ สถานภาพสมรส ประเภทของสถานศึกษา การได้รับข่าวสารด้านกีฬาและความถี่ในการดูกีฬาต่างมีอิทธิพลต่อการออกกำลังกาย ข้อค้นพบจากการศึกษานี้เสนอแนะว่ารัฐบาลยังคงต้องให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านงบประมาณความรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อส่งเสริมให้ประชากรออกกำลังกายอย่างถูกต้องให้มากขึ้น
Other Abstract: The results find no difference in number of persons who exercise and those who do not exercise. More persons exercise regularly while the rest exercise occationally. Most of them exercise at their educational institution’s sport stadium, at around 5 p.m., for 21-60 minutes, with their friends in team games, and for health reasons. For those who do not exercises, mostly report that they do not have time. Results of the bivariate analysis by crosstabulation with X2-test at the level of 0.05 statistical significant shows that physical exercise is related, as hypothesized, with the following variables, namely: sex, age, marital status, employment status, income, type of educational institution, exposure to exercises and sports information, and frequency of watching exercises and sports. As hypothesized, those who exercise regularly are male, younger, single, unemployed, less income, studying in governmental school/university, expose to exercises and sports information, and watch exercises and sports regularly rather than those who are female, older, married/ widow/ divorced/ separated, own business or help business without paid or being government/state enterprise/private owned employees, more income, uneducated or study in private school/university, do not expose to exercises and sports information, and watch exercises and sports occasionally, respectively. Results of multinomial logistic regression analysis at the level of 0.0 statistical significant shows that all independent variables together can explain the variation of engaging in physical exercise by 42.9 percents. In addition, after controlling all other independent variables, the results of variables related with physical exercise which confirm the bivariate analyses are sex, age, marital status, type of education institution, exposure to exercises and sports information, and frequency of watching exercises and sports. Finally, findings from this study suggest that the government should allocate more budgets, knowledge and exercises/sports facilities in order to promote more appropriate exercise to Thai youths as well as other groups of people.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66641
ISBN: 9741744552
Type: Thesis
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunee_sr_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ871.37 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_sr_ch1_p.pdfบทที่ 11.76 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_sr_ch2_p.pdfบทที่ 21.04 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_sr_ch3_p.pdfบทที่ 31.98 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_sr_ch4_p.pdfบทที่ 4892.44 kBAdobe PDFView/Open
Arunee_sr_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.