Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67263
Title: ลักษณะและพฤติกรรมการใช้สินค้าของผู้ชายในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Consumer profile and product usage of male consumers in Bangkok
Authors: ต้องจิต วรพุทธพร
Advisors: สราวุธ อนันตชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Saravudh.A@chula.ac.th
Subjects: ผู้บริโภคชาย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
พฤติกรรมผู้บริโภค
Male consumers -- Thailand -- Bangkok
Consumer behavior
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ทราบปริมาณการใช้สินค้าอุปโภคและบริโภคประเภทต่าง ๆ ของผู้ชายในกรุงเทพมหานคร และนำตัวเลขแสดงปริมาณการใช้สินค้านั้นไปจัดกลุ่มผู้บริโภคตามระดับหรือปริมาณการใช้สินค้า และ 2. ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษระทางประชากรกับประเภทสินค้าที่ใช้ และระดับหรือปริมาณการใช้สินค้า โดยกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทำการศึกษา คือ ผู้ชายอายุ 12-49 ปี ที่อาศัย ทำงาน หรือเรียนหนังสือในกรุงเทพมหานคร จำนวน 612 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้สินค้าส่วนใหญ่ (จากสินค้า 50 ประเภท) แตกต่างไปตามอายุ การศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ และสถานภาพการสมรส โดยสินค้าที่ถือเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ยาสีฟัน สบู่ก้อนสำหรับผิวกาย เจลหรือโฟมล้างหน้า และแชมพู มีความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้สินค้าน้อยมาก ส่วนสินค้าที่ไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันมากนัก เช่น สุรา เบียร์ ช็อคโกแล็ต บริการ ส่งอาหารถึงที่ ยาแก้ปวด เทปเพลง และฟิล์มถ่ายรูป มีความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้สินค้าค่อนข้างมาก
Other Abstract: The purposes of this study were to (1) study quantities of product usage of male consumers in Bangkok and classify them into three usage levels (i.e., heavy, medium, and light). (2) examine the relationship between demographic variables and product usage level in each product category. Questionnaires were used to collect data from 612 male samples aged 12-49 years old in Bangkok. The results show that; among the 50 product categories studied, the sample group with different age, educational level, occupation, income ,and marital status had different usage behaviors. Elaborately, usage behaviors in everyday products (e.g., toothpaste, body soap, facial gel or foam, and shampoo) were slightly different among the groups while those in unnecessary goods (e.g., liquor, beer, chocolate, food delivery, pain relief pill, musical tape, and photo film) were much more different.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67263
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.358
ISSN: 9743468765
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.358
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tongjit_vo_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ874.83 kBAdobe PDFView/Open
Tongjit_vo_ch1_p.pdfบทที่ 1723.57 kBAdobe PDFView/Open
Tongjit_vo_ch2_p.pdfบทที่ 21.57 MBAdobe PDFView/Open
Tongjit_vo_ch3_p.pdfบทที่ 3895.76 kBAdobe PDFView/Open
Tongjit_vo_ch4_p.pdfบทที่ 44.15 MBAdobe PDFView/Open
Tongjit_vo_ch5_p.pdfบทที่ 51.83 MBAdobe PDFView/Open
Tongjit_vo_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.