Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67272
Title: ทฤษฎีความจริงในพุทธปรัชญาเถรวาท
Other Titles: Theory of truth in Theravada Buddhism
Authors: ชาญณรงค์ บุญหนุน
Advisors: สมภาร พรมทา
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พุทธปรัชญา
พุทธศาสนาเถรวาท
ความจริง -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มีทัศนะใหญ่ 2 ทัศนะที่ตรงกันข้ามกันเกี่ยวกับทฤษฎีความจริงในพุทธปรัชญาเถรวาท ทัศนะแรกได้แก่ทัศนะแบบสัจนิยมของชยติลเลเกที่ว่า ทฤษฎีความจริงในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นทฤษฎีความจริงแบบสมนัยแบบหนึ่งแต่พุทธศาสนาก็ยอมรับด้วยว่าความสหนัยเป็นเกณฑ์ตัดสินความจริง ทัศนะที่สอง ได้แก่ ทัศนะแบบปฏิบัตินิยมซึ่งเสนอโดยเดวิด คลุปหานะ ตามทัศนะนี้ พุทธศาสนายอมรับเกณฑ์ตัดสินความจริงแบบปฏิบัตินิยมเท่านั้นว่าเป็นเกณฑ์ตัดสินความจริง ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนเสนอทฤษฎีความจริงของพุทธปรัชญาที่ให้คำอธิบายเกี่ยวกับมโนทัศน์เรื่องความจริงและเกณฑ์ตัดสินความจริง (หรือ การให้เหตุผลสนับสนุนความจริง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เขียนได้เสนอว่า ตามคำสอนในพระบาลีและวรรณคดีบาลีอื่น ๆ ทฤษฎีความจริงของพุทธปรัชญาเถรวาทไม่สามารถจัดเข้าในทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งในบรรดา3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีความจริงแบบสมนัย ทฤษฎีความจริงแบบสหนัย และทฤษฎีความจริงแบบปฏิบัตินิยมตรงกันข้าม ผู้เขียนเสนอว่า ทฤษฎีความจริงในพุทธปรัชญาเป็นทฤษฎีหนึ่งที่ผู้เขียนจะเรียกว่า "สัจนิยมเชิงปฏิบัตินิยม" หรือ "ทฤษฎีความจริงแบบวิภัชชวาท" ในบริบทของพุทธศาสนา ในพุทธปรัชญา เงื่อนไขความจริงของข้อความหนึ่งโดยสาระสำคัญ ขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้แสดงข้อความนั้น สิ่งนี้ทำให้พุทธปรัชญาสัมพันธ์กันกับทั้งทฤษฎีความจริงแบบสมนัยและทฤษฎีความจริงแบบสหนัย สำหรับปัญหาเกี่ยวกับเกณฑ์ตัดสินความจริง ตามบาลี ผลเชิงปฏิบัติ หรือ เหตุผลเชิงปฏิบัติเป็นสิ่งที่พุทธปรัชญาเรียกร้องโดยตรง แต่ไม่ชัดเจนว่า ความสอดคล้องได้รับการเรียกร้องโดยตรงด้วยนอกจากนี้ ยังมีสิ่งหนึ่งในพุทธปรัชญาเถรวาทที่ทำให้พุทธปรัชญาอยู่ในแนวเดียวกันกับทฤษฎีความจริงแบบปฏิบัตินิยมมากกว่าทฤษฎีอื่น ๆ กล่าวคือ ท่าทีแบบปริวรรตนิยมที่มีต่อความจริงของพุทธปรัชญา
Other Abstract: There are two major contrary perspectives on thetheory of truth in Theravada Buddhism. One isJayatilleke's realist perspective - theory of truth inTheravada Buddhism is a kind of correspondence theory,but Buddhism also accepts coherence as criterion oftruth. The other is a pragmatic perspective, a viewproposed by David Kalupahana. According to this view,Buddhism accepts only the pragmatic criterion (orjustification) of truth. In this dissertation, I propose a Buddhist Theoryof Truth which explicates the concept of truth andcriterion (or justification) of truth. Morespecifically, I argue that, according to the Pali canonand other Pali literatures, Theravada theory of truthcannot be classified as either one of the classicaltheory, namely the correspondence, coherence, andpragmatic theory. On the contrary, I propose a theorywhich I shall call "Pragmatic Relism," or in the Palicontext, "Vibhajjavada theory of Truth." In Buddhism, truth condition of a statementdepends essentially on language used to express thatstatement. This makes Buddhism correlatable with boththe correspondence and coherence theories of truth. Asfor the question of criterion of truth, pragmaticconsequences or practical reasons are requiredaccording to the Pali canon. It is not clear in thetexts that coherence is also required. In any case,there is one thing in Theravada Buddhism that aligns itmore with pragmatic theory of truth than with anyother. That is its fallibillistic attitude towardtruth.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67272
ISBN: 9746370251
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Channarong_bo_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ997.72 kBAdobe PDFView/Open
Channarong_bo_ch1_p.pdfบทที่ 1925.57 kBAdobe PDFView/Open
Channarong_bo_ch2_p.pdfบทที่ 24.01 MBAdobe PDFView/Open
Channarong_bo_ch3_p.pdfบทที่ 35.18 MBAdobe PDFView/Open
Channarong_bo_ch4_p.pdfบทที่ 43.25 MBAdobe PDFView/Open
Channarong_bo_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก868.08 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.