Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68373
Title: อนาคตภาพการจัดการศึกษาต่อเนื่องสำหรับพยาบาลวิชาชีพ
Other Titles: Scenario of continuing education management for professional nurses
Authors: พรเพ็ญ สิงหวรรณกุล
Advisors: ประนอม รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: branom.r@chula.ac.th
Subjects: การศึกษาต่อเนื่อง
พยาบาล
เทคนิคเดลฟาย
Continuing education
Nurses Delphi method
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพการจัดการศึกษาต่อเนื่องสำหรับพยาบาลวิชาชีพในปี พ.ศ.2545-2549 โดยใช้เทคนิคเดลฟายดังนี้ คือ ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมากำหนดประเด็นในการสร้างแบบสอบถาม เกี่ยวกับลักษณะหลักสูตร กลยุทธการจัดการเรียนการสอน คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และการบริหาร จัดการด้านอาคารสถานที่ บุคลากร งบประมาณ ของหลักสูตรอบรมระยะสั้นเฉพาะทาง หลักสูตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตทางพยาบาลศาสตร์ รวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 27 ท่าน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น 3 รอบ รอบที่ 1 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด รอบที่ 2 และ รอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1.ด้านลักษณะหลักสูตร ทั้ง 3 หลักสูตรมีลักษณะที่คล้ายกัน คือ เป็นหลักสูตรบูรณาการ จัดการศึกษาเพื่อการ ดูแลสุขภาพประชาชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา อนาคตภาพด้านการประเมินผล ทั้ง 3 หลักสูตร ให้ผู้เรียนกำหนดแผนการประเมินผลของตนเอง มีการติดตามผู้สำเร็จการศึกษา มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในระบบการประเมินผล หลักสูตรอบรมระยะสั้นเฉพาะทางและหลักสูตรมหาบัณฑิตควรเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น 2.ด้านกลยุทธการจัดการเรียนการสอน ทั้ง 3 หลักสูตรควรให้ผู้เรียนฝึกงานในสถานที่ที่ผู้เรียนปฏิบัติงานอยู่ โดยพัฒนาแนวคิดหรือสร้างงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และประเมินผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ในหลักสูตรมหาบัณฑิต หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สร้างเครือข่ายในการจัดการเรียนการสอนระหว่างสถาบันการศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน สามารถเทียบโอนหน่วยกิตระหว่าง สถาบันการศึกษาได้ในการศึกษาระดับเดียวกัน มีการเขียนบทความตีพิมพ์ในวารสารทั้งภายในและต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของ course requirement จัดให้มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษในบางรายวิชา หลักสูตรอบรมระยะสั้นเฉพาะทาง ฝ่ายบริการพยาบาลควรเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น 3. ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้ง 3 หลักสูตรจะคล้าย ๆกัน ต่างตรงที่หลักสูตรมหาบัณฑิต หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่ศึกษาอย่างเด่นชัด นำไปปฏิบัติการพยาบาล การบริหารการพยาบาท การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสูด โดยนำศาสตร์สาขาต่าง ๆมาบูรณาการ 4. ด้านบริหาร ทั้ง 3 หลักสูตรควรบริหารในรูปคณะกรรมการ บุคลากรทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร การพัฒนาบุคลากร สถาบันควรให้ทุนในการศึกษาต่อ สถาบันจูงใจบุคลากรโดยเน้นปัจจัยที่ไม่เป็นตัวเงินในรูปแบบของ สวัสดิการ ด้านอาคารสถานที่ใช้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสูด มีการใช้อาคารสถานที่ในลักษณะเครือข่าย การบริหารด้าน งบประมาณของสถาบันการศึกษควรจะนำไปสู่การพึ่งตนเอง โดยมีอิสระในการบริหารงบประมาณภายใต้การมีระบบตรวจสอบจากสังคม
Other Abstract: The objective of this research was to study scenario of continuing education management for professional nurse in the year 2002 to 2006: using Delphi technique. The instrument used was the constructed questionnaire, concerning curriculum, instructional strategies, graduate characteristic and curriculum management for short term, Master’s degree, and doctoral degree program. The questionnaire was sent to 27 experts for 3 rounds. The first round was open ended form, the second and the third were closed ended form in rating scale, the data were analysed by median, mode and interquatile range. The result revealed that 1. Curriculum; all three curriculurm should be integrated type, community based care, quality assured. The composition of the short term curriculum and Master’s program should be community oriented, and people in community should involve in planning the curriculum for community needs relevancy. For curriculum evaluation, in all three curriculum student should develop self-evaluation plan. There should be follow up study for graduates. Information technology will be used in evaluation system. 2. Instructional strategies; all three curriculum should have their student practice at their own work place, by developing their performance in relevant to curriculum objective. Master’s degree and doctoral degree program should have network with national and international level, information technology should be used in instructional process, credit should be referred between institutions. Article published in journal, nationally and internationally should be identified in course requirement, some course should be taught in English language. For short term curriculum, nursing service department should have more instructional role. 3. Desirable characteristic of the graduates; those from Master’s degree and doctoral degree should be able to construct new knowledge, be the experts in their own specialization, and being able to integrate knowledge from different disciplines in nursing practice, administration, and teaching effectively. 4. Curriculum administration; all three curriculum should be managed by committee, all level of personnel should be involved, personnel development should be in the form of continuing education scholarship. Personnel motivation should be in the form of welfare other than money. Buildings should be used effectively by network system. Budget admiration, should be self reliance having freedom under social accountability system.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68373
ISSN: 9743324291
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpen_si_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ368.97 kBAdobe PDFView/Open
Pornpen_si_ch1.pdfบทที่ 1196.06 kBAdobe PDFView/Open
Pornpen_si_ch2.pdfบทที่ 23.71 MBAdobe PDFView/Open
Pornpen_si_ch3.pdfบทที่ 3377.63 kBAdobe PDFView/Open
Pornpen_si_ch4.pdfบทที่ 42.72 MBAdobe PDFView/Open
Pornpen_si_ch5.pdfบทที่ 52.02 MBAdobe PDFView/Open
Pornpen_si_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก6.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.