Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68784
Title: ศิลปินเพลงไทยและเครือข่ายการสื่อสารกับแฟนคลับ
Other Titles: Thai popular singers and fan clubs communication network
Authors: เจษฎา รัตนเขมากร
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: แฟนคลับ
พฤติกรรมผู้บริโภค
จิตวิทยาสังคม
การสื่อสารทางการตลาด
นักร้อง -- ไทย
Fan clubs
Consumer behavior
Social psychology
Communication in marketing
Singers -- Thailand
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องศิลปินเพลงไทยและเครือข่ายการสื่อสารกับแฟนคลับ มีวัตถุประสงค์เพี่อที่จะศึกษาเครือข่ายการสื่อสารของแฟนคลับ ลักษณะของแฟนคลับ ลักษณะของสมาซิกแฟนคลับ และปัจจัยในการทำให้แฟนเพลงสมัครเป็นสมาชิกแฟนคลับ เมื่อผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์ “ผู้ก่อตั้งแฟนคลับ" เพี่อแบ่งประเภทของแฟนคลับพบว่า แฟนคลับของศิลปินในปัจจุบัน มีอยู่ 4 ประเภทคือ แฟนคลับที่จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทเทปเพลง เช่นอาร์เอส สตาร์คลับ แฟนคลับที่จัดตั้งขึ้นโดยศิลปิน เช่น คริสตินา แฟนคลับ และทาทายัง แฟนคลับ แฟนคลับที่จัดตั้งขึ้นโดยแฟนเพลงอย่างเป็นทางการเช่น นิโคล แฟนคลับ และแฟนคลับที่เกิดจากการรวมตัวกันของแฟนเพลงอย่างไม่เป็นทางการ สมาชิกแฟนคลับของศิลปินทั้ง 3 ประเภท มีลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคิด "fans" ที่ว่า แฟนคือกลุ่มที่ติดตาม เนื้อหาหรือผลงานของสื่อมวลชน ซึ่งในที่ นี้ก็คือ ศิลปินหรือข่าวคราวต่าง ๆ ของศิลปิน ซึ่งการติดตามด้วยความชื่นชอบที่มีต่อศิลปินนั้น พบว่า มีทั้งสมาชิกที่ติดตามไปคนเดียวและไปเป็นกลุ่ม ซึ่งแฟนแบบกลุ่มนี้ จะมีลักษณะที่ลอดคล้องกับแนวคิดของ Jenson ที่ว่า “เป็นกลุ่มที่มีลักษณะจงรักภักดีต่อสิ่งที่ตนหลงใหล และหลังจากนั้นก็จะเกิดความจงรักภักดีต่อกลุ่มที่หลงใหลในสิ่งเดียวกับตนเอง" ซึ่งในที่ นี้ก็คือ เพื่อนสมาชิกแฟนคลับด้วยกัน โดยสมาชิกมักจะยินยอม ทำตาม หรือมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกันกับเพื่อนสมาชิกนั่นเอง ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของสมาชิกแฟนคลับที่ถูกค้นพบ คือสมาชิก แฟนคลับจะรู้สึกไม่พอใจและต่อต้านเมื่อรู้ว่าแฟนคลับที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้นทำขึ้นมาเพี่อการค้ามากกว่าการทำขึ้นมาด้วยใจ สำหรับเครือข่ายการสื่อสารของแฟนคลับที่จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทและโดยศิลปินนั้นพบว่า "ศิลปิน" ถือเป็น “ตำแหน่งศูนย์กลาง" ที่สุดในเครือข่าย เพราะจะเป็นตำแหน่งที่ส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไปให้กับสมาซิก ส่วนแฟนคลับที่จัดตั้งขึ้นโดยแฟนเพลงอย่างเป็นทางการนั้นพบว่า "ผู้จัดตั้งแฟนคลับ” เป็น "ตำแหน่งศูนย์กลาง’' ซึ่งสมาชิกจะต้องเข้าไปหา ตำแหน่งศูนย์กลางเอง โดยสมาชิกมักจะนำข่าวสารนั้นส่งต่อไปให้เพื่อนสมาชิกด้วยกันอีกทอดหนึ่ง ซึ่งถือเป็นการติดต่อสื่อสารในรูปแบบตาข่าย เมื่อเครือข่ายมีขนาดใหญ่สมาชิกแฟนคลับมักจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เพียงไม่กี่คนเท่านั้น โดยจะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่มีความเหมือนกับตัวเองมากที่สุด แต่ในกรณีที่สมาชิกมีนิสัยบางอย่างไม่เหมือนกับกลุ่มเพื่อน สมาชิกเหล่านี้ก็จะปรับเปลี่ยนนิสัยให้เหมือนกับเพื่อนทันที เพี่อที่จะได้อยู่ในกลุ่มนั้นหรือเกิด "การเกาะกลุ่ม” มากขึ้น สำหรับผลจากการวิจัยที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ ปัจจัยที่ทำให้แฟนเพลงตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกแฟนคลับพบว่า ได้แก่การที่ผู้รับสารชื่นชอบตัวศิลปิน การคำนึงถึงราคาค่าสมัคร ความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมและต้องการมีเพื่อนใหม่ความต้องการมีชื่อเสียง และอิทธิพลจากการโฆษณา
Other Abstract: The purpose of this research on Thai popular singers and fan club communication networks was to investigate fan club communication networks, characters of fan clubs and fan club members, and to research factors which influenced music fans to apply for membership. Classifying the types of fan club by using "fan club founders” criteria, the findings revealed that there were 4 types of fan club: 1) founded by a music company, such as RS Star Club; 2) the singer as founder, such as Christina Fan Club and Tata Young Fan Club; 3) formally founded by music fans, such as Nicole Fan Club; and 4) informally organized by music fan. Members of all types of fan club possess characters relevant to certain concepts of a "fan”. They are a group of people aimed at the mass communicators' product, including communicators such as singers. These fans are communicators’ admirers, following singers alone or in a group. This character of the fan is relevant to Jenson's concept stating that “fans are a group of people who adore the thing they are infatuated with and later become worshiper in a group infatuated with the same thing". They are the fan club members in this case. Usually, the members agree to follow or possess the same idea as their peers. The other dominant character of fan club members revealed by this research is that members will be dissatisfied and protest if they find that the club they belong to is organized for profit. The central focus of the fan club communication network organized by companies and singers is the singers themselves. They function as senders of the information to the members. In formal fan clubs organized by music fans, “the centre" is the founder of the fan club. The members approach the centre to gain information which they disseminate to other members in order to maintain network communication. When the network grows larger, members interact with a few people who have similar characters to themselves. However, if they are different characters with in the group, these members will adapt their characters in order to achieve cohesion within the group. The factors influencing music fans to apply for membership are: 1) admiration of the singer; 2) consideration of the membership fee; 3) motivation of joining activities and the desire to make new friends; 5) a desire to gain celebrity; and 6) the influence of advertising.
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68784
ISBN: 9743320385
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jetsada_ra_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ904.81 kBAdobe PDFView/Open
Jetsada_ra_ch1_p.pdfบทที่ 1922.65 kBAdobe PDFView/Open
Jetsada_ra_ch2_p.pdfบทที่ 21.88 MBAdobe PDFView/Open
Jetsada_ra_ch3_p.pdfบทที่ 3718.34 kBAdobe PDFView/Open
Jetsada_ra_ch4_p.pdfบทที่ 42.94 MBAdobe PDFView/Open
Jetsada_ra_ch5_p.pdfบทที่ 51.32 MBAdobe PDFView/Open
Jetsada_ra_ch6_p.pdfบทที่ 6796.76 kBAdobe PDFView/Open
Jetsada_ra_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.