Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66021
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรทิพย์ ภูวบัณฑิตสิน-
dc.contributor.advisorจิตต์ธิดา ชูแสงเลิศวิจิตร-
dc.contributor.authorนลินทร สุขวิริยะเสถียร, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-25T12:56:58Z-
dc.date.available2020-05-25T12:56:58Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.issn9741766548-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66021-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractความสำคัญและที่มาของการวิจัย :การลอกหน้าด้วยกรดแลกติกความเข้มข้นร้อยละ50 เป็นการลอกระดับตื้น (superficial chemical peeling) สามารถนำมาใช้ในการรักษาฝ้า ออกฤทธิ์โดยลดการเกาะตัวของเซลล์และ เพิ่มการหลุดลอกของเซลล์ ซึ่งมีเม็ดสีอยู่ทำให้ฝ้าจางลง วัตถุประสงค์ในการวิจัย : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการลอกด้วยกรดแลกติกความเข้มข้นร้อยละ 50 เปรียบเทียบกับกลุ่ม ควบคุมในการรักษาฝ้า วิธีการทำวิจัย :ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 43 คน ผู้ป่วยจะได้รับการลอกด้วยกรดแลกติกความเข้มข้นร้อยละ 50 บริเวณซีกหน้าเพียงด้านหนึ่ง ซีกหน้าด้านที่ไม่ได้รับการลอกเป็นกลุ่มควบคุม ทำการลอกทุก 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 28 สัปดาห์ (14 ครั้ง) แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างของความเข้มข้นของฝ้าระหว่างซีกหน้าด้านที่ทำการลอกและไม่ทำการลอก ด้วยกรดแลกติกในการลอกครั้งที่ 9 และ 14 โดยใช้เครื่องมือวัดที่ใช้อ้างถึงความเข้มของฝ้า คือ Chroma-meter CR-300 ผลการวิจัย : จากจำนวนผู้ป่วย 43 คน พบว่าผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษา 40 คน จนสิ้นสุดการรักษาพบว่าในการลอก ครั้งที่ 9 ความเข้มของฝ้าบริเวณซีกหน้าด้านที่ลอกด้วยกรดแลกดิกความเข้มข้นร้อยละ 50 ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับซีกหน้า ด้านที่ไม่ได้ทำการลอก (P<0.005) เมื่อประเมินด้วยเครื่องมือวัดค่าที่ใช้อ้างอิงถึงความเข้มของฝ้า และพบว่าในการลอกครั้งที่ 14 ความเข้มของฝ้าบริเวณซีกหน้าด้านที่ทำการลอกด้วยกรดแลกติกความเข้มข้นร้อยละ 50 ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับซีกหน้า ด้านที่ไม่ได้ทำการลอก (P<0.001) เมื่อประเมินด้วยเครื่องมือวัดค่าที่ใช้อ้างอิงถึงความเข้มของฝ้า อาการข้างเคียงคือรอยดำ (postinflammatory hyperpigmentation) พบในผู้ป่วย 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ซึ่งรอยดำที่เกิดขึ้นนี้หายไปภายใน 4 สัปดาห์ ส่วน milia พบในผู้ป่วย 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5 สรุปผลการวิจัย : จากการศึกษาพบว่ากรดแลกติกความเข้มข้นร้อยละ 50 มีประสิทธิภาพในการรักษาฝ้า สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาฝ้า-
dc.description.abstractalternativeBackground : Lactic acid (50%w/v) is a superficial chemical peeling agent. It is used to treat melasma. The mechanism of action is by diminishing corneocyte cohesion and increasing desquamation of pigmented keratinocyte. The melasma will be improved. Objective : Our purpose was to determine the efficacy of lactic acid (50%w/v) in treatment of melasma. Methods : Forty-three patients with melasma from outpatient unit Department of Dermatology in the King Chulalongkorn Hospital were enrolled in this study. Fifty percent lactic acid was used in treatment of melasma on half of the face of each patient once every 2 weeks until 6 months (14 times). Chroma-meter CR300 is used to qualify the degree of clinical improvement at the time of ninth and forteenth to detect measure peels. Results : Forty patients were complete the study. A statistically significant IN treatment groups was observed at time 9 (p-value <0.005) and time 14 (P-value < 0.001). Postinflammatory hyperpigmentation was observed in two patients (5%) but it resolved within four weeks. Milia was found in two patients (5%). Conclusion : We conclude that fifty percent lactic acid is an effective method in the treatment of melasma-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผิวหนัง -- โรคen_US
dc.subjectไฝและฝ้าen_US
dc.subjectกรดแล็กติกen_US
dc.subjectSkin -- Diseasesen_US
dc.subjectMole (Dermatology)en_US
dc.subjectLactic aciden_US
dc.subjectChrysomelaen_US
dc.titleการลอกด้วยกรดแลกติกในการรักษาฝ้าen_US
dc.title.alternativeLactic acid peels in treatment of melasmaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nalintorn_su_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ879.9 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch1_p.pdfบทที่ 1887.39 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch2_p.pdfบทที่ 2791.97 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch3_p.pdfบทที่ 3808.97 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch4_p.pdfบทที่ 4810.27 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch5_p.pdfบทที่ 5821.3 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch6_p.pdfบทที่ 6768.17 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch7_p.pdfบทที่ 7708.85 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch8_p.pdfบทที่ 8768.32 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch9_p.pdfบทที่ 91.25 MBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch10_p.pdfบทที่ 10695.65 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_ch11_p.pdfบทที่ 11626.74 kBAdobe PDFView/Open
Nalintorn_su_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก825.82 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.