Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72915
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิชญาภรณ์ มูลศิลป์-
dc.contributor.authorมธุรส จันทร์แสงศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-03-22T09:07:54Z-
dc.date.available2021-03-22T09:07:54Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746369172-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72915-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการปฏิบัติกิจกรรมของผู้สูงอายุแขวงรองเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคม กับการปฏิบัติกิจกรรมของผู้สูงอายุ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร จำนวน 143 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ด้วยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคมกับการปฏิบัติกิจกรรมผู้สูงอายุ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ (contingency coefficiency) และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติโดยสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) ที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้สูงอายุมีการปฏิบัติกิจกรรมแบบไม่เป็นทางการในระดับปานกลาง แบบเป็นทางการในระดับน้อย และการปฏิบัติกิจกรรมโดยรวมในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติ กิจกรรมแบบไม่เป็นทางการของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และพบว่า อายุ และรายได้มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจกรรมโดยรวมของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วน เพศ สถานภาพสมรส ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจกรรมของผู้สูงอายุ 3. การรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจกรรมของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4. แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจกรรมของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the study were to investigate activities of the elderly in Rongmuang Sub-District, Pathumwan, Bangkok Metropolis, and to dertermine the relationships between activities and the following three factors: personal factors, health perception and social support. The subject were 143 elderly persons who were 60 years old and over, selected by a simple random sampling technique. The instrument used in data collection was a set of question concerning personal factors, health perception, social support and activities, both informal activities and formal activities of the elderly. The data was collected by a interview technique, in Febuary 1997. Chi-square test was used to determine the relationships between personal factors, health perception, social support and activities of the elderly. The major results of this study were as follows: 1. Activities of the elderly and informal activities were in the moderate level, and formal Activities were in low. 2. There were significant relationships between age, education level, incomes and informal activities of the elderly at the .05 level. There were significant relationships between age, incomes and activities of the elderly at the .05 level. The other personal factors sex and marital status did not correlation with activities. 3. There was a significant relationship between health perception and activities of the elderly at the .05 level. 4. There was a significant relationship between social support and activities of the elderly at the .05 level.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัยen_US
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิตen_US
dc.subjectปทุมวัน (กรุงเทพฯ)en_US
dc.subjectOlder people -- Health and hygieneen_US
dc.subjectSocial networksen_US
dc.subjectOlder people -- Conduct of lifeen_US
dc.subjectPathumwan (Bangkok Metropolis)en_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคมกับการปฎิบัติกิจกรรมของผู้สูงอายุแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeRelationships between personal factors, perception of health status, social support and activities of elderly in Rongmuang Sub-district, Pathumwan, Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPichayaporn.M@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mathuros_ju_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ407.41 kBAdobe PDFView/Open
Mathuros_ju_ch1.pdfบทที่ 1440.38 kBAdobe PDFView/Open
Mathuros_ju_ch2.pdfบทที่ 21.52 MBAdobe PDFView/Open
Mathuros_ju_ch3.pdfบทที่ 3337.27 kBAdobe PDFView/Open
Mathuros_ju_ch4.pdfบทที่ 4928.14 kBAdobe PDFView/Open
Mathuros_ju_ch5.pdfบทที่ 5803.38 kBAdobe PDFView/Open
Mathuros_ju_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.