Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67900
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ ชัยวัฒน์-
dc.contributor.authorธนัชฌา ภัยพยบ-
dc.date.accessioned2020-09-15T06:50:10Z-
dc.date.available2020-09-15T06:50:10Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741749023-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67900-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เจตคติต่อพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด และความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด พร้อมทั้งศึกษาอำนาจในการพยากรณ์ของปัจจัยดังกล่าว กับพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้น ม.1- ม.3 ของโรงเรียนในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ ที่มีระดับความเครียดมากกว่าหรือเท่ากับระดับปานกลาง จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเจตคติต่อพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด แบบสอบถามความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 81, 91, 86, 84, และ 76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหา จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เมื่อเกิดความเครียดนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจะกระทำพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด ใน ระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.00 2.เจตคติต่อพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรมมการ จัดการกับความเครียด การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด ความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.261, .238, .288 และ .307 ตามลำดับ) 3.ความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมการจัดการกับความเครียด และเจตคติต่อพฤติกรรมการจัดการ กับความเครียด สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร้อยละ 10.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ พฤติกรรมการจัดการกับความเครียด = .234Z ความตั้งใจ + .134Z เจตคติ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the relationships among attitude, subjective norm, perceived behavioral control, intention and stress management behavior of lower secondary students. Study sample consisted of 400 lower secondary students with moderate stress and above. Subjects were selected by multi-stage random sampling. Instruments included the demographic data questionnaire, attitude towards stress management behavior questionnaire, subjective norm questionnaire, perceived behavioral control questionnaire, intention to stress management behavior questionnaire, and stress management behavior of lower secondary students questionnaire. Content validity for all questionnaires was reviewed by a panel of experts. Cronbach’s alpha coefficients were .81, .91, .86, and .76 respectively. Descriptive statistics pearson product-moment correlation and stepwise multiple regression were used for statistical analysis. The results were as follows: 1.Forty-six percent of lower secondary students performed stress management behavior at the medium level. 2.There were positive correlations between attitude towards stress management behavior, subjective norm, perceived behavioral control, intention to stress management behavior, and stress management behavior of lower secondary students at the level of .05 (r = .261, .238, .288, and .307 respectively) 3.Intention to stress management behavior and attitude towards stress management behavior significantly predicted 10.7 % of the variance of stress management behavior in lower secondary students at the level of .05. The equation derived from the standardized score was: Stress management behavior = .234Z intention + .134Z attitude-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารความเครียดสำหรับวัยรุ่น -- ไทยen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- สุขภาพจิต -- ไทยen_US
dc.subjectStress management for teenagers -- Thailanden_US
dc.subjectJunior high school students -- Mental health -- Thailanden_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร กับพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeRelationships between selected factors and stress management behavior of lower secondary studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWaraporn.Ch@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanatcha_pa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ883.65 kBAdobe PDFView/Open
Tanatcha_pa_ch1_p.pdfบทที่ 11.2 MBAdobe PDFView/Open
Tanatcha_pa_ch2_p.pdfบทที่ 22.59 MBAdobe PDFView/Open
Tanatcha_pa_ch3_p.pdfบทที่ 31.23 MBAdobe PDFView/Open
Tanatcha_pa_ch4_p.pdfบทที่ 4931.48 kBAdobe PDFView/Open
Tanatcha_pa_ch5_p.pdfบทที่ 51.3 MBAdobe PDFView/Open
Tanatcha_pa_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.