Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68104
Title: ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Selected factors affecting self-efficacy of the teachers in secondary schools in Bangkok Metropolis
Authors: จรินทร วินทะไชย์
Advisors: ชุมพร ยงกิตติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chumporn.Y@Chula.ac.th
Subjects: ครูมัธยมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ความสามารถในตนเอง
การรับรู้
High school teachers -- Thailand -- Bangkok
Self-efficacy
Perception
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของครู โดยศึกษากับปัจจัยประสบการณ์ความสำเร็จในการสอน การอนุมานสาเหตุของการสอน ประสบการณ์จากตัวแบบ ความวิตกกังวล ทัศนคติต่อวิชาที่สอน ระยะเวลาของประสบการณ์ในการสอน และการสอนตรงตามสาขาที่สำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 410 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัจจัยที่ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อการรับรู้ความสามารถของครู คือ ประสบการณ์ความสำเร็จ ในการสอน (.2322) ทัศนคติต่อวิชาที่สอน (.2076) และประสบการณ์จากตัวแบบ (.1948) 2. ปัจจัยที่ส่งผลทางตรงเชิงลบต่อการรับรู้ความสามารถของครู คือ ความวิตกกังวล (-.1213) และการอนุมานสาเหตุของความล้มเหลวในการสอนจากความยากจนของงาน (-.1157) 3.ปัจจัยที่ส่งผลทางอ้อมต่อการรับรู้ความสามารถของครู คือ ทัศนคติต่อวิชาที่สอน (.1370) ประสบการณ์จากตัวแบน (.0751) ระยะเวลาของประสบการณ์ในการสอน (.0197) การอนุมานสาเหตุของความสำเร็จในการสอนจากความสามารถ (.0404) และการอนุมานสาเหตุของความสำเร็จในการสอนจากความพยายาม(.0405) 4.รูปแบบความสัมพันธ์ที่ได้จากการวิจัยนี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของการรับรู้ ความสามารถของครูได้ประมาณร้อยละ 38 (R =.62)
Other Abstract: The purpose of this research was to analyze selected factors affecting teachers’ efficacy. The selected factors comprised of successful teaching experience, causal attribution of teaching, modeling observation, anxiety, attitude toward taught subject, years of teaching experience, and teaching on the subjects of their major studied. The subjects were 410 teachers in the secondary schools in Bangkok Metropolis. The data were analyzed by using path analysis. The findings of the research were as follows: 1.The variables that had positive direct affect on teachers’ efficacy were successful teaching experience (.2322), attitude toward taught subject (.2076), and modeling observation (.1948). 2.The variables that had negative direct affect on teachers’ efficacy were anxiety (-.1213), and causal attribution for failure for teaching attributed to task difficult (-.1157). 3. The variables that had indirect affect on teachers’ efficacy were attitude toward taught subject (.1370), modeling observation (.0751), years of teaching experience (.0197), causal attribution for success of teaching attributed to ability (.0404), and causal attribution success teaching attributed to effort (.0405). 4. The varience of the analyzed model accounted for teachers’ efficacy was 38% (R =.62).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68104
ISBN: 9743310398
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jarintorn_wi_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ984.4 kBAdobe PDFView/Open
Jarintorn_wi_ch1_p.pdfบทที่ 14.45 MBAdobe PDFView/Open
Jarintorn_wi_ch2_p.pdfบทที่ 21.39 MBAdobe PDFView/Open
Jarintorn_wi_ch3_p.pdfบทที่ 31.87 MBAdobe PDFView/Open
Jarintorn_wi_ch4_p.pdfบทที่ 41.12 MBAdobe PDFView/Open
Jarintorn_wi_ch5_p.pdfบทที่ 5886.07 kBAdobe PDFView/Open
Jarintorn_wi_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.