Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70725
Title: | ภาพลักษณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นชายไทย : ศึกษากรณีนิสิตชายระดับปริญญาตรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Body image of Thai male adolescents : a case study of male undergraduate Chulalongkorn University students |
Authors: | ธีรพล วุฒิทวีพัฒน์ |
Advisors: | จุลนี เทียนไทย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chulanee.T@Chula.ac.th |
Subjects: | วัยรุ่นชาย -- ไทย ภาพลักษณ์ร่างกาย -- ไทย Teenage boys -- Thailand Body image -- Thailand |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาภาพลักษณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นชายไทย โดยมีสมมติฐานการศึกษา 11 ข้อ ได้แก่ (1) ครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสรางภาพลักษณ์ทางร่างกายในอุดมคติ (2) กลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสรางภาพลักษณ์ ทางร่างกายในอุดมคติ (3) สื่อมวลชน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางร่างกายในอุดมคติ (4) ครอบครัวเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (5) กลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (6) สื่อมวลชน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (7) ครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความพึ่งพอใจ ภาพลักษณ์ทางร่างกาย (8) กลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (9) สื่อมวลชน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความพึ่งพอใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (10) ความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย ส่งผลให้เกิดการจัดการกับร่างกาย และ (11) ในกลุ่มชายแท้ (Heterosexual) ชายรักร่วมเพศ (Homosexual) มีวิธีการจัดการกับร่างกายที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้ใดใช้การผสมผสาน ระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณใดจากแบบสอบถามที่ให้นิสิตชายระดับปริญญาดรของจุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน การบรรยายลักษณะทางประชากรใดัใช้สถิติ อันได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐานนั้นได้ใช้ค่าสถิติ Chi-square ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) ครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางร่างกายในอุดมคติ (2) กลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางร่างกายในอุดมคติ (3) สื่อมวลชน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางร่างกายในอุดมคติ (4) ครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (5) กลุ่มเพื่อน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (6) สื่อมวลชน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้ความสนใจภาพลักษณ์ทางร่างกาย (7) ครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย (8) กลุ่มเพื่อน ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย (9) สื่อมวลชน ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันลึกซึ้งในประเด็นดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้ 2520 ได้ใช้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยอาศัยเทคนิคการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คนที่ได้เข้าร่วมในการตอบแบบสอบถาม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มชายแก่ (Heterosexual) และกลุ่มชายรักร่วมเพศ (Homosexual) จากการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า (10) นิสิตชายเมื่อเกิดความไม่พึงพอใจในภาพลักษณ์ทางร่างกายจะเกิดการจัดการกับร่างกาย (11) ในกลุ่มชายแท้ (Heterosexual) ชายรักร่วมเพศ (Homosexual) จะมีเกิดการจัดการกับร่างกายที่แตกต่างกันไป |
Other Abstract: | The purpose of this study is to examine body image of Thai adolescents. The study explored two hypothesis : (1) the relationship between family and ideal body image (2) the relationship between peer and ideal body image (3) the relationship between mass media and ideal body image (4) the relationship between family and self interest in one’s own body image (5) the relationship between peer and self interest in one's own body image (6) the relationship between mass media and self interest in one's own body image (7) the relationship between family and body image satisfaction (8) the relationship between peer and body image satisfaction (9) the relationship between mass media and body image satisfaction (10) the relationship between body image dissatisfaction and body management (11) between group of heterosexual and homosexual have the different in body management. Quantitative data was made possible through survey questionnaire. The quantitative samples consisted of 200 male undergraduate chulalongkorn university students. For data analysis, descriptive statistic, percentage, frequency, arithmetic mean, and standard deviation were used to describe demographic characteristics. Chi-square correlation coefficient was used to test relationship of the variables. The findings term hypothesis testing revealed that: (1) Family have a significant relationship to the ideal body image. (2) Peer have a significant relationship to the ideal body image. (3) Mass media have a significant relationship to the ideal body image. (4) Family have a significant relationship to the self interest in one’s own body image. (5) Peer have a significant relationship to the self interest in one’s own body image. (6) Mass media have a significant relationship to the self interest in one’s own body image. (7) There was no significant relation between family and body image satisfaction. (8) There was no significant relation between peer and body image satisfaction. (9) There was no significant relation between family and body image satisfaction. To complete the picture of what the quantitative data showed, the research selected twelve male Chulalongkorn undergraduate students who filled in the survey question are for further in-depth interviews, the descriptive data revealed that: (10) Body image dissatisfaction has a significant relationship to the body management. (11) Group of heterosexual and homosexual have the different in body management. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70725 |
ISBN: | 9741437455 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Teerapol_vu_front_p.pdf | 968.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapol_vu_ch1_p.pdf | 971.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapol_vu_ch2_p.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapol_vu_ch3_p.pdf | 900.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapol_vu_ch4_p.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapol_vu_ch5_p.pdf | 2.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapol_vu_ch6_p.pdf | 834.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapol_vu_back_p.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.