Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71128
Title: การเปิดรับสาร การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจรายการ "ถอดรหัส" ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Media exposure, uses and gratifications from "TODRAHAD" of people in Bangkok
Authors: ศรีศรินทร์ อาภากุล
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การเปิดรับข่าวสาร
ความพอใจ
ถอดรหัส (รายการโทรทัศน์)
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเปิดรับรายการ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจรายการ “ถอดรหัส” ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับรายการกับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ และเปรียบเทียบการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจต่อรายการ “ ถอดรหัส “ ของประชาชนที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างวัน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 402 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว โดยวิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้วิธีการทางสถิติ T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ของ Scheffe' การคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยใช้สำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปิดรับรายการ “ ถอดรหัส “ มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อรายการ 2. ความพึงพอใจมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากรายการ 3. ลักษณะประชากรทางด้านระดับการศึกษา และรายได้ มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับรายการ 4. ลักษณะประชากรทางด้านระดับการศึกษา และรายได้ มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อรายการ
Other Abstract: The purpose of this research were to study about the subject of exposure, uses and gratifications of “Todrahad” T.V. feature program of people in Bangkok also to compare the relationship between exposure and uses and gratifications and compare different in media exposure, uses and gratifications of difference people. The samples were 402 people in Bangkok. Questionnaires were used for data collection. Percentage, Mean 1 standard Deviation, T-Test, One-Way ANOVA Analysis of Varience, Multiple Comparison of Scheffe’ Method, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient were used for the analysis of the data. SPSS Program was employ for data processing. The results of the study are as follows : 1. media exposure positively correlated with uses and gratifications. 2. Uses of Information positively correlated with the satisfaction with information. 3. People different in education and income were different เท information exposure. 4. People different in education and income were different in uses and gratifications.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71128
ISBN: 9741310838
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisarin_ap_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ843.91 kBAdobe PDFView/Open
Srisarin_ap_ch1_p.pdfบทที่ 1897.56 kBAdobe PDFView/Open
Srisarin_ap_ch2_p.pdfบทที่ 21.54 MBAdobe PDFView/Open
Srisarin_ap_ch3_p.pdfบทที่ 3816.73 kBAdobe PDFView/Open
Srisarin_ap_ch4_p.pdfบทที่ 41.25 MBAdobe PDFView/Open
Srisarin_ap_ch5_p.pdfบทที่ 51.19 MBAdobe PDFView/Open
Srisarin_ap_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.